ภาชนะย่อยสลาย ธุรกิจรักษ์สิ่งแวดล้อม
ภาชนะบรรจุอาหารรูปลักษณ์ละม้ายคล้ายกล่องโฟม แต่ผลิตจากเยื่อกระดาษชานอ้อยสามารถย่อยสลายได้ใน 31 วัน กำลังเป็นธุรกิจตอบโจทย์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กรกฎาคม 2553)
กล่อง...ฉากหน้าเพื่อภาพลักษณ์
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค มิได้ส่งผลให้ตลาดเครื่องดื่มนานาชนิดเติบโตอย่างต่อเนื่องเท่านั้น หากในทางกลับกันสำหรับผู้ประกอบการด้านบรรจุภัณฑ์ นี่คือโอกาสทางธุรกิจที่เติบโตควบคู่ไปด้วย
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กรกฎาคม 2552)
จากกระดาษกลายเป็นถ้วย
"คุณซื้อโค้กแก้วหนึ่ง คุณถือแก้วนั้นไม่เกิน 5 นาที ขณะที่ผมเป็นคนผลิตต้องควบคุมว่าถ้วยต้องไม่รั่ว ไม่ซึม ต้องควบคุมคุณภาพของแก้วหรือถ้วยกระดาษต้องไม่สัมผัสมือของคนทำงาน ต้องสะอาด และควบคุมหมึกว่าต้องเป็น food grade นี่คือหัวใจของการผลิตถ้วยกระดาษ"
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2551)
ศึกแพ็กเกจจิ้ง “ชาเขียว”
การแข่งขันระหว่างคู่แข่งคู่แข่งอย่างโออิชิและอิชิตัน เป็นเพียงการออกชารสชาติเดิม เปลี่ยนแพ็กเกจเพื่อกระตุ้นตลาด แต่ทั้งคู่ก็หวังว่าจะได้ลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ก่อนจะจัดเต็มหลังจากโรงงานเริ่มเดินเครื่องช่วงเมษายน
(Positioning Magazine 20 กุมภาพันธ์ 2555)
ขวดคอสั้น เทรนด์ฮิต ประหยัดต้นทุน
นับตั้งแต่ บิ๊ก โคล่า ร่วมกับบริษัท ศรีไทย ผู้ผลิตขวดและพลาสติครายใหญ่ของประเทศไทย คิดค้นนวัตกรรมขวดคอสั้น (Short Neck) ขึ้นมา เพื่อทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง ด้วยต้นทุนเมล็ดพลาสติกที่นำมา Mole เป็นขวด PET ที่ใช้กันอยุ่ทั่วไปนั้น ต้นทุนที่ฝาขวดสูงกว่าต้นทุนที่ใช้ผลิตตัวขวดถึง 2 เท่า
(Positioning Magazine 13 กันยายน 2554)
ถุงช้อปปิ้ง Lee มากกว่าความเป็นถุงจริง ๆ
Never Wasted ถุงช้อปปิ้งของ ”Lee” แบรนด์ยีนส์ และเสื้อผ้าดัง ที่ถุงใบนี้ไม่ใช่แค่ถุงกระดาษเอามาใช้ใหม่ได้ตามคอนเซ็ปต์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังเป็นถุงที่ใช้ได้หลายความต้องการ ทั้งเพื่อความสนุกและเพื่อประโยชน์ใช้สอย
(Positioning Magazine 14 มีนาคม 2554)
CSR เชิงรุก รีไซเคิลกล่องเครื่องดื่ม
ไมเคิล อี พอร์เตอร์ ปรมาจารย์ด้านกลยุทธ์การแข่งขัน เคยกล่าวถึงแนวทางซีเอสอาร์เชิงกลยุทธ์ (Strategie CSR) ซึ่งก็คือการปรับแผนยุทธศาสตร์ธุรกิจมาใช้ในมิติที่มีหลักการของความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาความสามารถ หรือความ “เก่ง” ในกระบวนการทำธุรกิจ และด้วยจิตสำนึกที่ “ดี” ดังกล่าวก็เป็นการสร้างความแตกต่างอย่างโดดเด่น
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 2 สิงหาคม 2553)
เนสท์เล่พัฒนาวิธีออกแบบ Kansei กับงานแพกเกจจิ้ง
ท่ามกลางสถานการณ์ทางการตลาดที่ไม่สู้ดี บริษัทยักษ์ใหญ่วงการอาหารและเครื่องดื่มรายเนสท์เล่ ได้ตัดสินใจสร้างเครือข่ายการออกแบบระดับโลกภายใน ที่เกิดมาจากการนำเอาปรัชญาการออกแบบของญี่ปุ่น ที่เรียกว่า คันไซ (Kansei) ซึ่งเป็นปรัชญาการออกแบบที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงจากอุตสาหกรรมยานยนต์มาใช้ในการตรวจจับหาอารมณ์และความรู้สึกของลูกค้า
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 20 เมษายน 2552)
แนวโน้มธุรกิจแพกเกจโลกต้องตามเทรนด์และใช้กรีนคอนเซปต์
ความสำเร็จของการตลาดสินค้าหลายต่อหลายอย่างในตลาดโลกจะมาจากการเลือกสรรแพกเกจที่หุ้มห่อสินค้าที่เหมาะสมด้วย อาชีพที่ปรึกษาด้านแพกเกจจึงเป็นหนึ่งในอาชีพที่เข้ามาช่วยเสริมความแข็งแกร่งของผู้ประกอบการมากขึ้น
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 12 พฤษภาคม 2551)
อำพลฟูดส์-มูลนิธิรามาธิบดีฯ ลงนามร่วมมือโครงการวี-ฟิท อิ่มใจให้ชีวิต
พร้อมเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาเชิญชวนให้คนไทยได้ร่วมโครงการฯ และอุดหนุนผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าวกล้อง วี-ฟิท โดยบริษัทอำพลฟูดส์ฯ จะแบ่งกำไรจากการจำหน่ายน้ำนมข้าวกล้อง วี-ฟิท ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม- 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553 กล่องละ 50 สตางค์ สมทบทุนในการซื้ออุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ ในโครงการอาคารสมเด็จพระเทพรัตน์
(มายแบรนด์เอเจนซี่, บจก. 4 สิงหาคม 2553)