ใครจะโค่นพลเอกเปรมได้?
เปรม 5-คือรัฐบาลชุดนี้ที่เป็นการผสมผสานดุลกำลังระหว่างพลเอกเปรมกับพรรคการเมืองสี่พรรคด้วยระยะเวลาเพียงสั้น
ๆ นั้น ริ้วรอยแห่งความแตกแยกหลายระดับโดยเฉพาะในส่วนของพรรคร่วมรัฐบาลได้ก่อให้เกิดความเชื่อที่ยิ่งทวีขึ้นว่า
เปรม 5 อาจจะต้องถึงคราวล่มสลายภายในระยะเวลาที่เร็วกว่าที่คิด ๆ กันเสียอีก
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2529)
จำลอง ศรีเมือง...นายกรัฐมนตรีคนต่อไป?
"พลตรีจำลอง ศรีเมือง ไม่ใช่คนโง่ แกเล่นการเมืองเป็น ที่แกบอกว่าเป็นหน้าที่แกนั่นแหละเป็นการเมืองที่แกต้องเล่น" เผด็จ ภูรีปฏิภาณ คอลัมนิสต์คนดังที่ใช้นามปากกา "พญาไม้" ในหนังสือพิมพ์ข่าวสด พูดกับ "ผู้จัดการ"
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2528)
เมื่อนายแบงก์อยากเป็นผู้ว่าฯ กทม.
ในแวดวงนายแบงก์ไทย นอกจากบุญชู โรจนเสถียร ก็เห็นจะมี ชนะ รุ่งแสง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่
ของธนาคารกสิกรไทยนี่แหละที่ให้ความสนใจด้านการเมืองมาตลอด และจะว่าไปเข้ามาขลุกกับการเมืองถึงขั้นลาออกจากแบงก์ก่อนบุญชู
โรจนเสถียร เสียด้วยซ้ำ
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2528)
คนรุ่นใหม่เพื่อกลยุทธ์ Like
พรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทยต่างมีทีมงานเพื่อปฏิบัติการบนโซเชี่ยลมีเดียโดยเฉพาะ ซึ่งจะดำเนินการตามกรอบยุทธศาสตร์แคมเปญหาเสียงในระดับภาพรวม อย่างที่เห็นคือการคุมโทนตัวตนบุคคลิกของพรรค ผู้สมัครแต่ละคนพูดคุยในเรื่องราวเนื้อหานโยบายพรรค เพราะนอกจากป้องกันการผิดกฎหมายเลือกตั้งแล้ว เพื่อให้สื่อสารแบรนด์ของพรรคและผู้สมัครได้อย่างไม่วอกแวก
(Positioning Magazine 10 มิถุนายน 2554)
สงครามชิง First Voter ปชป.-เพื่อไทย เปิดศึกหา Like
สนามการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปี 2554 มีปรากฎการณ์ของ “โซเชี่ยลมีเดีย” อย่างเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ ที่พรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรคกำลังแข่งกันอย่างหนัก แย่งเซ็กเมนต์เดียวกัน จนทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้มีสีสันชวนติดตามว่ากระบวนการสร้าง Like ดึง Follower ในปลายทางจะได้ Vote หรือไม่ นาทีนี้ “พรรคการเมืองหรือนักการเมือง” ก็ไม่ต่างอะไรจากสินค้าที่หวังว่ากลุ่มเป้าหมาย จะซื้อ ใช้แล้วชอบ พร้อมบอกต่อ และยอดขายที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องคือฐานคะแนนเสียงที่แข็งแรงเพื่อนำไปสู่การเป็นพรรครัฐบาลหรือผู้นำประเทศในอนาคต
(Positioning Magazine 10 มิถุนายน 2554)
Turnaround ประชาวิวัฒน์
หลังจากที่ประกาศนโยบายประชาวิวัฒน์ 9 ข้อออกไปแล้ว รัฐบาลคาดหวังว่า เสียงตอบรับของกลุ่มเป้าหมายและประชาชน น่าจะออกมาดี หรืออยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นไม่เป็นไปตามคาด เสียงสะท้อนแรกที่กลับมาชัดเจนที่สุดคือ การเดินตามรอยประชานิยม แจกของฟรี ไม่มีอะไรใหม่
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2554)
เปิดสมุดปกดำ กฟผ. ขายชาติ-ปันหุ้น-ฮุบสายส่ง
ประชาธิปัตย์ออกสมุดปกดำ แฉเงื่อนงำการแปรรูป กฟผ. ให้ประชาชนทราบ ปล้นไฟฟ้ากลางแดดขายสมบัติชาติ หวังปั่นตลาดหุ้นเพิ่มมูลค่าทรัพย์สินของพวกพ้อง แถมกิจการโทรคมนาคมได้ประโยชน์ด้วย
(ผู้จัดการรายวัน 27 กุมภาพันธ์ 2549)