ผู้เล่นใหม่ในตลาดเบียร์พรีเมียม
กลางเดือนพฤศจิกายน 2546 โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ ถูกใช้เป็นสถานที่ประกาศการเข้าสู่ตลาดเบียร์พรีเมียมอย่างเต็มตัวของแบรนด์ "อาซาฮี" ในประเทศไทย โดยความร่วมมือ ระหว่าง บริษัทอาซาฮี บริวเวอรี จำกัด
กับบริษัทขอนแก่น บริวเวอรี่ จำกัด
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2547)
ถึงเวลา “อาซาฮี” ต้อง re-brand
จากผลวิจัยของบริษัท พบว่า ลูกค้ายังมีความสับสนอยู่มากว่า อาซาฮี คือ ยี่ห้อกระจก หาใช่เบียร์ดังจากญี่ปุ่นไม่ บวกกับอาซาฮีมีภาพลักษณ์เป็นญี่ปุ่น 100% ขาดความเป็น international brand ทำให้อาซาฮีต้องตัดสินใจ “รีแบรนด์” ครั้งใหญ่
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2548)
"อาซาฮี"ชูคอนเซ็ปต์คิดต่างบี้ไฮเนเก้น ใช้มิวสิกมาร์เกตติ้งเบิกทาง3ปีขึ้นที่สอง
"อาซาฮี" ทุ่ม 150 ล้านบาท เปิดศึก 4 อีเวนต์คอนเซ็ปต์ "คิดในแบบที่แตกต่าง" ปีหน้า นำร่องผุดกลยุทธ์มิวสิกมาร์เกตติ้งนำทาง ดึง "โดม-ปกรณ์ลัม" จัดงานเทศกาลดนตรีฉีกกฎ ปิดถนนข้าวสาร 2 วัน กระตุ้นยอดขายโค้งท้าย พร้อมเร่งเครื่องขยายหัวเมืองใหญ่ต่างจังหวัด ปีหน้าแชร์พุ่ง 10% ส่วนอีก 3 ปี ผงาดขึ้นเบอร์สองครองแชร์ 30%
(ผู้จัดการรายวัน 14 ตุลาคม 2548)
ศึกลานเบียร์ระอุอัพค่าที่30%
ศึกชิงพื้นที่ลานเบียร์ปะทุหนัก “สิงห์-ช้าง-อาซาฮี-ไฮเนเก้น” เฮโลควักเงินประมูล 15-16 ล้านบาท สู้ชิงพื้นที่ หน้าเซ็นทรัล เวิลด์ – สำนักงานทรัพย์สินตั้งราคากลางประมูลโหดเพิ่ม 30% “ช้าง”บ่นอุบงานนี้หากสภาพอากาศไม่เป็นใจ รายได้มีสิทธิ์เจ๊าหรือไม่ก็ขาดทุน คอน้ำเมาเตรียมโอด เหตุราคาอาหารเพิ่มขึ้น แน่ 10% ด้าน“สิงห์ควงอาซาฮี” อัดกิจกรรมรถล่มค่ายคู่แข่ง ฟันธงกิจกรรมเรียกลูกค้ามิวสิกมาร์เก็ตติ้ง-พริตตี้แข่งดุ
(ผู้จัดการรายวัน 5 กันยายน 2548)
เบียร์ "อาซาฮี" รีโพซิชันนิงติดเบรกรสชาติใหม่รับมือคิริน
"อาซาฮี" รีโพซิชันนิงครั้งใหม่ครึ่งปีหลัง ปรับการสื่อสารเจาะกลุ่มคอเบียร์วัยทำงานมากกว่าวัยทีน ผุดกลยุทธ์คัลเลอร์แบรนด์ ชูกระป๋อง "สีเงิน" หัวหอกสร้างตราสินค้า-ความแตกต่างจากผู้นำตลาด ประเดิมสร้างเทรนด์ส่งกระป๋องผ่านช่องทางผับ บาร์ เบียดพื้นที่ขวดเล็ก ส่วนรสชาติใหม่รับมือ "คิริน" ติดเบรก สิ้นปียอดขาย 300 ล้านบาท ขอ 2 ปีมีแชร์ 10%
(ผู้จัดการรายวัน 3 พฤษภาคม 2548)