1 ศตวรรษในไทย
ถ้าถามถึงความคุ้นเคย ผู้บริโภคชาวไทยย่อมคุ้นกับชื่อของดีทแฮล์มมากกว่าชื่อดีเคเอสเอช เพราะชื่อดีทแฮล์มนั้นเป็นที่รู้จักกันในประเทศไทยเกือบจะครบ 1 ศตวรรษเข้าไปแล้ว
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2548)
ดีทแฮล์ม ผนวก เคลเลอร์ อำนาจต่อรองใหม่ของยุโรป
หลังจากแยกตลาดรับผิดชอบกันมากว่า 100 ปี ในที่สุดบริษัทการค้าเก่าแก่จากสวิตเซอร์แลนด์ทั้ง 2 แห่ง คือดีทแฮล์ม อาเก กับเอ็ดเวิร์ด เคลเลอร์ อา เก ก็ตัดสินใจรวมกิจการเข้าด้วยกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2543)
อภิสิทธิ์ ฉัตรทนานนท์ ได้ใช้ทั้งเงิน ได้ทำทั้งกุศลให้ดีทแฮล์ม
ความเข้มข้นของการแข่งขันระหว่างบริษัทผู้จัดจำหน่ายสินค้าในประเทศไทย
นอกจากจะทำให้แต่ละบริษัทต้องเร่งสร้างความแข็งแกร่งในเรื่องประสิทธิภาพการบริการให้แก่เจ้าของสินค้า
และร้านค้าจนทำให้ในช่วงที่ผ่านมา บางบริษัทต้องเร่งปรับโครงสร้างภายในให้มีความกระชับขึ้น
รวมถึงที่การลงทุนขยายคลังสินค้าให้ครอบคลุมทั่วประเทศอีกด้วย
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2539)
แบรนด์เก่า แต่ต้องไม่แก่
ยิ่งแบรนด์มีอายุมากไม่น้อยกว่า 100ปี แต่ลูกค้ากลับต้องยิ่งต้องเด็กลง อย่างลีวายส์ ที่มีอายุ 136 ปี และยีนส์ ลี อายุ 120 ปี ก็ยิ่งต้องทำให้แบรนด์ดูละอ่อน เพื่อให้ได้ใจวัยรุ่น ที่เป็นลูกค้าเป้าหมายหลักมากยิ่งขึ้น ซึ่งวัยรุ่นเหล่านี้จะมีพฤติกรรมการซื้อยีนส์ตามความชอบแบบซื้อง่ายจ่ายคล่อง ต่างกับคนวัยทำงานที่มักจะตัดสินใจด้วยเหตุผลมากกว่าอารมณ์
(Positioning Magazine มิถุนายน 2552)
ยีนส์ ไม่มีวันตาย
เหล่าดาราชายหญิงหลายสิบชีวิตเดินเฉิดฉายอยู่บนเวทีแคตวอล์กบริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน เพื่ออวดโฉมยีนส์ลีวายส์รุ่นล่าสุด ท่ามกลางเสียงเพลงระทึกใจ และเหล่าเซเลบริตี้ รวมทั้งสื่อมวลชนที่มาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง เป็นกิจกรรมการตลาดครั้งยิ่งใหญ่ แบบ “ฉีกกฎ ปลดกระดุม” ของลีวายส์ 501 ในรอบหลายปี เป็น เสมือนการลั่นกองรบของ “ลีวายส์” แบรนด์ยีนส์เก่าแก่อายุ 150 ปี เพื่อรับมือกับคู่แข่งที่ถาโถมเข้าสู่ตลาดแฟนชั่นยีนส์มูลค่านับหมื่นล้านบาท ชนิดตาต้องไม่กะพริบ
(Positioning Magazine ธันวาคม 2551)
ยาสีฟันของ Baby Boomer
“เด็กที่ได้รับแจกฟลูโอคารีลหลอดอะลูมิเนียมรสราสเบอร์รี่เมื่อ 40 ก่อน ในวันนี้พวกเขาเป็น 40+ แล้ว และเป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ของเรา” พนิดา วัฒนาปฐิมากุล ผู้จัดการแผนกผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค บริษัท ดีทแฮล์ม จำกัด ย้อนอดีตถึงกลุ่มเป้าหมายทรงพลัง ด้วยมั่นคงทั้งในแง่ของทรัพย์สินและการงาน พวกเขาคือ Baby Boomer
(Positioning Magazine ตุลาคม 2551)
ลีวายส์ปั้นแบรนด์ใหม่ป้อนเอเชีย
ชื่อของซับแบรนด์ หรือแบรนด์ย่อยน้องใหม่ของค่ายลีวายส์ ชื่อ เดนิเซน dENiZEN มีสำนักงานบริหารจัดการแบรนด์นี้ในฮ่องกง และจะนำผลิตภัณฑ์ของแบรนด์น้องใหม่นี้วางจำหน่ายใน 3 ตลาดพร้อมกัน คือ ตลาดในจีน เกาหลีใต้ และสิงคโปร์
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 30 สิงหาคม 2553)
ดีทแฮล์มปลื้มเลโก้โตสวนศก. เทรนด์ของเล่นเพื่อศึกษาเฟื่อง
ดีทแฮล์ม มั่นใจ เลโก้เติบโตต่อเนื่อง เหตุแนวโน้มตลาดของเด็กเล่นเพื่อการศึกษามีอนาคตไกล เติบโตดี คาดสัดส่วนตลาดปีนี้จะอยู่ที่ 45% เพิ่มขึ้น 15% จากปีที่แล้ว เดินหน้าจัดกิจกรรมแข่งต่อเลโก้ชิงแชมป์ประเทศไทย
(ASTVผู้จัดการรายวัน 28 กันยายน 2552)
ดีทแฮล์มทุ่ม300ล.ผุดดีซี ยกไทยฮับเซาท์อีสท์เอเซีย
กลุ่มดีเคเอสเอช มั่นใจศักยภาพประเทศไทย เดินหน้าการลงทุนต่อเนื่อง เตรียมเทอีก 300 ล้านบาท ผุดศูนย์กระจายสินค้าภาคเหลือและภาคใต้ ครึ่งปีแรกยังพอใจในรายได้ ทั้งปีมั่นใจเติบโตขึ้นอย่างน้อย 8%
(ASTVผู้จัดการรายวัน 22 มิถุนายน 2552)
ลีวายส์ขยายแบรนด์เดนิเซน เจาะตลาดสหรัฐฯ-เม็กซิโก
การขยายการเติบโตของแบรนด์ยีนส์ดังอย่างลีวาย สเตราส์ ในระยะหลังๆ คือการปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการตลาดที่ไม่เอื้ออำนวย และกำลังการซื้อของลูกค้าที่ลดลง ตลอดจนการมุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้ในระดับที่ลดลงจากกลุ่มไฮเอนด์
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 17 พฤษภาคม 2554)
“ฟลูโอคารีล” Segment By Age สร้างเกมใหม่ในศึกออรัล แคร์
ฟลูโอคารีล เปิดเกม “Segment By Age” จับโพซิชันนิ่ง “ยาสีฟันเพื่อคนอายุ 40 ปีขึ้นไป” ล่าสุด ลอนช์ “ฟลูโอคารีล 40 พลัส” สร้างเซกเมนต์ด้วย “อายุ” เป็นรายแรก หวังคว้าเป็นจุดยืนแบรนด์ การซุ่มพัฒนาสตาร์โปรดักส์ตัวนี้นานกว่า 3 ปี พร้อมผลการสำรวจที่พบว่า คนวัย 40 ปีขึ้นไปจะมีโอกาสกลับมาฟันผุเพิ่มขึ้น 34% ทำให้แบรนด์นี้มั่นใจว่าจะสามารถขยับส่วนแบ่งจาก 4% เป็น 8% ได้ภายในปีนี้ แต่เป้าหมายสำคัญในการขยับของฟลูโอคารีลครั้งนี้ นั้นอยู่ที่ การหาพื้นที่ชัดเจนให้แบรนด์อีกครั้ง หลังจากคู่แข่งโดดเล่นสูตร “ฟลูออไรด์” เต็มตลาด กลบภาพความเชี่ยวชาญด้านฟลูออไรด์กลายเป็นยาสีฟันทั่วไปที่ป้องกันฟันผุ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 22 กันยายน 2551)