พิษหุ้นฉุดเงินกบข.วูบ1.6หมื่นล.
กบข. เล็งทุ่มเงิน 6,000 ล้านบาท เพิ่มน้ำหนักหุ้นไทยเป็น 9.5% จากเดิม 7.5% แต่ขอดูผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนไตรมาส 4 ปี 51 ก่อน ระบุตลาดหุ้นปีวัวยังผันผวนต่อ เหตุต้องรอเงินลงทุนต่างชาติ ที่ต้องเยียวยาประเทศของตัวเองก่อน ล่าสุด แจงผลงานทั้งปี 51 ผลตอบแทนติดลบ 5.12% แต่ยังมั่นใจ ปีนี้ฟื้นกลับมาแน่
(ผู้จัดการรายวัน 21 มกราคม 2552)
กบข.รับสภาพทั้งปียิลด์ลบ7% กระอักพิษหุ้นทั่วโลกดิ่งเหว
กบข. รับสภาพผลตอบแทนทั้งปีเป็นลบ หลังหุ้นทั้วโลกรวมถึงไทยผันผวนหนัก ฉุดเงินลงทุนสูญ ประเมินผลตอบแทนทั้งปีนี้ ได้เห็นติดลบ 6-7% เดินหน้าปรับกลยุทธ์การลงทุนปีหน้า เน้นกระจายความเสี่ยง ลงทุนพันธบัตรระยะสั้นและ Private Equity พร้อมรอลุ้นราคาหุ้นดีดตัวก่อนภาวะเศรษฐกิจโลกจะฟื้น ช่วยพลิกผลตอบแทนเป็นบวก
(ผู้จัดการรายวัน 18 ธันวาคม 2551)
กบข.รับผลตอบแทนทั้งปีมีสิทธ์ลบ7%
กบข.รับ ผลตอบแทนทั้งปีนี้ มีสิทธิ์ติดลบ 6-7% หากบรรยากาศหุ้นทั่วโลก ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปจากนี้ ย้ำกลยุทธ์ลงทุนเมืองนอกไม่ผิดผลาด ซ้ำยังให้ผลตอบแทนสูงกว่าในประเทศ ส่วนปีหน้า มั่นใจผลตอบแทนดีดกลับเป็น 5-7% หลังประเมินตลาดหุ้นขานรับเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว เล็งอีก 6 เดือนข้างหน้าใส่เงินลุยหุ้น พร้อมเพิ่มน้ำหนักลงทุนอสังหาริมทรัพย์กินค่าเช่า
(ผู้จัดการรายวัน 25 พฤศจิกายน 2551)
ถอดรหัสหนึ่งทศวรรษ "กบข." องค์กร "Small but Beautiful"
10 ปี ของการตรากตรำทำงานหนัก คือดัชนีชีวัดการคลับเคลื่อน "กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ" (กบข.) ให้เติบใหญ่สู่องค์กรที่มีความเป็นสากล มีขุมทรัพย์จำนวนมหาศาลที่ต้องดูแลกว่า 3.2 แสนล้านบาท ด้วยบุคลากรเพียง 240 คนในองค์กร
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 26 มีนาคม 2550)
สำรวจพอร์ต "กบข." ยุคเศรษฐกิจพอเพียงแสวงหาแหล่งลงทุนใหม่สร้างผลตอบแทน
ถ้าเทียบการตัดพอร์ตลงทุนในปี 2550 กับปีที่ผ่านมาคงไม่แตกต่างกันนัก ด้วยสถานการณ์แวดล้อมที่ยังอยู่ในภาวะเสี่ยงจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ และการเมือง ยังผลให้ "กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ" (กบข.) จัดสรรเงินลงทุนต่างประเทศเพื่อกระจายความเสี่ยงมากขึ้น พร้อมเสาะแสวงแหล่งลงทุนใหม่ ๆ ที่จะทำให้สมาชิกรับผลตอบแทนตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 5 มีนาคม 2550)
3บิ๊กประกันชีวิตเปิดศึกชิงขุมทรัพย์"กบข."ต่อยอดครอบครองพื้นที่ครอบครัวข้าราชการ
ฐานลูกค้ากว่า 1.17ล้านคนที่เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข่าราชการ (กบข.) คือแหล่งขุมทรัพย์ชั้นยอดที่หลายอาณาจักรประกันชีวิตหมายปองให้ได้มาซึ่งการครอบครอง หากแต่การได้มาไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนเดินบนถนนราบเรียบ เพราะแต่ละอาณาจักรต้องวางกลยุทธ์ในการชิงชัยท่ามกลางสมรภูมิรบที่มีคู่ต่อสู้ถึง 7ราย เพื่อให้ผู้กุมอำนาจ "กบข."เป็นผู้ชี้ชะตาและคัดเลือกให้เหลือเพียง 3 อาณาจักร อันเป็นกลุ่มสุดท้ายที่ กบข.เปิดทางให้เข้ามาขยายอำนาจการตลาดประกันชีวิต อันได้แก่ เอไอเอ ไทยประกันชีวิต และเมืองไทยประกันชีวิต ซึ่งถือเป็นผู้กุมอำนาจลำดับต้น ๆ ในวงการประกันชีวิต เมื่อ 3 อาณาจักรต้องมาเปิดศึกชิงขุมทรัพย์บนผืนดินเดียวกัน สมรภูมิรบที่ว่าร้อนอยู่แล้วยิ่งปะทุเดือด เมื่อการชิงชัยในครั้งนี้ ทั้ง 3 อาณาจักรต่างก็หวังความเป็นหนึ่ง
(Positioning Magazine 9 ตุลาคม 2549)