รถไฟฟ้าใต้ดิน จุดนัดพบใหม่ของชาวกรุง
กว่า 12 ปี นับจากรถไฟฟ้า BTS เกิดขึ้น รถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของประเทศไทย ภายใต้ชื่อว่า "รถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล" จึงสร้างเสร็จและเปิดให้ประชาชนทดลองใช้ในช่วงสงกรานต์ 2547 ที่ผ่านมา ท่ามกลางการป้องกันเหตุร้ายจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยหนาแน่นกว่า 300 คน
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2547)
สื่อโฆษณาในบรรยากาศใหม่
อีกเพียงไม่ถึง 1 ปี คนกรุงเทพฯ จะมีโอกาสได้พบกับรูปแบบการโฆษณาในบรรยากาศที่แปลกใหม่
ซึ่งคนส่วนใหญ่ยังไม่เคยได้สัมผัสมาก่อน นั่นก็คือการโฆษณาในบริเวณสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน
สายเฉลิมรัชมงคล ที่จะเริ่มเปิดให้ประชาชนได้ทดลองใช้ในช่วงเทศกาลสงกรานต์
ปี 2547
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2546)
จ่อประมูลรถไฟฟ้า สายสีเขียวเสร็จปี54
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการ ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม หมอชิต-สะพานใหม่ ระยะทาง 13 กิโลเมตร , สีเขียวอ่อน แบริ่ง-สมุทรปราการ ระยะทาง 14 กิโลเมตร , สีชมพู แคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี ระยะทาง 36 กิโลเมตร ว่า ล่าสุด การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ปรับแบบก่อสร้างเรียบร้อยแล้ว โดยช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ได้ปรับแบบเนื่องจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) ไม่ให้ใช้พื้นที่บริเวณสำนักงานเขตบางเขน ไปบริเวณอนุสาวรีย์วงเวียนหลักสี่แทน
(ASTVผู้จัดการรายวัน 14 มิถุนายน 2553)
ช.การช่างเฉือน"ซิโน-ไทย"คว้างานรถไฟฟ้าสายสีม่วง
ช.การช่าง ประเดิม คว้างานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง สัญญา ที่ 1 เสนอต่ำสุด 16,724,500,000 บาท ต่ำกว่า ซิโน-ไทย 375.5 ล้านบาท ขณะที่ รฟม.เตรียมต่อรองราคา บีบให้อยู่ในกรอบค่าก่อสร้างที่มีแค่ 13,400 ล้านบาท เผยผู้รับเหมาคำนวณต้นทุนช่วงก.ค. 51 ซึ่งน้ำมันและเหล็กราคาสูง คาด 3 ผู้รับเหมา ช.การช่าง ,ซิโน-ไทย,อิตาเลียนไทย ดั๊มป์ราคาชิงรถไฟสีม่วง เหตุงานก่อสร้างขนาดใหญ่มีน้อย
(ผู้จัดการรายวัน 14 มกราคม 2552)
รฟม.จ้างที่ปรึกษาเตรียมประมูลรถไฟฟ้า 2 สาย
บอร์ดรฟม.อนุมัติจ้างที่ปรึกษาโครงการสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) และสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค) วงเงินกว่า 276 ล้านบาท คาดศึกษารายละเอียดเสร็จใน 2 เดือน ก่อนเสนอ ครม.ขอประมูล
(ผู้จัดการรายวัน 8 กุมภาพันธ์ 2550)
พลิกโผเปิดซองสายสีม่วง กลุ่ม PAR เบียด ITD คว้าสัญญา 3
ผลเปิดซองสัญญา 3 สายสีม่วงพลิก กลุ่ม PAR ตัดหน้า ITD ในราคา 6,399.67 ล้านบาท ต่ำกว่าเพียง 479 ล้านบาท รฟม. ยันวงเงินก่อสร้างยังอยู่ในกรอบ 36,000 ล้านบาท คมนาคมฯ จี้ต้องเจรจาราคาให้ต่ำที่สุด
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 6 กรกฎาคม 2552)
แบ่งเค้กสายสีม่วงลงตัว STECคว้าสัญญา 2 ITD VS PAR ลุ้นสัญญา 3
* ไม่ผลิกโผสำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง สัญญา 2
*ซิโน-ไทย ของตระกูลชาญวีรกูล คว้าสัญญา 2 ตามคาด เฉือนช.การช่าง 280 ล้านบาท
*จับตาสัญญา 3 อิตาเลียนไทย ปะทะกลุ่ม PAR ของเจ๊แดง จะคว้าเค้นชิ้นสุดท้ายไป?
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 22 มิถุนายน 2552)
แบ่งเค้กสายสีม่วงลงตัว CK คว้าสัญญาแรก/ ITD-STEC จ่อเข้าวิน
ช.การช่างคว้างานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงสัญญาแรก ราคา 16,724 ล้านบาท เฉือนจมูกซิโน-ไทยฯ แค่ 376 ล้านบาท แต่ทุกอย่างลงตัว เพราะแบ่งเค้กกันอย่างลงตัว อิตาเลียนไทยและซิโน-ไทยจ่อคิวเข้าวินคว้าสัญญา 2 และ 3 ตามลำดับ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 26 มกราคม 2552)
รฟม.เปิดที่จอดรถเพิ่มอีก 2 แห่ง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดที่จอดรถ รฟม. สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (รัชดา ซอย 6) พร้อมเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2551 เป็นต้นไป
(อินทิเกรเต็ด คอมมูนิเคชั่น, บจก. 26 กันยายน 2551)