Very Long-Term Stock
รถไฟฟ้าใต้ดินเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของโครงการขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ของประเทศ
แต่ต้องหวังผลระยะยาว
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2549)
อีก 1 วิถีชีวิตใหม่ที่เพิ่งเริ่ม
เก้าโมงเช้า วันที่เก้า เดือนเก้า ช่างเป็นฤกษ์ที่พอเหมาะพอเจาะ และพอดีสำหรับงานแถลงข่าวเปิดตัว "Metro Mall" ศูนย์ชอปปิ้งมอลล์แห่งใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นในบริเวณของสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน สถานีสุขุมวิท
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2548)
รถไฟฟ้าใต้ดิน จุดนัดพบใหม่ของชาวกรุง
กว่า 12 ปี นับจากรถไฟฟ้า BTS เกิดขึ้น รถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของประเทศไทย ภายใต้ชื่อว่า "รถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล" จึงสร้างเสร็จและเปิดให้ประชาชนทดลองใช้ในช่วงสงกรานต์ 2547 ที่ผ่านมา ท่ามกลางการป้องกันเหตุร้ายจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยหนาแน่นกว่า 300 คน
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2547)
BMCLลุ้นรายได้ขยับ 10%
บีเอ็มซีแอลปรับกลยุทธ์ออกโปรโมชั่นครึ่งปีหลังคาดเพิ่มยอดผู้โดยสาร 4% คงการเติบโตของรายได้ที่ 8-10% หลังครม.เบรกขึ้นค่าโดยสารตามสัญญา เผยเจรจาเจ้าหนี้ขอยืดหนี้และลดดอกเบี้ย เหตุส่วนต่อขยายมาช้าเพิ่มผู้โดยสารไม่ได้ตามเป้า หวังสีม่วงเปิดดึงผู้โดยสารเพิ่มอีก 1แสนคนต่อวัน รายได้พอจ่ายดอกเบี้ยและเริ่มกำไร
(ผู้จัดการรายวัน 4 กรกฎาคม 2551)
BMCLเดี้ยงราคาหลุดจอง4.58%บิ๊กช.การช่างย้ำเล็งเข้าเก็บหุ้นเพิ่ม
หุ้นน้องใหม่ BMCL เทรดวันแรกราคาต่ำกว่าจอง 4.58% ผู้บริหารยอมรับราคาหุ้นไม่รอดต่ำจองจากผลกระทบการปฎิรูปการปกครอง ด้านที่ปรึกษาฯ เชื่อเมื่อทุกอย่างชัดเจนจะส่งผลต่อภาพรวมตลาดหุ้น ด้านบิ๊กช.การช่าง "ปลิว ตรีวิศวเวทย์" พร้อมเก็บหุ้นในกระดานเพิ่มหวังรักษาสัดส่วนให้ใกล้เคียงกับก่อนขายไอพีโอซึ่งอยู่ที่ประมาณ 50% ขณะที่รฟม.แจ้งจ่ายเงินค่าหุ้นเรียบร้อยแล้ว
(ผู้จัดการรายวัน 22 กันยายน 2549)
BMCL เข้าเทรด 21ก.ย. ฝ่าหุ้นซบขาใหญ่ชะลอ
หุ้นน้องใหม่รถไฟฟ้ากรุงเทพ ได้ฤกษ์ที่จะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ 21 ก.ย.นี้ สรุปราคาจองวันนี้ พร้อมกระจายหุ้น 8, 11-13 ก.ย.นี้ จัดสรรหุ้น 25 ล้านหุ้น ให้นักลงทุนที่สนใจมาจองที่สถานีรถไฟฟ้าศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์เพื่อสุ่มตัวอย่าง ผู้บริหารมั่นใจหุ้นอนาคตดี ตั้งเป้าปีนี้รายได้โต 40%
(ผู้จัดการรายวัน 31 สิงหาคม 2549)
เลื่อนประมูลรถไฟฟ้ายาว ติดขั้นตอนเลือกที่ปรึกษาใหม่
โครงการรถไฟฟ้าส่อเค้าเลื่อนยาว 4 เดือน เหตุต้องคัดเลือกบริษัทที่ปรึกษาใหม่ ลบคำครหาไม่โปร่งใส สร้างความเป็นธรรมแก่บริษัทใหม่ หลังจากที่คณะกรรมการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)มีมติชะลอการว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาเดิมคือกลุ่มบริษัทเออีซีและกลุ่มบริษัทบีเอ็มทีซี เพราะมีการตั้งข้อสังเกตถึงขั้นตอนการคัดเลือกบริษัทที่ปรึกษาที่ใช้วิธีตกลงราคาหรือวิธีพิเศษว่า การใช้บริษัทที่ปรึกษารายเดิม อาจจะไม่โปร่งใส และไม่เป็นธรรมสำหรับบริษัทใหม่ที่จะเข้ามาร่วมประมูล
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 2 เมษายน 2550)