Thai–Islamic 2007 Trade Culture & Relationship
ภาพการจับมือและรอยยิ้มระหว่างนักธุรกิจไทย-มุสลิม เป็นบรรยากาศที่ไม่ได้พบบ่อยนัก ปรากฏการณ์นี้ได้เกิดขึ้นเมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา เมื่อนักธุรกิจมุสลิมได้เดินทางเข้ามาจัดงานใหญ่ถึง 2 งาน ที่เมืองไทยในช่วงเวลาเดียวกัน ที่สำคัญเป็นงานแรกที่เกิดขึ้นจากกลุ่มนักธุรกิจจากประเทศมุสลิม นั่นแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยกำลังเป็นเป้าหมายที่น่าสนใจเพื่อการลงทุน
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2550)
ลูกค้า Outsourcing รายที่ 2 ของ เอสวีโอเอ
การแถลงข่าวความร่วมมือระหว่างเอสวีโอเอ
และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
ให้บริการระบบ ATM Outsourcing ครบวงจร จัดขึ้นอย่างเป็นทางการ พิธีการเป็นไปอย่าง
เรียบง่าย กระชับ รวดเร็ว
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2547)
Dual Banking System ยุทธศาสตร์ระดับโลก
เป็นข้อเท็จจริงที่ว่าในหลักของศาสนาอิสลามมีข้อห้ามมิให้ชาวมุสลิมเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องของดอกเบี้ย ไม่ว่าจะเป็นการรับ หรือการจ่าย เพราะในพระคัมภีร์ได้บัญญัติไว้ว่าเป็นบาปที่ยิ่งใหญ่มาก หลักศาสนาอิสลาม ซึ่งยึดหลักแห่งความยุติธรรม มองว่าดอกเบี้ยคือสัญลักษณ์ของการเอาเปรียบ ด้วยข้อห้ามนี้เอง ทำให้ที่ผ่านมาชาวมุสลิมซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากทั่วประเทศไทย
ไม่มีโอกาสนำเงินเข้ามาไว้ในระบบธนาคารพาณิชย์ ซึ่งยังคงยึดในหลักการของดอกเบี้ย
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2546)
ไอแบงก์ขยายบอนด์แสนล้าน
ไอแบงก์เล็งออกพันธบัตร 1 หมื่นล้านบาทเตรียมสภาพคล่องไว้รองรับการขยายสินเชื่อครึ่งปีหลัง เล็งรับรีไฟแนนซ์หนี้ครู ตำรวจหลังมีกระแสตอบรับดีจากประชาชนทั่วไป พร้อมระดมทุนผ่านกองทุนสาธารณูปโภคอีก 1 แสนล้านให้รัฐบาลนำไปใช้ด้านสังคม
(ASTVผู้จัดการรายวัน 20 กรกฎาคม 2552)
ธ.อิสลามฟุ้งต่างชาติรุมขอร่วมทุน
แบงก์อิสลามโอ่มีต่างชาติสนใจเข้าร่วมทุนเพียบ แย้มมีทั้งนักลงทุนจากคูเวตและเอชเอสบีซี เผยขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงองค์กรและปรับภาพลักษณ์ ระบุอีก 1 ปี เห็นความเปลี่ยนแปลงชัดเจน พร้อมเสนอ"วีระศักดิ์ สุวรรณยศ"เป็นกรรมการผู้อำนวยการคนใหม่ คาดรมว.คลังลงนามแต่งตั้งภายในเดือนส.ค.นี้
(ผู้จัดการรายวัน 28 กรกฎาคม 2551)
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยจับมือเมืองไทยประกันชีวิตรุก “เมืองไทยตะกาฟุล”
บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด ได้มีพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงระหว่าง ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับความร่วมมือในการจัดทำโครงการเมืองไทยตะกาฟุล เพื่อมอบความคุ้มครองที่คุ้มค่าและถูกหลักการศาสนาอิสลาม (หลักชารีอะห์) ในทุกขั้นตอน นับเป็นความคุ้มครองที่ยิ่งใหญ่ที่มอบให้พี่น้องชาวมุสลิมทั่วประเทศ
(เมืองไทยประกันชีวิต, บจก. 29 กันยายน 2551)