ตลาดนัดโชห่วย
เสียงลั่นกลองชัยดังขึ้นในบรรยากาศงานเปิดตัว "ตลาดนัดโชห่วย" ครั้งที่ 2 ของบริษัทสยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ที่จัดขึ้นเมื่อกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา ชูแนวคิด "โชห่วยไทย สายใยแห่งชุมชน" โดยจำลองวิถีชีวิตในสังคมไทย เมื่อครั้ง 50-100 ปีก่อน
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ตุลาคม 2552)
โชวห่วยโต แม็คโครก็โตด้วย
การล้มหายตายจากของร้านโชวห่วยและร้านค้าแบบดั้งเดิมของไทย หากมองปัญหาจากด้านของผู้ประกอบการก็จะบอกว่ามาจากปัญหาในการเข้ามาของดิสเคาท์สโตร์รายใหญ่ ร้านสะดวกซื้อ ทำให้ร้านค้าแบบเดิมๆ ไม่สามารถยืนอยู่ได้ แต่หากมองในแง่มุมของผู้ประกอบการดิสเคาท์สโตร์ก็จะมองว่า เพราะร้านเหล่านั้นไม่มีการปรับตัวหรือพัฒนาให้ขึ้นมาแข่งขันกับคู่แข่งได้
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2550)
ก่อนจะถึงห้าง makro
ธุรกิจโมเดิร์นเทรดไม่ได้แข่งขันกันที่ทำเลเพียงอย่างเดียวเท่านั้น การมีลอจิสติกส์ที่ดียังช่วยลดต้นทุนและเพิ่มโอกาสในการขายได้อีกด้วย
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2549)
สุชาดา อิทธิจารุกุล ผ่ากลยุทธ์มัดใจ “โชห่วย”
ถึงแม้ว่า “แม็คโคร” จะทำธุรกิจกับลูกค้าร้านโชห่วยในลักษณะของ “บีทูบี” เป็นหลัก แต่ขึ้นชื่อว่าเป็นค้าปลีกต้องรู้เร็วและรู้รอบ และทดลองอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ โดยเฉพาะเทรนด์และพฤติกรรมของผู้บริโภค เพราะมีผลต่อการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง ทำให้แม่ทัพหญิงอย่าง สุชาดา อิทธิจารุกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) จึงต้องพร้อมรบทุกสถานการณ์
(Positioning Magazine 13 กันยายน 2554)
โชห่วยเคลื่อนที่
หลังจากที่แม็คโคร (Makro) ยึด Positioning ที่ชัดเจนกับการเป็นมิตรแท้โชห่วย ในฐานะของผู้ค้าส่งกับผู้ค้าปลีก และได้จัดกิจกรรมให้ความรู้กับโชห่วยมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งถูกท้าทายอย่างหนักจาก 7-Eleven
(Positioning Magazine มีนาคม 2553)
โชห่วยยังขลัง
เมื่อโชห่วยยิ่งเติบโตเท่าไหร่ แม็คโครก็ยิ่งมั่นคงแข็งแรงมากขึ้นเท่านั้น แม็คโครจึงต้องอาศัยจังหวะรัฐบาลออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยสินเชื่อ Fast Track และครบรอบ 20 ปี ควักงบ 15 ล้านบาท ลงทุนจัดงาน “ตลาดนัดโชห่วย” ขึ้นเป็นปีที่สอง ครั้งนี้ไม่เพียงมัดใจร้านโชห่วยเดิมเท่านั้น แต่ยังหวังกระตุ้นให้คนรุ่นใหม่หันมาเปิดร้านโชห่วยมากขึ้น
(Positioning Magazine ตุลาคม 2552)
แม็คโครจัดเต็มทุ่ม3พันล.ลุยซุ่มเปิดซื้อขายออนไลน์รับศึก
"แม็คโคร" ลุยหนักปีนี้ จัดเต็มรับเศรษฐกิจฟื้น ทุ่มกว่า 3,000 ล้านบาท ขยายสาขามากกว่าปีที่แล้ว รวมไม่ต่ำกว่า 7 สาขา พร้อมมุ่งเน้นฟอร์แมทโฮเรก้าเพราะเติบโตกว่า 25% เตรียมเผยโฉมสั่งซื้อออนไลน์เดือนหน้า ลุ้นปีหน้ารายได้ทะลุ แสนล้านบาท
(ASTV ผู้จัดการรายวัน 22 สิงหาคม 2554)
แม็คโครกัดฟันสู้แผนเดิม ทุ่ม12พันล.ลุยหวังปีนี้โต6%
แม็คโคร กัดฟันสู้ ไม่ถอย เดินหน้าแผนเดิมไม่ปรับแผน อัดงบ 2,000 ล้านบาท เปิด 4 สาขาใหม่ปีนี้ พร้อมรีโนเวต วางระบบจัดซื้อใหม่ แต่ยอมรับภาพรวมเศรษฐกิจกระทบจากม็อบเสื้อแดง มั่นใจสิ้นปีนี้ยังโต 6%
(ASTVผู้จัดการรายวัน 6 พฤษภาคม 2553)
แม็คโคร VS บิ๊กซัปพลายเออร์ เปิดศึกคมเฉือนคมชิงตลาด B2B
การสัประยุทธ์ระหว่างช่องทางการจำหน่ายสมัยใหม่ หรือโมเดิร์นเทรด กับบรรดาซัปพลายเออร์เริ่มร้อนระอุขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่ซัปพลายเออร์รายใหญ่อย่างเนสท์เล่ กับยูนิลีเวอร์ ขอเล่นบทใหม่ลุยขายเข้าช่องทางกลุ่มบีทูบี (B2B : Business to Business) โดยเฉพาะในตลาดกลุ่มโฮเรก้า (Hotel-restaurant-Catering) ที่มีมูลค่าถึง 1 แสนล้านบาท แถมมีอัตราการเติบโต 5% ต่อปี หลังจากปล่อยให้แม็คโคร เจ้าของคอนเซปท์ cash and carry ขายเข้าช่องทางนี้เพียงผู้เดียว มิหนำซ้ำยังผลิตสินค้าเฮาส์แบรนด์มาขายในราคาต่ำอีกต่างหาก งานนี้ซัปพลายเออร์จึงต้องขอสวนหมัดเต็มๆอีกสักครา
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 31 มีนาคม 2551)
กลยุทธ์การตลาด:ซูเปอร์ 10 ของแมคโครได้ทั้งขึ้น ทั้งล่อง
ท่ามกลางสถานการณ์ที่ตึง ๆ ในธุรกิจค้าปลีก แม็คโครก็เล็งปัดฝุ่นโครงการ "ซูเปอร์ 10" เพื่อช่วยเหลือบรรดาร้านค้าโชว์ห่วย ซึ่งจะช่วยให้ตัวแม็คโครเองอยู่รอดได้ในระยะยาวด้วยสุชาดา อิทธิจารุกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินธุรกิจศูนย์ค้าส่งระบบค้าส่งและสมาชิก "แม็คโคร" เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมนำโครงการ "ซูเปอร์ 10" ซึ่งเคยเปิดใช้มาก่อนหน้านี้กลับมาใช้อีกครั้ง โดยได้พัฒนาวิธีการทำงานให้สามารถขยายเครือข่ายความร่วมมือกับผู้ค้ารายย่อยได้มากขึ้น จากเดิมที่ค่อนข้างจำกัด เพราะเห็นว่าหากมีจำนวนมากเกินไปจะทำให้แข่งขันกันเอง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 6 พฤศจิกายน 2549)
แม็คโคร รุกกิจกรรมนอกห้าง ขยายฐานลูกค้ากลุ่มใหม่
แม็คโครทุ่มงบ 16 ล้านบาทดึงพันธมิตร 120 ราย จัดกิจกรรมนอกห้างครั้งใหญ่ ตั้งเป้าขยายฐานลูกค้า 25% จากผู้ที่จะก้าวสู่ธุรกิจอาหาร จากการจัดงาน "แม็คโคร โฮเรก้า เอ็กซ์ตร้าวากานซ่า ครั้งที่ 1"
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 20 ตุลาคม 2548)