มอเตอร์ไซค์ "คาจิวา" ขอกลับมาเกิดในไทยอีกครั้ง
การฟื้นตัวของตลาดรถจักรยานยนต์ ในปีที่แล้ว ซึ่งมีการคาดการณ์ถึงยอดขายตลอดทั้งปีว่าจะสูงถึง 800,000 คัน ส่งผลให้ค่ายรถจากยุโรป ได้เริ่มให้ความสนใจจะขอเข้ามาร่วม แย่งตลาดในประเทศไทยด้วย แนวโน้มตัวผู้เล่นในตลาดในปีนี้ จึงมีเพิ่มมากขึ้น จากเดิม ที่มีผู้ครองตลาดหลักอยู่เพียง 4 รายที่เป็นค่ายรถจากญี่ปุ่นล้วนๆ
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2544)
ไทยยามาฮ่า ชื่อใหม่ของสยามยามาฮ่า
ชื่อของสยามยามาฮ่าถูกเปลี่ยนเป็นไทยยามาฮ่า หลังจากที่การปรับโครงสร้างหนี้ และการเปลี่ยนแปลง สัดส่วนผู้ถือหุ้นในบริษัทสยามยามาฮ่า เสร็จสิ้นลงเมื่อไม่นานมานี้ เพื่อลบภาพเก่าเมื่อครั้งอดีต และเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2543)
กฤษณ์ ณรงค์เดชเด็กหนุ่มกับจินตนาการและอำนาจ
ความเปลี่ยนแปลงในกลุ่มเคพีเอ็น เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แน่นอนว่า
บางครั้งต้องยอมสูญเสียส่วนน้อยเพื่อรักษาส่วนใหญ่ สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการหาทางออกเพื่ออยู่รอด
หรือสนองวิสัยทัศน์ของคนรุ่นใหม่ สิ่งเหล่านี้ถูกต้อง ถูกกาลเวลาแค่ไหนต้องรอเวลาพิสูจน์
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2539)
กฤษณ์ ณรงค์เดช สมดุลชีวิต
กฤษณ์ ณรงค์เดช ทายาทคนโตตระกูล “ณรงค์เดช” ผู้บริหารหนุ่มโสดที่ POSITIONING เคยสรุปเรื่องราวชีวิตของเขาผ่านการพาดหัวสั้นๆ ว่า “Living with mind” เหตุเพราะเขาบอกว่าการศึกษาเรื่องจิตของเขาทำให้ทุกอย่างก้าวของชีวิตเป็นไปอย่างมีสติ ผ่านการไตร่ตรองและระลึกรู้ อีกทั้งยังทำให้เกิดสมาธิอันจะก่อเกิดพลังทางปัญญามหาศาล
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2548)
กรณ์ ณรงค์เดช ท้าดวลธุรกิจอสังหาฯ
หนุ่มหน้ามนผู้แตกไลน์ธุรกิจของครอบครัวจากอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มาสู่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างจริงจัง แม้ก่อนหน้านั้นตระกูล “ณรงค์เดช” มีบริษัทเคพีเอ็น เรียลเอสเตท ดำเนินการด้านธุรกิจอพาร์ตเมนต์มาแล้วกว่า 10 ปี แต่ไม่ได้มีชื่อเสียงโดดเด่น ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นบริษัท KPN Lifestyle โดยเขาดำรงตำแหน่งเป็น Vice President
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2548)
KPN หันเน้นส่งออกชิ้นส่วนดึงยักษ์ขนส่งเบอร์ 7 โลกร่วม
กลุ่ม “เคพีเอ็น” ปรับแผนธุรกิจในส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์ หันเน้นส่งออกหลบปัจจัยเสี่ยงการเมือง-เศรษฐกิจในไทย เพิ่มสัดส่วนเป็น 40% จากปัจจุบัน 20% ล่าสุดคว้าออเดอร์ส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ทั่วโลก มูลค่า 300 ล้านบาทต่อปี แถมได้บิ๊กล็อตจากค่ายรถบิ๊กทรี มูลค่า 150 ล้านบาทต่อปี
(ผู้จัดการรายวัน 20 กรกฎาคม 2549)
KPNทุ่ม600ล.รุกอสังหาฯผุดโปรเจกต์จับลูกค้าไฮโซ
กลุ่ม "เคพีเอ็น" ผุดโครงการใหม่ออกมาเป็นล็อต โดยเฉพาะโปรเจกต์พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รูปแบบใหม่ครั้งแรกในไทยแถบหัวหิน มูลค่ากว่า 600 ล้านบาท มุ่งเจาะกลุ่มเศรษฐีไทยแบบไม่หวั่นสภาวะชะลอตัวของตลาด
พร้อมเดินหน้าปรับโครง สร้างกลุ่มธุรกิจยานยนต์รวมเข้าด้วยกัน ดันเข้าระดมทุนในตลท.
ช่วงไตรมาสสามเพื่อขยายธุรกิจ และกว้านซื้อกิจการเกี่ยวเนื่อง มั่นใจสิ้นปีมีรายได้รวมโตทะลุ
25% จากปีที่แล้วทำได้กว่า 6,300 ล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 17 พฤษภาคม 2547)
เคพีเอ็นปรับทัพใหม่รุกแฟรนไชส์-ตลท.
กลุ่มเคพีเอ็นฟื้นตัว ปรับทัพใหญ่ขยับตัวอีกครั้ง รุกธุรกิจใหม่หลังปรับโครงสร้างหนี้
หั่นทิ้งกิจการไม่มีอนาคต จนหนี้กว่าหมื่นล้านเหลือเพียง 2,000 ล้านบาท ส่งผลปีที่ผ่านมาทำกำไรครั้งแรก
เดินหน้าขยายธุรกิจในกลุ่ม เปิดแฟรนไชส์ค้าส่งและค้าปลีกอะไหล่รถจักรยานยนต์
(ผู้จัดการรายวัน 23 กรกฎาคม 2546)