Trend Setter กับสยามเซ็นเตอร์อีกครั้ง
ในที่สุดสยามเซ็นเตอร์ ศูนย์การค้าขวัญใจวัยรุ่นทุกยุคทุกสมัย ยาวนานถึง 32 ปีของเมืองไทย ก็ได้ฤกษ์เปิดโฉมใหม่อีกครั้งหนึ่ง ภายใต้คอนเซ็ปต์ The Glass Magical Box อาคารใหม่ที่มีภาพลักษณ์ล้ำยุค สุดเปรี้ยว ด้วยภาพ Graphic และแสงสีที่เปลี่ยนไปและเคลื่อนไหวได้ โดยฝีมือของบริษัทสถาปนิกดีไซน์ 103 อินเตอร์เนชั่นแนล
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2548)
Digital signs
ใครที่ผ่านไปผ่านมาย่านอาคารสยามเซ็นเตอร์ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา คงมีโอกาสได้เห็นภาพคนงานหลายชีวิตกำลังเร่งมือปรับปรุงอาคารกันอย่างเต็มที่ โดยไม่สนใจว่าจะมีสายตานับพันนับหมื่น ที่เดินผ่านไปมากำลังจ้องมองแต่อย่างใด
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2548)
สยามเซ็นเตอร์โฉมใหม่
ผู้ที่ผ่านไปมาย่านสยามเซ็นเตอร์ คงเห็นการก่อสร้างโครงการศูนย์การค้าขนาดใหญ่ "สยามพารากอน" ที่กำลังเร่งงานให้เสร็จทันปลายปีนี้ ในขณะเดียวกัน สยามเซ็นเตอร์ ศูนย์การค้าแห่งแรกของเมืองไทย ที่เปิดบริการตั้งแต่ปี 2516 ก็กำลังทำการยกเครื่องครั้งใหญ่สุดในรอบ 30 กว่าปี ภายใต้แนวคิดของจุดยืนเดิมคือการเป็นศูนย์กลางแฟชั่นที่สุดเปรี้ยวของวัยรุ่นทุกยุคทุกสมัย รวมทั้งเป็นสถานที่ทดลองตลาดและสื่อโฆษณาใหม่ๆ
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2548)
ยกเครื่องสยามเซ็นเตอร์ สู้ศึกแฟชั่นรีเทล
เมื่อเข้าสู่ช่วงศึก “รีเทล” กำลังร้อนแรง ห้างสรรพสินค้าแฟชั่นเก่าแก่อายุ 40 ปี อย่าง “สยามเซ็นเตอร์” ต้องทำตัวให้ล้ำสมัย เพื่อดึงดูดนักช้อปรุ่นใหม่มาเข้าห้างตลอดเวลา ใช้งบลงทุนถึง 1,700 ล้านบาท เพื่อต้องการสร้างความ “แปลกและแตกต่าง” ชนิดที่ต้อง “หลุด” ไปจากความเป็นห้างสรรพสินค้าแบบเดิมๆ
(Positioning Magazine 15 กุมภาพันธ์ 2556)
“มนาเทศ อันนวัฒน์” ลาซัมซุง ซบเอ็มโพเรี่ยม
“มนาเทศ อันนวัฒน์” หรือจูเนียร์ กลายเป็นอดีตไปแล้วกับตำแหน่ง ผู้อำนวยการกลุ่มสื่อสารการตลาดและองค์กร บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด โดยนับจากกลางเดือนมีนาคมนี้เป็นต้นไป “มนาเทศ” ย้ายจากอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไปสู่ธุรกิจค้าปลีกเต็มตัว
(Positioning Magazine 18 มีนาคม 2554)
ห้างหรูนอกเมือง
นอกจากจะเป็นบิ๊กโปรเจกต์หลังจากว่างเว้นการลงทุนใหม่ๆ มาถึง 5 ปีเต็ม ยังเป็นการแตกทำเลครั้งแรกของสยามพิวรรธน์ที่เคยยึดพื้นที่สี่แยกปทุมวัน มีทั้งสยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ สยามพารากอน และถือหุ้นในห้างสรรพสินค้ามาบุญครอง
(Positioning Magazine กันยายน 2552)
สยามพิวรรธน์เทงบ6,000ล.ปีหน้าลุ้นเซ็นเตอร์พ้อยท์ปั้นปทุมวันบูม
สยามพิวรรธน์ซุ่มปั้นย่านสี่แยกปทุมวันเป็นแหล่งชอปปิ้งสมบูรณ์แบบ ลุ้นพื้นที่เซ็นเตอร์พ้อยท์เดิม คาดกันยายนนี้รู้ผลใครมาวิน พร้อมวางบประมาณ 6,000 ล้านบาท ในการลุย 2 โครงการใหญ่ปีหน้า แผนสยายปีกรับเป็นคอนซัลต์คืบรับมาแล้ว 4 โครงการ คาดปลายปีนี้เปิดบริการได้ ยันไม่ร่วมลงทุนกับโครงการของลูกค้าแน่ เตรียมฉลองสยามดิสคัฟเวอรี่เซ็นเตอร์ครั้งใหญ่ครบรอบ 10 ปี
(ผู้จัดการรายวัน 30 สิงหาคม 2550)
ยก 2 “พาราไดซ์พาร์ค” รุกต่อ ย่านศรีนครินทร์ระอุ
พาราไดซ์ พาร์ค ประเมิน 1 ปีได้ผลสมใจ เดินหน้ายก 2 ด้วยการซื้อที่ด้านข้างศูนย์การค้าอีก 8 ไร่ขยายพื้นที่ เพิ่มสิ่งดึงดูดครองใจลูกค้าให้สมบูรณ์ขึ้น ยิ่งเพิ่มดีกรีการแข่งขันในยุทธภูมิศูนย์การค้าย่านกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก ที่มีการปรับตัวรับมือกันคึกคักในช่วงปีที่ผ่านมา อีกทั้งยังจะมี 2 ยักษ์ใหญ่ธุรกิจค้าปลีกอย่างเมกะ บางนา และเดอะมอลล์จ่อคิวผสมโรง
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 กันยายน 2554)
สยามฯ ชูสเปเชียลิตี้ สโตร์ เทรนด์แรงแซงดีพาร์ตเมนต์ฯ
สมรภูมิค้าปลีกในบ้านเราไม่ได้มีเพียงแค่ค่ายเซ็นทรัลและเด อะมอลล์ที่สร้างความยิ่งใหญ่ หากแต่ยังมีค่ายสยามพิวรรธน์ ทว่าที่ผ่านมา สยามพิวรรธน์ไม่ได้มีการขยายสาขามากมายนัก มีเพียงศูนย์การค้าสยามเซ็นเตอร์, สยามดิสคัฟเวอรี่ และสยามพารากอน ที่ร่วมกับค่ายเดอะมอลล์ แม้จะมีสาขาไม่มากนัก แต่ก็ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคที่เดินทางเข้ามาใช้ชีวิตกลางกรุง ล่าสุดกลุ่มสยามพิวรรธน์เตรียมเปิดตัว พาราไดซ์พาร์ค ซึ่งทางกลุ่มเอ็มบีเค ผู้ถือหุ้นในสยามพิวรรธน์ได้เข้าไปซื้อกิจการของห้างเสรีเซ็นเตอร์ จากนั้นให้กลุ่มสยามพิวรรธน์เข้ามาบริหาร โดยมีการปรับเปลี่ยนให้เป็นรูปแบบของสเปเชียลิตี้ชอปปิ้งเซ็นเตอร์ภายใต้ ชื่อใหม่คือ พาราไดซ์พาร์ค
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 15 มีนาคม 2553)
'สยามพิวรรธน์' หมุนตามโลก รุกปักธง CSR ปี'51
CSR หรือ Corporate Social Responsibility กำลังเป็นประเด็นที่องค์กรทันสมัยให้ความสำคัญชนิดเพราะเป็นกระสที่กำลังมาแรงที่สุดในยุคนี้ บริษัท สยามพิวรรธน์ผู้บริหารศูนย์การค้าสยามเซ็นเตอร์ - สยามดิสคัฟเวอรี่ ออกมาประกาศปักธงถึงแนวทางการเข้าไปมีบทบาทใน CSR หรือการทำงานเพื่อสังคมในปีพ.ศ. 2551 อย่างชัดเจน เพื่อสานต่อจากงานเดิมให้เกิดความยั่งยืน และยังเตรียมที่จะคลอดแผนการทำงานในต้นเดือนมกราคมปีหน้า
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 17 ธันวาคม 2550)