แลนด์มาร์คแห่งใหม่
จากความร่วมมือของ 5 กลุ่มธุรกิจ ประกาศแผนร่วมมือปั้น “เพลินจิตซิตี้” ให้เป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ใจกลางกรุงเทพฯ ด้วยมูลค่าลงทุน 5 หมื่นล้านบาท กลายเป็นพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์รายวันในวันรุ่งเช้า
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กรกฎาคม 2554)
Deal แรก ของยูนิเวนเจอร์
หลังจากบริษัทยูนิไทย อ๊อกไซด์ ผู้ผลิตสังกะสี อ๊อกไซด์ ในตลาดหลักทรัพย์ฯ
ได้มีการเปลี่ยนแปลง ผู้ถือหุ้น และเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็นยูนิเวนเจอร์
พร้อม ปรับโครงสร้างธุรกิจ โดยเปลี่ยนมาทำหน้าที่หลักเป็นเวนเจอร์แคปปิตอล
ในปี 2543
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2545)
กิตติรัตน์ ณ ระนอง ถือหุ้น Univentures 66%
กิตติรัตน์และเพื่อนพ้องที่ร่วมธุรกิจอยู่ในและนอกบริษัท คาเธ่ย์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ นั่นเอง เข้าไปซื้อหุ้นเพิ่มทุนของยูนิเวนเจอร์ (UV) จนกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ประกาศคาเธ่ย์ฯ พร้อมหลีกทางหาก UV สนใจทำธุรกิจที่ปรึกษาเอง…
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2543)
เพลินจิต ซิตี้ The secret of Location
Location ถูกหยิบยกมาเป็นหัวใจหลักของธุรกิจค้าปลีก และที่อยู่อาศัยมาอย่างยาวนาน การแข่งขันของผู้ประกอบในธุรกิจนี้ ตัดสินกันด้วยนิยามของคำนี้ เพลินจิต ซิตี้ กำลังพิสูจน์ให้เห็นถึงความหมายที่แท้จริงของ Location ว่าจะนำพาโครงการที่อยู่ในย่านนี้ ประสบความสำเร็จได้อย่างไร
(Positioning Magazine 10 กรกฎาคม 2554)
ยูนิเวนเจอร์ดึงนักชอปซื้อเอ็นพีเอ
ยูนิเวนเจอร์ฯหวังเป็นที่ปรึกษานักลงทุนดึงหนี้เสียออกมาพัฒนาสร้างกำไร พบสิ้นมิ.ย. 50 สินเชื่อคงค้างสุทธิมีมูลค่าสูงถึง 7 ล้านล้านบาท ตัวเลขเอ็นพีแอลเพิ่ม 4.8% จากปี 49 ซ้ำด้วยตัวเลขเอ็นพีเอพุ่งพรวด 7.2% คาดสิ้นปีทะลักเพิ่ม เหตุสถาบันการเงินเร่งแก้หนี้เสีย พร้อมเผยตัวเลขตึกร้าง 90 อาคารมีศักยภาพพัฒนาได้เลย จากทั้งหมด 254 อาคาร ส่วนอีก 155 อาคารใบอนุญาติก่อสร้างหมดอายุแล้ว
(ผู้จัดการรายวัน 30 ตุลาคม 2550)
บริษัทลูกชายเจ้าสัวเจริญถือหุ้นใหญ่แกรนด์ ยูนิตี้ฯ
“ลูกชายเจ้าสัวเจริญ” ส่งยูนิเวนเจอร์ ถือหุ้นใหญ่ 60% ใน แกรนด์ ยูนิตี้ฯ หวังใช้เป็นหัวหอกธุรกิจอสังหาฯ รับซื้อซากตึกรีนูเวสขายทำกำไร แจงพร้อมซื้อทุกโครงการที่มีศักยภาพ ระบุผู้ร่วมทุน LPN – เยาววงศ์ยอมลดสัดส่วนถือหุ้นลงจากรายละ 33.33 % เหลือ 20% ด้าน“วัลลภา ไตรโสรัส” ยันทีซีซี แลนด์ฯและยูนิเวนเจอร์ ต่างมุ่งทำธุรกิจอสังหาฯ และยึดนโยบายในการลงทุนที่ชัดเจน ระบุยังไม่คิดซื้อตึกเนชั่น แต่เร่งสร้างมูลค่าเพิ่มตึกไซเบอร์เวิลด์ทาวเวอร์ (โครงการรัชดาสแควร์) รับกำลังซื้อในอนาคต
(ผู้จัดการรายวัน 2 ตุลาคม 2550)
"เจริญ"หวังฮุบตลาดอสังหาฯ คุมยูนิเวนเจอร์-เล็งแกรนด์ยูฯซื้อตึกร้าง
นางอรฤดี ณ ระนอง ประธานอำนวยการ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ UVเปิดเผยถึงแผนลงทุนในช่วงครึ่งปีหลังของบริษัทว่า ภายหลังจากที่บริษัทได้ดำเนินการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่เป็นผลสำเร็จ โดยมีบริษัท อเดลฟอส จำกัด ของกลุ่มนายฐาปนและนายปณต สิริวัฒนภักดี ลูกชายนายเจริญ สิริวัฒนภักดี เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นในสัดส่วน 29.18% และอยู่ระหว่างการทำคำเสนอซื้อหุ้นทั้งหมดของบริษัท โดยจะเป็นการซื้อจากกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่เดิมเพิ่มอีกจำนวน 170 ล้านหุ้น กำหนดแล้วเสร็จภายในวันที่ 3 ตุลาคมนี้ ซึ่งจะทำให้บริษัทอเดลฟอสฯมีสัดส่วนการถือหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 51.57% ส่วนการบริหารงานยังคงให้ผู้บริหารเดิมเป็นผู้รับผิดชอบ
(ผู้จัดการรายวัน 6 กันยายน 2550)
ยูนิเวนเจอร์เดินหน้าฟื้นตึกร้าง ทางลัด “เจริญ” สู่เบอร์หนึ่งอสังหาฯ
ยูนิเวนเจอร์หวนคืนอสังหาฯ หลังเปิดทางทายาทสิริวัฒนภักดีเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ใช้วิกฤตครั้งใหม่สร้างโอกาส ต่อยอดเครือข่ายธุรกิจอสังหาฯ ของกลุ่มเจ้าพ่อน้ำเมาให้เติบโตแบบก้าวกระโดด หอบเงินทุนพันล้านเดินหน้าเทคโอเวอร์โครงการสร้างค้าง-มีปัญหาการเงิน พร้อมเจรจาขอถือหุ้นใหญ่ในแกรนด์ยูนิตี้ฯ เพื่อรุกอสังหาฯ ระดับกลางเต็มตัว
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 17 กันยายน 2550)
ยูนิเวนเจอร์เดินหน้าฟื้นตึกร้าง ทางลัด “เจริญ” สู่เบอร์หนึ่งอสังหาฯ
ยูนิเวนเจอร์หวนคืนอสังหาฯ หลังเปิดทางทายาทสิริวัฒนภักดีเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ใช้วิกฤตครั้งใหม่สร้างโอกาส ต่อยอดเครือข่ายธุรกิจอสังหาฯ ของกลุ่มเจ้าพ่อน้ำเมาให้เติบโตแบบก้าวกระโดด หอบเงินทุนพันล้านเดินหน้าเทคโอเวอร์โครงการสร้างค้าง-มีปัญหาการเงิน พร้อมเจรจาขอถือหุ้นใหญ่ในแกรนด์ยูนิตี้ฯ เพื่อรุกอสังหาฯ ระดับกลางเต็มตัว
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 17 กันยายน 2550)
ยูนิเวนเจอร์ เผยผลประกอบการปี 52 ยอดรายได้เพิ่มขึ้น แต่ผลกำไรสุทธิลดลง
บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) เผยผลประกอบการประจำปี 2552 ว่าบริษัทฯ มียอดรายได้รวมทั้งปีประมาณ 1.36 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.87% เมื่อเทียบกับปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 1.21 พันล้านบาท และมียอดรวมสินทรัพย์ทั้งปีประมาณ 3.76 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 53% เมื่อเทียบกับปี 2551
(ยูนิเวนเจอร์, บมจ. 3 มีนาคม 2553)