นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ พิพิธภัณฑ์แห่ง “ราก” ที่ (กำลัง) หายไป
หากถามถึงสิ่งที่ทำให้คนไทย (ส่วนใหญ่) ภูมิใจที่ได้เกิดเป็นคนไทย คำตอบแรกคงไม่พ้นการได้อยู่ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทย อันดับรองมาคือ ความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมไทย โดยมีความภูมิใจในเอกราชของชาติไทย ที่ไล่ตามมาติดๆ ...แต่ความภาคภูมิใจที่ไร้ซึ่ง "ราก" หยั่งด้วยสำนึกอย่างเข้าใจ ก็ไม่ต่างจากลัทธิ "ชาตินิยมไร้สติ" ที่ไม่เคยช่วยให้ประเทศชาติก้าวพ้นวิกฤติได้เลยสักครั้ง
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2553)
ทุนแห่งความรู้
การอรรถาธิบายยุทธศาสตร์ CPB ในปัจจุบัน มีความซับซ้อนมากพอควร คำว่า "ทุน" ตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองที่นิยมใช้กันมาตั้งแต่ 25 ปีที่แล้ว คงจะไม่สามารถทำให้เรื่องนี้น่าสนใจ และสมเหตุสมผลได้เท่าที่ควร
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2549)
บทบาทชัดเจน
ปีนี้นับเป็นปีที่ 3 แล้ว ที่จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา เปิดห้องประชุมเทเวศร์ เพื่อต้อนรับเหล่าบรรดาผู้สื่อข่าว ซึ่งไปร่วมฟังการแถลงข่าว ประจำปีของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2548)
ทรัพย์สินฯประกาศชัดCPNคว้าสวนลุมไนท์
นายอวิรุทธ์ วงศ์พุทธพิทักษ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และกรรมการบริษัท วังสินทรัพย์ จำกัด บริษัทบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ของสำนักงานทรัพย์สินฯ เปิดเผยถึงความคืบหน้าของแผนการพัฒนาพื้นที่ 127 ไร่ บริเวณโรงเรียนเตรียมทหาร(เดิม) ว่า สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้แบ่งพื้นที่สำหรับการพัฒนาออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกได้จัดสรรให้บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) (CPN) เพื่อพัฒนาโครงการ ครอบคลุมพื้นที่ 40 ไร่ ส่วนที่สองจัดเตรียมไว้เฉพาะเพื่อเป็น "พื้นที่สถานทูต" (Embassy Row) และส่วนสุดท้ายสงวนไว้เพื่อการพัฒนาโครงการในอนาคตอันใกล้นี้ โดยโครงการจะผสมผสานการใช้ประโยชน์อันประกอบด้วย อาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โรงแรม และที่พักอาศัยระดับสูง
(ผู้จัดการรายวัน 23 กุมภาพันธ์ 2550)
สนง.ทรัพย์สินฯผนึกททท.ทุ่ม60ล้าน ปั้นเฉลิมกรุงโชว์โขนแหล่งเที่ยวใหม่
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และกระทรวงการท่องเที่ยวฯ โดย ททท. ทุ่ม 60 ล้านบาท เปิดการแสดงโขน-ศาลาเฉลิมกรุง หวังดันขึ้นเดสติเนชัน ท่องเที่ยวแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ ชูจุดขายศิลปะการแสดง ชั้นสูงของไทย ดูดนักท่องเที่ยวกลุ่มญี่ปุ่นและยุโรป ขณะที่แอตต้าออกโรงเตือน ระวังเรื่องการตลาดและประชาสัมพันธ์ ที่ต้องแรงและต่อเนื่อง มีภาษาที่สื่อสารเข้าใจ ระบุคู่แข่งที่มาแรงคือสยามนิรมิต หวั่นซ้ำรอยโรงละครแห่งชาติ ด้าน ททท. เร่งอัดสั่งการสำนักงานต่างประเทศเร่งโปรโมต
(ผู้จัดการรายวัน 8 พฤศจิกายน 2548)
"สำนักทรัพย์สินฯ"คุมทิศทางเรือ"เทเวศฯ" สลัดภาพประกันภัยหัวเก่าเผชิญหน้าศึกนอก
ในวัยเฉียด 60 ปีของ "เทเวศประกันภัย"องค์กรที่เติบใหญ่ และแทบไม่ลู่ไปตามมรสุมเศรษฐกิจเหมือนประกันภัยค่ายอื่น ทำให้ "เทเวศฯ" กลายเป็นธุรกิจที่ไม่ต้องดิ้นรน กระเสือกกระสน หรือปาดเหงื่อ เสียเลือดเนื้อ เพราะโครงสร้างฝั่งผู้ถือหุ้นที่มีสำนักงานทรัพย์สินฯ ทำให้มีบารมีมากพอจะปกป้องคุ้มครองรายได้หรือผลประโยชน์มาได้ยาวนานตลอดรอดฝั่ง แต่อีกมุมหนึ่งก็กลายเป็น"จุดอ่อน"เพราะในขณะที่โลกหมุนเร็วและแรง การเลือกครองสถานภาพแบบ "ใส่พานประเคน" ถึงที่ กลับทำให้สูญเสียพละกำลังในสนามแข่งขัน พอๆกับภาพธุรกิจหัวเก่าที่จะต้องเร่งรีบสลัดออกไปโดยเร็ว ถ้าจะประคองตัวเองให้ยืนได้แข็งแกร่งบนเวทีโลกไร้ตะเข็บชายแดน....
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 17 กันยายน 2549)
สนง.ทรัพย์สินชู "4 บริษัท"ต้นแบบ ขับเคลื่อนศก.พอเพียง-บริษัทมีกำไร-พนักงานแฮปปี้ !
เอกชนขานรับนโยบายเศรษฐกิจพอเพียง หลังประเมินพบไม่ขัดหลักสร้างกำไรสูงสุดทางธุรกิจ อีกทั้งยังเพิ่มศักยภาพบริษัทในยุคโลกาภิวัฒน์ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วย ด้านคณะทำงานชุด "ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา" เดินหน้าขับเคลื่อนสู่องค์กรธุรกิจ ชู "4 Case study" ปูนซิเมนต์ไทย-แพรนด้า จิวเวอร์รี่-บ้านอนุรักษ์กระดาษสา-ชื่อไทย.คอม" เป็นต้นแบบที่น่าติดตาม!
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 28 สิงหาคม 2549)
สำนักงานทรัพย์สินฯ จัดโครงการ “ทันตกรรมเคลื่อนที่เพื่อชาวชุมชน”
คณะทันตแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการเปิดงาน “ทันตกรรมเคลื่อนที่เพื่อชาวชุมชน ประจำปี2551” โดยจัดขึ้นเพื่อให้บริการด้านทันตสุขภาพกับชาวชุมชนทั้ง 17 ชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
(นิโอ ทาร์เก็ต, บจก. 11 กันยายน 2551)