"แบงก์ศรีนครกับโทลล์เวย์ วังวนปัญหาการเงินที่แก้ไม่ตก"
สภาพเศรษฐกิจที่ซบเซาในปัจจุบัน นอกจากจะมีผลทำให้ผู้ลงทุนขยายกิจการอย่างมากในระยะ
4-5 ปีที่ผ่านมาโดยการกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ไม่สามารถผุดโครงการขนาดใหญ่ได้อย่างเต็มที่
โครงการเดิมที่ได้ลงทุนไปแล้วก็มีทีท่าว่าจะไปไม่รอดอยู่เหมือนกัน แม้จะเป็นโครงการด้านสาธารณูปโภคที่ถือว่าจำเป็นอย่างยิ่งก็ตาม
สภาวะเช่นนี้ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่กับธนาคารพาณิชย์ ทำให้ต้องประสบปัญหาต่อเนื่องด้วยเช่นกัน
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2540)
เฮือกสุดท้าย ดอนเมืองโทลล์เวย์ เข้าตลาดหุ้นหรือขายทิ้ง?
ในที่สุดสมบัติ พานิชชีวะก็ถึงกับพูดออกมาดัง ๆว่า อยากจะขายทิ้งโครงการดอนเมืองโทลล์เวย์ กับใครก็ได้ที่เสนอผลประโยชน์ตอบแทนที่น่าสนใจ ซึ่งอาจเป็นการพูดขึ้นด้วยอารมณ์ หรือแฝงด้วยเลศนัยที่หวังจะกระตุ้นให้คนเกิดความสนใจโครงการของตน อย่างไรก็ตามความอับจนของโครงการนี้ก็ยังฝากความหวังไว้ที่การเข้าตลาดหลักทรัพย์ แต่ในข้อเท็จจริงอนาคตจะเป็นเช่นไรเป็นเรื่องน่าหวั่นวิตกไม่น้อย
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2538)
รัฐทุ่มหมืนล้านอุ้มสมบัติอ้างแก้ข้อพิพาทโทลล์เวย์
ปัญหาข้อพิพาทสัมปทาน "ดอนเมืองโทลล์เวย์" บานปลาย รัฐโดดอุ้มเอกชนด้วยเม็ดเงินกว่า 1.6 หมื่นล้านบาทแลกกับหุ้น 450 ล้านหุ้น หรือ 60% บวกกับหนี้สินอีกกว่า 1.2 หมื่นล้านบาทหลังการเจรจาประสบความล้มเหลว โดยเสนอให้ตั้งที่ปรึกษาเพื่อหาราคาซื้อขาย ที่เหมาะสม ระบุ "สมบัติ พานิชชีวะ" ผู้ถือหุ้นกว่า 30% รับเละ ขณะที่ ครม.อนุมัติตั้งคณะกรรมการอำนวยการโครงการระบบขนส่งมวลชน มี "พงษ์ศักดิ์" นั่งเป็นประธาน รวบอำนาจเบ็ดเสร็จแก้ปัญหาความขัดแย้งระบบรถไฟฟ้า
(ผู้จัดการรายวัน 14 กันยายน 2548)
โทลล์เวย์ขายคืนรัฐ 13 บาท/หุ้น หลังพิงฝาพร้อมเจรจาทุกกรณี
โทลล์เวย์พร้อมเจรจาขายคืนตั้งราคา 13 บาทต่อหุ้น "สมบัติ" เผยทุน10บาท ขอค่าดอกเบี้ยอีก 3% ยันคำนวณความเสียหายรัฐต้องขยายสัมปทานให้อีก 17 ปี ชี้ยอมรับ 8 ปีได้แต่ต้องฟ้องเรียกค่าเสียหาย กรณีรัฐผิดสัญญาที่ผ่านมา ยอมยืดเก็บ 20 บาท อีก 30 วันถึง 19 ส.ค. เพื่อรอผลเจรจาซื้อคืนกับขยายสัมปทาน ลั่นไม่ยุติเก็บราคาเดิมและขอชดเชยอีก 150 ล้านบาท เตรียมลงนามปรับโครงสร้างหนี้ 25 ก.ค.นี้
(ผู้จัดการรายวัน 19 กรกฎาคม 2548)