บัตรแพลตตินั่มหรูพอแล้ว ให้ตลาดแมสบ้าง
เมื่อการออกบัตรเครดิต เป็นอีกหนึ่งในกลยุทธการตลาดที่ห้างไฮเปอร์มาร์เก็ตดึงดูดลูกค้ามาเป็นขาประจำและซื้อสินค้าได้ถี่ขึ้น ล่าสุดบิ๊กซีใช้จังหวะเงินเดือนคนจบปริญญาตรีเริ่มต้น15,000 บาท จับมือซิตี้แบงก์ ออกบัตรเครดิตระดับแพลตตินั่ม เงินเดือนขั้นต่ำ 15,000 ก็รูดปรื้ดได้แล้ว
(Positioning Magazine 20 กุมภาพันธ์ 2555)
“ทิสโก้-ซิตี้แบงก์” สู้ที่ Mass Affluent
“ในเวลาที่ต้องเลือก ก็ขอเลือกกลุ่มที่มีโอกาสในปัจจุบัน มีจำนวนมากพอ และพร้อมจะเป็นอนาคตของแบงก์” นี่คือคอนเซ็ปต์ที่ทั้งธนาคารทิสโก้ และธนาคารซิตี้แบงก์เลือกสำหรับทำตลาดลูกค้าระดับไฮเอนด์ ที่ขอสตาร์ทที่กลุ่มลูกค้าในระดับ 2 ล้านบาทก่อน
(Positioning Magazine 17 ตุลาคม 2554)
อภินิหารร่มสร้างแบรนด์
สองธนาคารอินเตอร์ล่าสุดอย่างซิตี้แบงก์ และเอชเอสบีซี ซึ่งปล่อยร่มชุดใหม่ออกมาแล้ว เพื่อกระตุ้นให้ผู้ใช้บริการการเงินนึกถึงธนาคารทุกที่ไม่ว่าอยู่ที่ไหน ด้วยความเป็นธนาคารต่างชาติ ทั้งสองธนาคารพยายามสร้างแบรนด์เพื่อเข้าถึงตลาดท้องถิ่นให้ได้มากที่สุด
( 10 พฤษภาคม 2554)
ทั้งรวย ทั้งเท่ แค่ “แพลทินัม” ไม่พอ
บัตรเครดิตที่เรียกว่า ”แพลทินัม” ในยุคนี้กลายเป็นบัตรธรรมดาไปแล้ว แต่เมื่อถึงเวลาที่คนรุ่นใหม่รวยขึ้น Work hard Play hard และพร้อมแสดงความต่างให้สมฐานะ ว่ารวยและเท่ด้วย ตลาดบัตรเครดิตจึงต้องจัดเซ็กเมนต์กันใหม่อีกรอบ เพื่อรักษาลูกค้าเก่า และเพิ่มลูกค้าใหม่
(Positioning Magazine มกราคม 2554)
“ Brand Power” Citi Bank is all Around
“ข้อจำกัดไม่ได้มีไว้เป็นอุปสรรคเสมอไป แต่กลายเป็นแรงกระตุ้นให้คิดและตอบโจทย์ให้ได้” คือบทพิสูจน์จากกรณีของ ”ซิตี้แบงก์” ที่มีจุดเสียเปรียบคู่แข่งกลุ่มแบงก์ไทยมาตลอดในเรื่องสาขา ที่ซิตี้แบงก์ในฐานะแบงก์ต่างชาติไม่สามารถขยายสาขาได้ จน Touch Point ผ่านสาขาเท่ากับศูนย์
(Positioning Magazine ตุลาคม 2553)
จัด “กูรู” ให้เป็น “เพื่อน”
“ซิตี้แบงก์” ตอกย้ำ Positioning ความเป็นบัตรเครดิตภาพลักษณ์ Mid to High end อีกครั้ง หลังจากเงียบหายไปหลายเดือนตามภาวะเศรษฐกิจ ครั้งนี้หวังแรงด้วยแคมเปญ “จี้จุด” ลูกค้า ที่ซิตี้แบงก์จับทางได้ว่าลูกค้ากลุ่มนี้ไม่ได้ต้องการแค่แลกแต้มเอาของรางวัลเท่านั้น แต่อยากได้ “เพื่อนผู้รู้” ถึงขึ้น “กูรู” มาให้คำปรึกษามากกว่า และที่สำคัญคือ ลูกค้าได้เลือกในสิ่งที่ตัวเองต้องการมากที่สุด
(Positioning Magazine กันยายน 2552)
KTC เขย่า Citibank บัตรเครดิตสายพันธุ์ใหม่ สู้ด้วยความต่าง
วิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 สร้างความเปลี่ยนแปลงแก่สถาบันการเงินไทยหลายแห่งให้จมดิ่งอยู่ในกระแสหนี้ และถูกครอบงำโดยเงินทุนต่างชาติ ส่งผลให้ตลาดบัตรเครดิตแข่งขันกันรุนแรงไร้พรมแดน แต่จะมีใครคาดคิดว่าบัตรเครดิตแบรนด์ไทย อย่าง KTC จะพลิกโลก ว่ายทวนน้ำไปกินปลาใหญ่ข้ามชาติได้ในเวลาต่อมา
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2551)
สุริพงษ์ ตันติยานนท์ มิสเตอร์การันตี
ถ้าจะถามว่าการตลาดคืออะไร หนุ่มแบงกิ้งคนนี้ “สุริพงษ์ ตันติยานนท์” มีเรื่องราว และแง่มุมบางอย่างที่น่าสนใจ ดูเหมือนว่าบทบาทนักการตลาดในสถาบันการเงินของเขามีชีวิตชีวายิ่งนัก ทั้งการสร้างแบรนดิ้ง กลยุทธ์ และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังทำบัตรพลาสติกให้มีชีวิต ล้วนสะท้อนพลังในตัวตนของเขาได้เป็นอย่างดี
(Positioning Magazine กันยายน 2550)
ว้าว! รูดแล้วบิน
สงครามบัตรเครดิต ยิ่งใกล้สิ้นปียิ่งดุเดือด เหมือนศึกแห่งศักดิ์ศรีที่ต้องห่ำหั่นกันชนิดใครดีใครอยู่ ยิ่งใกล้ปิดตัวเลขทางบัญชีด้วยแล้ว งานนี้ใครมีดี มีไอเดียทางมาร์เก็ตติ้งใหม่ๆ ต้องงัดมาต่อสู้กัน อย่างโปรดักส์ใหม่ของ บัตรเครดิตซิตี้แบงก์ รอยัล ออร์คิด พลัส แพลตินั่ม ซีเล็คท์ ที่ออกมาทะลวงแคมเปญสำหรับฐานลูกค้าระดับไฮโซที่ชอบบิน
(Positioning Magazine ธันวาคม 2549)
นวัตกรรมยีนเด่น...เงินฝาก
ชุดนักวิทยาศาสตร์สีขาว แว่นตาสไตล์นักวิจัย หลอดทดลอง ถูกสร้างขึ้นเป็นคอนเซ็ปต์ของงานเปิดตัวนวัตกรรมทางการเงินใหม่ ที่เรียกกันว่า “เงินฝากประจำถอนได้” ของซิตี้แบงก์
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2549)