“เอเซอร์” ขอลุย “อัลตร้าบุ๊ก” ก่อนใคร
“เอเซอร์” เป็น 1 ในแบรนด์คอมพิวเตอร์มากกว่า 10 แบรนด์ที่พร้อมลุยกับ “อินเทล” ในการทำตลาด “อัลตร้าบุ๊ก” และคาดหวังการเติบโตของ “อัลตร้าบุ๊ก” ในไทยไม่น้อย แต่งานนี้ “เอเซอร์” ขอเปิดตัวเป็นคนแรก
(Positioning Magazine 10 มกราคม 2555)
อยากได้วัยจี๊ด Fan Meet กรี๊ด เกาหลี ยังได้ผล
แฟนๆ ที่กรี๊ดนักร้องเกาหลีอยู่อาจมีเคือง ที่กระแสเทไปที่ ”ณเดชน์” และดาราหน้าใหม่ๆ กันหมด แต่นักร้องเกาหลีก็ยังมีที่ว่างในใจของแฟนๆ กลุ่มหนึ่งที่เป็นวัยรุ่นตั้งแต่มัธยมต้นหรือวัย Teen ที่อยาก Fan meet ศิลปินที่ตัวเองรักให้ได้ จึงเป็นทางเลือกสำหรับแบรนด์ที่อยากฉีกกระแส สร้างความต่างในการใช้พรีเซ็นเตอร์
(Positioning Magazine 8 เมษายน 2554)
ชเว ซีวอน ปลุกชีพ ACER
ทำเอาเซ็นทรัล เวิล์ดแทบแตก เมื่อแฟนคลับของนักร้องหนุ่ม ชเว ซีวอน แห่งวงซุปเปอร์จูเนียร์ มารอต้อนรับการเปิดตัวเป็นพรีเซนเตอร์ให้กับเอเซอร์
(Positioning Magazine 25 มีนาคม 2554)
บทเรียนนี้ “เอเซอร์” พร้อมเปิดเกมอีกครั้ง
บางครั้ง ”สินค้า” สักตัวเมื่อลงไปในตลาดแล้วไม่สำเร็จในแง่ยอดขาย แต่สิ่งที่ได้คือ ”บทเรียน” ที่มีค่าเมื่อต้องการกลับมาใหม่ เหมือนอย่างที่ ”เอเซอร์” ซึมซับเต็มๆ กับ ”สมาร์ทโฟน” ผ่านไปเกือบปีหลังการเปิดตัวสมาร์ทโฟนครั้งแรกเมื่อกลางปี 2009 ”เอเซอร์” กลับมาอีกครั้งเมื่อเดือนมิถุนายน 2010 ที่ปรับเปลี่ยนหลายอย่าง ตั้งแต่หน้าตาของโปรดักต์ ระบบปฎิบัติการ (Operating System : OS)
(Positioning Magazine กรกฎาคม 2553)
บางไม่พอ ...ต้องนานกว่า
เพราะผู้บริโภคยุคใหม่ต้องการอะไรที่ดีกว่าอย่างไม่มีลิมิต แถมยังเบื่อง่าย และรูปลักษณ์ต้องดูดี ขณะที่ตลาดมีทางเลือกมากยิ่งขึ้น อาการนี้จึงทำให้แบรนด์ “เอเซอร์” ต้องหันมาปรับตัวอีกระลอก ด้วยกลยุทธ์ชูจุดขาย บางเบา เรียบหรู และแบตนาน เพื่อเพิ่มพลังแข่งขันในตลาดโน้ตบุ๊กเวลานี้
(Positioning Magazine มิถุนายน 2553)
“เกตเวย์” ประตูสู่ “พรีเมียม”
เมื่อแบรนด์ขายสินค้าอยู่ในตลาดระดับกลางมาโดยตลอด แม้จะพยายามแล้วพยายามเล่าแต่ก็ไม่สามารถสร้างภาพลักษณ์สินค้าให้ดูพรีเมียมเพื่อจับกลุ่มไฮเอนด์ได้ ในที่สุดก็ต้องสร้างแบรนด์ใหม่ และพยายามฉีกตัวเองออกให้พ้นอย่างเช่นที่ “เอเซอร์” พยายามครั้งใหม่กับคอมพิวเตอร์พรีเมียมภายใต้แบรนด์ “เกตเวย์”
(Positioning Magazine กรกฎาคม 2552)
สมรภูมิโน้ตบุ๊กเล็กที่ไม่เล็กอย่างที่คิด
จะเป็น เน็ตบุ๊ก อีพีซี หรือ โลว์คอสโน้ตบุ๊ก จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ หากแต่คอมพิวเตอร์ตัวเล็กๆ บางเบา เล็กสะใจ แถมมีราคาถูก ทำลายคำว่า “ยิ่งเล็ก ยิ่งแพง” ได้กลายสุดยอดแห่งความเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมโน้ตบุ๊กในศตวรรษนี้ และเป็นสงครามครั้งใหม่ที่ยิ่งใหญ่กว่าเก่า
(Positioning Magazine กันยายน 2551)
ยิ่งเล็กยิ่งโต
เทรนด์ของคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กยุคนี้ ยิ่งเล็กยิ่งโดนใจ ที่สำคัญราคาต้องเล็กตามไปด้วย ต่างจากสมัยก่อน ใครที่อยากได้โน้ตบุ๊กสำหรับพกพาสักเครื่องที่น้ำหนักบวกลบ 1 กิโลกรัมไม่เกิน 1-2 ขีด จะต้องควักกระเป๋าจ่ายกันเป็นแสน
(Positioning Magazine กรกฎาคม 2551)
โน้ตบุ๊กออกลาย
โน้ตบุ๊กยุคนี้แข่งกันแค่สเปกและราคาอย่างเดียวไม่ได้แล้ว แต่ต้องประชันโฉมด้วยสีสันและวาดลวดลายฉูดฉาดจี๊ดจ๊าดดึงดูดคนให้เหลียวหลังกลับมามอง เพราะเป็นหนึ่งใน "แฟชั่นไฮเทค” บ่งบอกตัวตนว่า "คุณคือใคร"
(Positioning Magazine เมษายน 2551)
เอชพี ปะทะ เอเซอร์
เทรนด์การใช้โน้ตบุ๊กนั้นเป็นอีกหนึ่งกระแสที่มาจากอิทธิพลความต้องการแบบ “Mobility” ของผู้บริโภค ในขณะที่แนวโน้มตลาด Desktop มีอัตราลดลงเรื่อยๆ ปี2550 จึงมีการคาดการณ์ว่า ณ สิ้นปี ยอดการจำหน่ายโน้ตบุ๊กจะมีตัวเลขถึง 650,000 เครื่อง
(Positioning Magazine มิถุนายน 2550)