มาม่า…ร้องเพลงภาษาวัยรุ่น
มาม่าอยู่มา 40 ปี ใช้มาแทบจะหมดทุกกลยุทธ์แล้ว แม้มาม่าจะเป็นอาหารสำหรับทุกเพศทุกวัย แต่ครั้งนี้ต้องการสื่อสารกับกลุ่มวัยรุ่นมากขึ้น จึงเป็นที่มาของแคมเปญมาม่า My Favorite เพื่อตอกย้ำแบรนด์มาม่าว่าเป็นแบรนด์ที่สดใสเหมือนเดอะสตาร์ และเป็นแบรนด์ที่นำความสุขมาให้กับทุกคน และการทำ Music Marketing
(Positioning Magazine 17 ตุลาคม 2554)
เกาเหลามาม่า อร่อย
สายตาของนายห้างเทียม โชควัฒนา ที่มองดูเพ็ญนภา ธนสารศิลป์ เมื่อปี 2524 คงมองเห็นความสามารถของเธออย่างชัดเจน เพราะบุคคลที่นายห้างเทียมเลือก พิสูจน์ให้เห็นในเวลาต่อมาแล้วว่าสามารถทำงานได้อย่างดี และประสบความสำเร็จ
(Positioning Magazine 10 กรกฎาคม 2554)
มาม่า ราเมง บะหมี่ชามน้อย กลางกระแสบะหมี่นอก
มาม่า ราเมง มี 2 รสชาติคือ รสออริจินัล และรสเป็ด จำหน่ายราคาซองละ 15 บาท วัตถุดิบและกรรมวิธีการผลิตที่แตกต่างด้วยการอบในห้องสุญญากาศ นอกจากจะรับกระแสสุขภาพแล้วยังช่วยลดต้นทุนการผลิต เพราะไม่ต้องใช้น้ำมันปาล์มอีกด้วย
(Positioning Magazine 10 กรกฎาคม 2554)
มาม่า ถึงเวลาเขย่าซอง ก่อนหมดอายุ
การขึ้นเป็นหมายเลข 1 ของตลาดบะหมี่สำเร็จอย่าง มาม่า ไม่ได้มาด้วยโชคช่วย แต่เป็นการทำงานหนักตลอดหลายสิบปี จากทีมงานทุกๆ ฝ่าย เมื่อขึ้นเป็นที่หนึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าจะอยู่แถวหน้าอย่างสบายอกสบายใจ ถ้าขึ้นเป็นที่หนึ่งว่ายากแล้ว แต่การครองตำแหน่งกลับยากกว่า
(Positioning Magazine 10 กรกฎาคม 2554)
หมูสับ... เรื่องหมูๆ ของ ไวไว vs มาม่า ที่ไม่หมู
รสชาติก็เดิมๆ แมสเสจก็ไม่เปลี่ยน แต่กลับเป็นโอกาสให้กับ ไวไว ใช้เปิดศึกกับมาม่า กลายเป็นจุดเปลี่ยนให้กับตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปส่วนใหญ่ เปลี่ยนจากเดิมที่มักจะพัฒนารสชาติผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่เป็นตัวช่วยสร้างสีสัน กระตุ้นความต้องการบริโภค มาสู่การแข่งขันในตลาด รส “หมูสับ”
(Positioning Magazine ตุลาคม 2553)
จับตา “เบอร์ลี่ยุคเกอร์” เจ้าของ คาร์ฟูร์ รายต่อไป ?
เมื่อกลุ่มทุนค้าปลีกจากฝรั่งเศสเกิดอาการถอดใจ จึงประกาศขายกิจการ “คาร์ฟูร์” ทั้งในไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ให้กับผู้ที่สนใจ ซึ่งเบอร์ลี่ยุคเกอร์เป็น 1 ในกลุ่มทุนที่ได้รับการติดต่อให้เข้าร่วมประมูลในครั้งนี้ โดยทางบีเจซีเปิดเผยว่า กำลังมองธุรกิจปลายน้ำแบบค้าปลีก เพื่อเข้ามาเติมเต็มธุรกิจให้สมบูรณ์มากขึ้น
(Positioning Magazine สิงหาคม 2553)
Big change สหพัฒน์
เป็นธรรมเนียมที่ “บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา” ประธานเครือสหพัฒน์ จะออกมาให้สัมภาษณ์สื่อเพียงในช่วงการจัดงานสหกรุ๊ป เอ็กซ์ปอร์ตฯ ที่ปีนี้จัดขึ้นติดต่อกันเป็นปีที่ 13 ส่งผลให้คำพูดของเขาเป็นที่จับตามอง ด้วยประสบการณ์ที่ช่ำชองจากธุรกิจหลากหลายประเภท ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าทุกกลุ่ม
(Positioning Magazine มิถุนายน 2552)
วอร์รูม – ต้องอึด คัมภีร์ “สหพัฒน์ฯ” ฝ่ามรสุม
ไม่ว่าบริษัทคุณจะบิ๊กแค่ไหนก็ไม่อาจนิ่งเฉยในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจที่ทรุดทั่วโลกขณะนี้ กรณีศึกษาจากการบอกเล่าของ “บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา” ประธานกรรมการของบริษัทสหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ย้ำให้เห็นชัดว่าทุกคนต้องตื่นตัวและรับมือ เพราะวันนี้ที่สหพัฒนฯ มีทั้ง “วอร์รูม Obeya” เพื่อติดตามภาวะเศรษฐกิจโลก และแกะทุกรายละเอียดของธุรกิจในเครือเพื่อป้องกันยอดขายหลุดร่วง และแก้ไขสถานการณ์ได้ทันท่วงที
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2551)
คนมากขึ้น แต่ขายน้อยลง
“เสี่ยใหญ่” บุญสิทธิ์ โชควัฒนา ที่นานทีปีหนจะออกโรงให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ปีนี้เบิล 2 ครั้งในเดือนมิถุนายนเดือนเดียว (ครั้งแรกงานแถลงข่าวว่าจะมีงานสหกรุ๊ปฯ ครั้งที่ 12 และครั้งสอง คือวันเปิดงาน) ส่วนใหญ่จะเป็นการคอมเมนต์ถึงภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ที่เสี่ยใหญ่เปรียบเทียบให้เห็นภาพว่า เหมือนเดินถอยหลังแต่มีคนขับ ขณะที่ปีที่แล้วไม่มีคนขับ
(Positioning Magazine กรกฎาคม 2551)
S Channel ทางออกของสหพัฒน์
สหพัฒน์ถือเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าอุปโภค บริโภคที่ใหญ่ที่สุดของไทยซึ่งต่อกรกับยักษ์ใหญ่ อินเตอร์อย่างยูนิลีเวอร์ พีแอนด์จี และคาโอ คอมเมอร์เชียล มาเนิ่นนานหลายยุคหลายสมัย นอกจากนี้ยังมีธุรกิจแฟชั่นและอสังหาริมทรัพย์อีกด้วย
(Positioning Magazine เมษายน 2551)