เมื่อ KFC Thailand ไม่ so good
กลายเป็นบทเรียนสำคัญของผู้ดูแลเฟซบุ๊กแบรนด์เพจทั้งหลายอีกครั้ง กับกรณีของ KFC Thailand ที่โพสต์ข้อความขายของ โดยรู้ไม่เท่าทันความเป็นไปของสังคม จนต้องเงียบหายไป แม้สถานการณ์คลี่คลายแล้ว แต่ก็ยังขายของใหม่ไม่ได้อีกหลายวัน
(Positioning Magazine 15 เมษายน 2555)
บลูโอเชียนของพิซซ่าฮัท
คาดหวังให้เซอร์ไพรส์เต็มที่กับหมายกำหนดการแถลงข่าวเปิดตัวพาสต้าแบรนด์ใหม่โดยไม่ระบุชื่อแบรนด์ ชื่อบริษัท และชื่อผู้บริหาร เพียงแต่กำหนดสถานที่แถลงข่าว เป็นร้านออเรนเจอรี่ ชั้น 4สยามพารากอนเท่านั้น เพื่อสร้างความรู้สึกเหนือความคาดหมาย อันเป็นกลยุทธ์ที่ใช้ในการเปิดตัว "พาสต้า เพอร์เฟคโต้" (Pasta Perfetto) ของพิซซ่า ฮัท มาแล้วทั่วโลก
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2553)
Big change พิซซ่าฮัท...ในวันไร้เซ็นทรัล
พิซซ่าฮัท เดินมาถึง “จุดเปลี่ยน” ครั้งสำคัญ เมื่อ “ซีอาร์จี” ตัดสินใจสิ้นสุดเป็นมาสเตอร์แฟรนไชส์ที่มีมา 8 ปีเต็มต้องยุติลง ส่งผลให้สาขาร้านพิซซ่าฮัททั้งในและนอกห้างเซ็นทรัลหายไปรวดเดียว 25 สาขา ถึงเวลาแล้วหรือไม่ ยัม เรสเทอรองตส์ ต้องทบทวน โมเดลบริหารแบรนด์ และช่องทางขายใหม่
(Positioning Magazine กรกฎาคม 2552)
พิซซ่าฮัท ต้องมีเมนู “ข้าว”
เมื่อเมนูพิซซ่าไม่ได้ตอบโจทย์เรื่องความถี่ในการเข้าร้าน หรือความถี่ในการสั่งอาหารผ่านทาง Delivery การออก Side Dish หลากเมนู จึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังไม่เพียงพอ แล้วอะไรล่ะคือสิ่งที่คนไทยกินอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ไม่ใช่เดือนละครั้งเหมือนพิซซ่า คำตอบสุดแสนจะธรรมดาคือ “ข้าว”
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2552)
เดอะ พิซซ่า คอมปะนี vs พิซซ่า ฮัท ชัยชนะเหนือเบอร์ 1 โลก
จุดเปลี่ยนของตลาดพิซซ่าเมืองไทยเกิดขึ้นในปี 2544 เนื่องจากสงครามแตกหักทางธุรกิจ “เพื่อนรักหักเหลี่ยมโหด” ระหว่างวิลเลียม อี.ไฮเนคกี้ และไทรคอน โกลบอล เรสเทอรองตส์ (ชื่อในขณะนั้นของยัม แบรนด์ อิงค์) เพราะไทรคอนฯ ต้องการดึง “พิซซ่า ฮัท” กลับมาทำเอง จึงเกิดการฟ้องร้อง สุดท้ายทำให้ไฮเนคกี้จำใจสะบั้นสัมพันธ์ หันมาสร้างแบรนด์ “เดอะ พิซซ่า คอมปะนี” ของตัวเอง และสร้างปรากฏการณ์ฮือฮาปลดป้ายเก่า ขึ้นป้ายใหม่ 80 สาขาเพียงชั่วข้ามคืน เพราะสาขาที่มีอยู่ถือเป็นทรัพย์สินของเดอะไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2551)
“อยู่นานๆ ได้ไหม” กลยุทธ์ดีไซน์ร้านจากฟาสต์ฟู้ดสู่ภัตตาคารของ “พิซซ่า ฮัท”
การปรับปรุงร้านเวลานี้ ไม่ใช่เพื่อความสวยงามเพียงอย่างเดียว แต่ยังหมายถึงการวางตำแหน่งทางการตลาดใหม่ เช่นกรณีของ “พิซซ่า ฮัท” ที่ตัดสินใจเปลี่ยนโฉมสาขาเอสเอฟ ซีนีม่า ชั้น 7 มาบุญครอง ก็เพื่อขยับจากฟาสต์ฟู้ดไปสู่ความเป็นภัตตาคาร พิซซ่า ฮัท เชื่อว่า ด้วยบรรยากาศที่ผ่อนคลายและงดงาม จะทำให้ลูกค้าใช้เวลาและใช้จ่ายเงินมากขึ้น
(Positioning Magazine มีนาคม 2551)
ศรัณย์ สมุทรโคจร เอ็มดีใหม่ ยัมส์
ในช่วงระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี บริษัท ยัม เรสท์รองต์ส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจ KFC และ PIZZA HUT มีกรรมการผู้จัดการใหญ่แล้วถึง 3 คน นับจากปณิธาน เศรษฐบุตร โจเซฟ ฮาน และล่าสุด ศรัณย์ สมุทรโคจร ลูกหม้อคนหนึ่งของยัมส์ เข้ารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ เมื่อธันวาคม 2549 ที่ผ่านมา
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2550)
เกมร้อน “พิซซ่า”
หลังสะบั้นสัมพันธ์กันแบบไม่เหลือใยเมื่อเกือบ 6 ปีที่ผ่านมา ระหว่างยัม เรสเทอรองส์ เจ้าของแบรนด์ PIZZA HUT กับเครือไมเนอร์ ที่เดินเกมแยกทางจากกันแบบบัวช้ำน้ำขุ่น พร้อมสร้างปรากฏการณ์ กำเนิดแบรนด์ The PIZZA Company วันเดียว 80 สาขา และครองความเป็นผู้นำตลาดพิซซ่าเมืองไทยเพียงชั่วข้ามคืน ครั้งนั้นเสมือนเป็นศึกพิซซ่าที่สร้างดีกรีความร้อนแรง เป็นข่าวฮอตการตลาดที่เด่นเปรี้ยงกว่าข่าวใด มาถึงครั้งนี้เกมรบตลาดพิซซ่ามูลค่ากว่า 3,000 ล้านบาท ถูกเปิดฉากขึ้นอีกครั้งโดย PIZZA HUT
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2549)
พิซซ่าท้าลองสี่เหลี่ยมสี่หน้า
แบ่งความสุขกันถ้วนหน้าไม่เหมือนใคร เมื่อพิซซ่า ฮัท ส่งพิซซ่านวัตกรรมใหม่ทรงสี่เหลี่ยม สี่หน้าในถาดเดียว ภายใต้ชื่อ “วัน-ฟอร์-แชร์ พิซซ่า “มาสร้างความโดดเด่นเหนือคู่แข่ง ซึ่งภายในงานเปิดตัวรูปลักษณ์ใหม่ของพิซซ่า ปณิธาน เศรษฐบุตร กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ยัมเรสเทอรองสต์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด
(Positioning Magazine สิงหาคม 2548)