ทุกทางตันมีทางออก ทุกตลาดมีช่องว่าง
ท่ามกลางการแข่งขันทางธุรกิจที่ทุกแบรนด์ต่างก็พยายามเพิ่มและรักษาส่วนแบ่งการตลาดของตัวเอง จนกลายเป็นว่าทั้งตลาดมีแบรนด์ใหญ่ที่แทบจะยึดมาร์เก็ตแชร์ไปจนหมด แต่สำหรับ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลับเชื่อว่า “ทุกทางตันมีทางออกอยู่เสมอ” เหมือนกับคำกล่าว “There must be light at the end of tunnel”
(Positioning Magazine 13 กันยายน 2554)
เบื้องหลัง หมู ฉึก!ฉึก! เรื่องบังเอิญ แต่คิดมาดี
ภาพของเด็กสาวตัวเล็กหน้าตาน่ารักกับเสียงเจื้อยแจ้ว “หมู ฉึก!ฉึก!, ไก่ ฉึก!ฉึก!” แบบไม่ชัดถ้อยชัดคำ ทำให้เพียงแค่แรกเห็น TVC ชุด Answer ของรสดี ก็จดจำได้ทั้งคำโดนๆ ตัวแสดงและแบรนด์รสดี จัดเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ
(Positioning Magazine ตุลาคม 2553)
ขอแค่ 1%
แม้ปีนี้เบอร์ดี้ได้ทุ่มงบการตลาดมากถึง 680 ล้านบาท ซึ่งสูงสุดนับตั้งแต่เบอร์ดี้ออกสู่ตลาดซึ่งมีระยะเวลานานถึง 17 ปี แต่ พิเชียร คูสมิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งในวันงานแถลงข่าวถึงกับลงทุนสลัดเสื้อเชิ้ตพร้อมเนกไท หันมาสวมเสื้อคอวีสีฟ้า และไม่ลืมเพิ่มความเท่ด้วยแว่นตากันแดด เพื่อให้เข้ากับภาพลักษณ์ใหม่ของแบรนด์เบอร์ดี้ที่ต้องดูโฉบเฉี่ยว โดยได้แสดงความเชื่อมั่นว่า จะขอส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นอีกเพียง 1%เท่านั้น
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2553)
ถอดรหัส...อูมามิ จุดเปลี่ยนอายิโนะโมะโต๊ะ
เปิดCase Studyครั้งสำคัญของ “อายิโนะโมะโต๊ะ” แบรนด์เคยสร้างตำนาน “ผงชูรส” จนกลายเป็น Generic Nameอันคุ้นหู กำลังเผชิญ “จุดเปลี่ยน” ครั้งสำคัญ เป็นผลมาจากพฤติกรรมของผู้บริโภคลดการใช้ผงชูรส จนต้องปั้นคำว่า “ อูมามิ” เพื่อสร้างความจดจำแทนที่ อายิโนะโมะโต๊ะ
(Positioning Magazine เมษายน 2553)
รสดีต้องเร่งอีก
ในความเป็นผู้นำตลาดมานาน รสดีใช้โอกาสครบรอบ 30 ปี ตอกย้ำจุดแข็งของแบรนด์ด้วย Loyalty Program ต่างๆ หวังเพิ่มส่วนแบ่งตลาดให้เป็น 64% จับจุดผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกสบายต้องการความรวดเร็วในการเข้าครัวมากขึ้น โดยมุ่งขยายฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ที่ทันสมัยด้วยการรีแพ็กเกจจิ้งให้ดูสดใสและเด็กลง
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2552)
คาลพิส แลคโตะ ขอเกิดแบบเปรี้ยวๆ
อายิโนะโมโต๊ะ (ประเทศไทย) กำลังเอาจริงเอาจังกับธุรกิจเครื่องดื่มเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเครื่องดื่มรูปแบบใหม่ นำโดย ฟิต ซีรี่ย์ ภายใต้แบรนด์คาลพิส ซึ่งออกสู่ตลาดเมื่อปี 2551 ที่ผ่านมา ต่อเนื่องด้วยผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุด คาลพิส แลคโตะ (CALPIS Lacto) ที่หวังปักธงให้เป็นเครื่องดื่มยอดนิยมของกลุ่มวัยรุ่นไทย หลังเบอร์ดี้ประสบความสำเร็จยืนพื้นเป็นผู้นำตลาดกาแฟกระป๋องสำเร็จรูปได้อย่างมั่นคง
(Positioning Magazine เมษายน 2552)
เบอร์ดี้...ขอไม่เข้ม
รั้งอยู่ในตำแหน่งผู้นำมายาวนาน มีส่วนแบ่งตลาดกาแฟกระป๋อง กว่า 70% “เบอร์ดี้” ยังต้องแสวงหาโอกาสทางการตลาดใหม่ๆ แต่ผลที่ได้รับกลับ “ไม่เวิร์ค” เท่าที่ควร การหวนคืนสู่จุดแข็ง “เบอร์ดี้” ต้นตำรับ ซึ่งมีรสชาติโรบัสต้าเพียงรสชาติเดียว แต่สร้างยอดขายกว่า 80-90% จึงดูจะเป็นการง่ายกว่า
(Positioning Magazine กันยายน 2550)