เอไอเอสโรมมิ่งด้วยซิมฝั่งโขง
ซิมฝั่งโขง จับกลุ่มลูกค้าที่เดินทางไปลาวและกัมพูชาประจำ ร่วมมือกับโอเปอเรเตอร์ทั้งสองประเทศคือ ลาวเทเลคอม และเอ็มโฟน กัมพูชา ที่ชินคอร์ปอเรชั่น บริษัทแม่ของเอไอเอสถือหุ้นอยู่ด้วย เชื่อมโยงสัญญาณกัน โดยคิดค่าโทรนาทีละ 6 บาท
(Positioning Magazine กันยายน 2553)
ลูกค้าพม่ามาแว้ว
พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของคนพม่าไม่ต่างไปจากลูกค้าทั่วไป ใช้ซิมพรีเพดใช้งาน และมักจะซื้อซิมที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น คนพม่าเขาพูดและฟังภาษาไทยรู้เรื่อง แต่มีข้อจำกัดในเรื่องอ่านภาษาไทยไม่ออก ดังนั้นสิ่งที่จะอำนวยความสะดวกได้คือ ภาษาพม่า บอกรายละเอียดโปรโมชั่นต่างๆ
(Positioning Magazine กันยายน 2553)
แชตซิมสนั่นสนามมือถือ
ไม่ต้องถอยแบล็คเบอร์รี่ หรือลงทุนซื้อสมาร์ทโฟนหลักหมื่น แต่มือถือราคาถูกแค่หลักพันต้นๆ กับค่าบริการวันละ 2 บาท 50 สตางค์ ก็สามารถกดแชตกับเพื่อนที่ออนไลน์ เข้าเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ได้ตามกระแส ความต้องการที่มีอยู่นี้คือโอกาสทางการตลาดอีกครั้งสำหรับเอไอเอส และแจ้งเกิดกับ “แชตซิม”
(Positioning Magazine กันยายน 2553)
ช๊อปซิมที่เทสโก้ โลตัส
เมื่อการทำตลาดกับกลุ่มเป้าหมายหลักสำหรับ “วัน-ทู-คอล” เริ่มถึงจุดอิ่มตัว การขยายกลุ่มเป้าหมายใหม่จึงเป็นกลยุทธ์สำคัญในปีนี้ ด้วยความสัมพันธ์ที่มีอย่างต่อเนื่องกับดิสเคาท์สโตร์รายใหญ่อย่างเทสโก้ โลตัส จึงเกิดไอเดียแบ่ง Segment SIM เพื่อลูกค้ากลุ่มนี้โดยเฉพาะ
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2553)
ขอเล่นสนามต่างจังหวัด
ใครจะไปเล่นฟุตบอลในสนามใหญ่ระดับประเทศอย่าง “ไทยพรีเมียร์ลีก” กันมากแค่ไหนก็ตาม แต่สำหรับ “เอไอเอส” ไม่สน เพราะวันนี้ขอเลือกยิงลูก ทำประตูไปกับสนามเล็กๆ อย่าง “ลีกภูมิภาค หรือฟุตบอลดิวิชั่น 2” ก่อน เพราะเกมนี้ “เอไอเอส” เชื่อว่าคน 1 ล้านคนจะจดจำ “เอไอเอส” ได้ง่ายกว่า ไปเล่นปนกับแบรนด์อื่นที่ต่างแข่งกันเป็น “ศูนย์หน้า” ในไทยพรีเมียร์ลีก
(Positioning Magazine เมษายน 2553)
The Game Changer
ความแรงของ “ไอโฟน” ทำให้แอปเปิลสามารถต่อรองกับผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือทั่วโลกในการรับภาระค่าเครื่องบางส่วน แลกกับผูกแพ็กเกจที่ลูกค้าต้องใช้บริการระยะหนึ่ง “ไอโฟน” จึงกลายเป็น “อาวุธหลัก” และเป็น “ผู้เปลี่ยนเกม” ของค่ายมือถือที่ต้องการบุกตลาด Non voice หรือบริการสื่อสารข้อมูล รวมไปถึงการทำให้ค่ายมือถือมองเห็นโอกาส และขยายแนวรุกมากขึ้น ด้วยการมองหาพันธมิตรแบรนด์สมาร์ทโฟนต่างๆ มาจัดแพ็กเกจพิเศษให้ลูกค้า เพื่อทดแทนตลาดโทรศัพท์มือถือที่เริ่มอิ่มตัว นี่คือจังหวะสำคัญที่ไอโฟนกำลังเป็นผู้ผลิกเกมในตลาดโทรศัพท์มือถือในอนาคต
(Positioning Magazine เมษายน 2553)
บิ๊กมูฟของ 3 บิ๊กมือถือ
ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ เอไอเอส ดีแทค ทรูมูฟ กำลังเปิดศึกอีกหนึ่งสนามคือ “สมาร์ทโฟน” จนStrategic move ล่าสุดของ 3 ค่ายน่าจับตา เริ่มจากทรูมูฟเพิ่งเซ็นสัญญาขายโมโตโรล่ารุ่นไฮเอนด์ทุกรุ่นที่ใช้แอนดรอยด์ ส่วน “ดีแทค” ที่เพิ่งขาย “แบล็คเบอร์รี่ หรือ บีบี” ได้เดือนเดียว ก็เซ็นสัญญากับแอปเปิล เพื่อขาย “ไอโฟน” ในที่สุด และ “เอไอเอส” ก็เต็มที่ยิ่งขึ้นกับ “แบล็คเบอร์รี่” และยังไม่ทิ้งการเจรจากับ “ไอโฟน”
(Positioning Magazine มีนาคม 2553)
ระบบนิเวศของเอไอเอส
นับตั้งแต่ปี 2549 ที่เอไอเอสจัดงานใหญ่แถลงวิสัยทัศน์ประจำปีที่โรงละครนิรมิตร จากนั้นเอไอเอสก็เว้นวรรคจากการจัดแถลงข่าวขนาดใหญ่เต็มรูปแบบไปถึง 3 ปี กลับมาคราวนี้เอไอเอสยึดพื้นที่ชั้น 22 และ23 ของโรงแรมเซนทาราแกรนด์ เซ็นทรัลเวิลด์ เพื่อรองรับพันธมิตรทางธุรกิจถึง 1,300 ราย ที่เดินทางมาฟังกลยุทธ์ของเอไอเอสในปีนี้โดยเฉพาะ
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2553)
ขอ Chat ด้วยคน
เมื่อ Social Network อย่าง Facebook และ Twitter กำลังเป็นที่นิยม ตัวเลขผู้ใช้ Facebook ในไทยทะลุไปแล้วถึง 1.7 ล้านคน ส่วน Twitter ก็มีผู้ใช้อย่างต่ำ 1 แสนคนขึ้นไป และส่วนใหญ่มักจะ “ทวิต" และ “เมนต์” ผ่านโทรศัพท์มือถือแบบทุกที่ทุกเวลา มือถือที่มีคุณสมบัติเหมาะกับการใช้งานในลักษณะนี้ก็ต้องเป็น “สมาร์ทโฟน” เพราะเหมาะกับการสื่อสารข้อมูล
(Positioning Magazine มกราคม 2553)
สปีดแรง ไลฟ์สไตล์เปลี่ยน ธุรกิจเกิด
3G ทำให้ไลฟ์สไตล์ของคนเปลี่ยนแปลง และจะนำมาซึ่งธุรกิจใหม่ นี่คือเหตุผลที่จุดประกายให้ธุรกิจทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ธุรกิจแบบซีเรียส และธุรกิจบันเทิง ต่างเร่งชิงพื้นที่ทำเลทองที่จะเกิดขึ้น เมื่อสปีดของการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายไร้สายเร็วขึ้น
(Positioning Magazine ธันวาคม 2552)