ทุกทางตันมีทางออก ทุกตลาดมีช่องว่าง
ท่ามกลางการแข่งขันทางธุรกิจที่ทุกแบรนด์ต่างก็พยายามเพิ่มและรักษาส่วนแบ่งการตลาดของตัวเอง จนกลายเป็นว่าทั้งตลาดมีแบรนด์ใหญ่ที่แทบจะยึดมาร์เก็ตแชร์ไปจนหมด แต่สำหรับ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลับเชื่อว่า “ทุกทางตันมีทางออกอยู่เสมอ” เหมือนกับคำกล่าว “There must be light at the end of tunnel”
(Positioning Magazine 13 กันยายน 2554)
สุกี้หมื่นล้าน
เอ็มเค เปิดเผยผลประกอบการอันน่าตื่นตาตื่นใจจากการทำธุรกิจมาตลอดระยะเวลา 20 กว่าปี ด้วยยอดขายปีที่ผ่านมา 8,800 ล้านบาท และในปีนี้จะปิดยอดขายที่ 9,000 ล้านบาท นับเป็นตัวเลขที่ใหญ่พอๆ กับตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคบางเซ็กเมนต์เลยทีเดียว และเป็นการตอกย้ำว่า เอ็มเคเป็นเชนร้านอาหาร แบรนด์ไทยที่ใหญ่ที่สุดอีกด้วย และอีกภายใน 2 ปี ยอดขายของเอ็มเคจะทะยานขึ้นสู่หลักหมื่นล้านบาท หากยอดขายเป็นไปตามเป้าที่ต้องการโตต่อเนื่องปีละ 8-10%
(Positioning Magazine ตุลาคม 2552)
ฮอทฮิต เกมออนไลน์ เทรนด์โฆษณาใหม่มาแล้ว
ในโลกเสมือนจริง สาวนักเต้นในเกมออนไลน์ “ออดิชั่น” สามารถเลือกแดนซ์บน Stage ที่มีโลโก้ “เอ็มเค สุกี้” ประทับอยู่ทั่วไป หากยังไม่จุใจยังมีเพลงโฆษณา “เอ็มเค”ให้แดนซ์ได้อีก...อีกด้านหนึ่งในโลกที่เป็นจริง พนักงานเสิร์ฟในร้านเอ็มเคสุกี้ เลือกเพลงในเกมออดิชั่น มาใช้ประกอบท่าเต้นให้ลูกค้าที่มากินสุกี้ได้เพลิดเพลินกับบริการเหนือความคาดหมายเหล่านี้มาแล้ว
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2552)
โมเดลวิน-วิน MK- Asia Soft
ร้านสุกี้ยักษ์ใหญ่อย่างเอ็มเค (MK) และเกมออนไลน์ออดิชั่น (AU) ในเครือเอเชียซอฟท์ เดินหมากแลกฐานตลาดกันอย่างคึกคัก ลูกค้าเอ็มเคกินครบ 600 บาทได้แถมแผ่นเกมเต้นและไอเท็มไปทดลองเล่น ขณะที่ลูกค้าร้านเน็ต @cafe ของเอเชียซอฟท์จะได้รับบัตรกำนัลไปกินผักที่เอ็มเค
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2552)
DNA of KAIZEN โมเดลฝ่าวิกฤตด้วยดีไซน์สไตล์ MK
ในขณะที่ผู้บริหารหลายๆ คน นั่งกุมขมับเมื่อต้องเผชิญกับคำถามที่ว่า จะรับมือกับสึนามิทางเศรษฐกิจรอบนี้อย่างไร แต่ชายคนหนึ่งกลับยิ้มร่า แล้วตอบคำถามอย่างอารมณ์ดีว่า เขาแทบไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติมจากที่เคยทำ...ชายผู้นั้นคือ ฤทธิ์ ธีระโกเมน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ็มเค สุกี้ จำกัด เจ้าพ่อแห่งวงการสุกี้ไทย
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2551)
มิตรภาพบนโต๊ะสุกี้
เอ็มเค สุกี้ (หรือ MK Restaurant) มีโฆษณาทางโทรทัศน์ที่โดดเด่นเสมอไม่ขาดในแต่ละปี ปีนี้ก็โผล่มากับทีเด็ดที่หากพลาดเอ่ยถึง ก็ดูเหมือนจะใจไม้ไส้ระกำมากเกินไป
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2551)
พ่อสื่อ แม่ชัก การตลาดมัดใจ MK สุกี้
“พ่อสื่อ แม่ชัก” เป็นข้อสรุป ที่ “ฤทธิ์ ธีระโกเมน” ให้ไว้ในการสร้างแบรนด์ เอ็มเคสุกี้ จนกลายเป็นแบรนด์ที่โดนใจลูกค้ามากที่สุด ความหมายของ ฤทธิ์ ก็คือ การชักนำคน 2 สอง ชายและหญิงให้มาเจอกัน และรักกัน เปรียบได้กับผู้ประกอบการ และลูกค้า ที่ต้องชักนำให้มาเจอกัน มีสินค้าที่สอดคล้องและตรงกับความต้องการทั้ง 2 ฝ่าย ถ้าสินค้าไม่ตรงกัน แสดงว่าเราชักนำ 2 ฝ่ายมาเจอกัน แต่ก็ไม่ได้รักกัน ซึ่งวันหนึ่งข้างหน้าก็ต้องเลิกกัน
(Positioning Magazine ธันวาคม 2549)
ตัด ต่อ เติม เสริมพลัง”แบรนด์”
“ชื่อ” หรือ”แบรนด์” คือด่านแรกที่จะผลักดันให้สินค้า หรือบริการนั้นๆ ไปไกลแค่ไหน “แบรนด์" หนึ่งอาจเหมาะสมในช่วงเวลาหนึ่ง แต่เมื่อเวลาผ่านไป อาจไม่ดีพอ และถึงเวลาต้องเปลี่ยน ตัด หรือเติมชื่อเพิ่มเข้าไป หรือเพียงแค่การปรับเปลี่ยนโลโก้ของสินค้าก็ถือว่าจำเป็นต้องทำ เพราะไม่เช่นนั้น ไม่เพียงแต่สะท้อนให้เห็นถึงความเชยของแบรนด์เท่านั้น แต่นั่นหมายถึงการนับถอยหลังของบริษัทนั้น ๆ กันเลย
(Positioning Magazine มิถุนายน 2549)
MK สุกี้ โตแล้วแตก
จะทำตัว Low Profile เหมือนเดิมไม่ได้ “ฤทธิ์ ธีระโกเมน” ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ็มเค สุกี้ จำกัด วัย 55 ปี ต้องเปิดตัวสู่สาธารณชนมากขึ้น ถึงเวลาที่เอ็มเคต้องแตกขยายธุรกิจเพื่อทำตลาดแบบ Segmentation ตามกลุ่มเป้าหมาย จำเป็นที่จะต้องสื่อสารกับผู้บริโภคเพื่อให้ได้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและหลากหลายช่องทาง
(Positioning Magazine 19 พฤษภาคม 2549)
ยกระดับแบรนด์
ที่น่าสนใจไม่น้อยคือ การที่ “สยามพารากอน” ได้กลายเป็นแหล่งยกระดับแบรนด์ให้มีความเป็นพรีเมียมมากขึ้น ตั้งแต่ชั้น GF ซึ่งเป็นส่วน Gourmet Paradise ที่เด่นๆ ก็มีร้าน Mc Donald’s ซึ่งตกแต่งเรียบ หรู เก้าอี้นั่งเบาะ, โซนที่นั่งถูก 3 ส่วนชัดเจน, กระจกใสเรียบไม่ติดป้ายโปรโมชั่นมากเหมือนสาขาอื่น ขณะที่เมนูอาหารชุดจะมีราคาสูงกว่าปกติ พร้อมเพิ่มส่วน M-Station มีทั้งดีเจประจำร้านและนำเครื่องไอพอด 2 เครื่องมาบริการลูกค้าอีกด้วย
(Positioning Magazine มกราคม 2549)