พรีเซ็นเตอร์คนแรก
“แบรนด์อินเตอร์” เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าแบรนด์นั้นไฮเอนด์ได้ไม่ยาก และมีโอกาสในการขยายฐานลูกค้าระดับบนได้ง่าย และสำหรับเมืองไทยหากผสมผสานด้วยกลยุทธ์ ”พรีเซ็นเตอร์ มาร์เก็ตติ้ง” แล้ว ถ้า ”โดน” มาร์เก็ตแชร์ก็เพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว นี่คือความหวังล่าสุดของบัตรเครดิต HSBC กับการใช้ ”พรีเซ็นเตอร์” เป็นครั้งแรก
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2553)
ดึงพลังบัตรจีน ซื้ออนาคต
ที่สำนักงานใหญ่แบงก์กรุงเทพ สีลม ในบ่ายวันที่ 15 ธันวาคม 2009ที่ผ่านมา คลาคล่ำไปด้วยบุคคลชั้นสูง ตั้งแต่ผู้บริหารแบงก์กรุงเทพ เอกอัครราชทูตจีน และนักธุรกิจเชื้อสายจีน เพื่อร่วมในงานแถลงข่าวเปิดตัว
(Positioning Magazine มกราคม 2553)
Card & Rewards
นักการตลาดชาวดาวน์อันเดอร์บอกว่า คอนเซ็ปต์บริการบัตรเครดิตของออสเตรเลียกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ เพราะบริษัทเจ้าของบัตรรวมทั้งเจ้าของห้างสรรพสินค้ายักษ์ใหญ่หลายรายก็พากันรุกตลาดแบบเข้าถึงตัวผู้บริโภคและกระตุ้นให้ใช้บัตรมากขึ้นด้วยการนำกลยุทธ์ลด แลก แจก และแถมออกมาใช้
(Positioning Magazine ธันวาคม 2552)
รูดปรื้ดรับ “เศรษฐีใหม่”
ที่ลาน Hall of Frame ชั้น M สยามพารากอน ภาพถ่ายหนุ่มสาวรุ่นใหม่ 100 คน พร้อมเรื่องเล่าผ่านตัวอักษรแนวคิดและความสำเร็จในชีวิต ถูกจัดเป็นนิทรรศการโดดเด่นจนดึงผู้แวะเวียนเข้ามาชม และหลายคนซึมซับได้ว่า นี่คือกลุ่มลูกค้าคนสำคัญของบัตรเครดิต SCB BEYOND PLATINUM และตอนค่ำ ตัวจริงเสียงจริงเกือบครึ่งมาปรากฏตัวในงาน ชุดโทนดำที่เข้ากับความหรูหรา ภายใต้ Dress Code ที่กำกับไว้ในบัตรเชิญใบโตว่า Smart หลายคนเพลิดเพลินกับการพูดคุยกับคนคุ้นหน้าคุ้นกันในสังคม หลายคนลิ้มรสล็อบสเตอร์และแชมเปญ กับแฟชั่นโชว์บนแคตวอล์ก
(Positioning Magazine กันยายน 2552)
จัด “กูรู” ให้เป็น “เพื่อน”
“ซิตี้แบงก์” ตอกย้ำ Positioning ความเป็นบัตรเครดิตภาพลักษณ์ Mid to High end อีกครั้ง หลังจากเงียบหายไปหลายเดือนตามภาวะเศรษฐกิจ ครั้งนี้หวังแรงด้วยแคมเปญ “จี้จุด” ลูกค้า ที่ซิตี้แบงก์จับทางได้ว่าลูกค้ากลุ่มนี้ไม่ได้ต้องการแค่แลกแต้มเอาของรางวัลเท่านั้น แต่อยากได้ “เพื่อนผู้รู้” ถึงขึ้น “กูรู” มาให้คำปรึกษามากกว่า และที่สำคัญคือ ลูกค้าได้เลือกในสิ่งที่ตัวเองต้องการมากที่สุด
(Positioning Magazine กันยายน 2552)
บัตรกอล์ฟ...กลยุทธ์ชิงตลาดหมื่นล้าน
“กอล์ฟ” เป็นกีฬาประเภทเดียวที่ธุรกิจบัตรเครดิตเน้นทำตลาด ถึงขั้นแยกเป็นเซ็กเมนต์หนึ่งที่ต้องวางกลยุทธ์เฉพาะ เพื่อชิงเม็ดเงินผ่านการรูดปรื้ดปีหนึ่งกว่า 10,000 ล้านบาท ผู้เล่นที่เบียดกันมาตลอดในสนามนี้ คือบัตร SCB ของธนาคารไทยพาณิชย์ และบัตร KTC ของบริษัทบัตรกรุงไทย ทำให้ตลาดนี้คึกคักด้วยจำนวนลูกค้ารวมแล้วกว่า 1 แสนบัตร โดย SCB มีส่วนแบ่งตลาดมากกว่าครึ่ง และ KTC เป็นเบอร์รอง ซึ่งผลัดกันรุกผลัดกันรับ ด้วยกระบวนยุทธ์เต็มพิกัด หวังชิงลูกค้าระดับครีม
(Positioning Magazine เมษายน 2552)
บัตรไทยพาณิชย์ ยิ่งมีพรีเซ็นเตอร์ ยิ่งโต
ธนาคารไทยพาณิชย์ มีจุดขายเป็นธนาคารเก่าแก่ มีเครือข่ายสาขา ช่องทางการเข้าถึงลูกค้ามากที่สุด แต่ในกลุ่ม “ธุรกิจบัตรเครดิต” ของไทยพาณิชย์ ก็ยังต้องยึด “กลยุทธ์พรีเซ็นเตอร์” เป็นหลัก นับตั้งแต่เริ่มบุกตลาดอย่างจริงจังเมื่อปี 2005 จนยอดกระเตื้องทิ้งห่างคู่แข่ง แต่เมื่อเงียบหายไปช่วงเกือบ 3 ปีจนคู่แข่งเบียดแรงลูกค้าโตขึ้นเรื่อย ๆ ไทยพาณิชย์จึงต้องกลับมาอีกครั้งกับกลยุทธ์ “พรีเซ็นเตอร์” ที่คราวนี้กระโดดข้ามจากกลุ่ม “ไฮโซ” มาเป็น “ดารา”
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2552)
“เคทีซี” พลิกเกมรุกเอาใจไฮเอนด์
ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจ ตลาด “แมส” มีกำลังซื้อลดลง เหลือแต่ “ไฮเอนด์” ที่ยังคงมีเงิน จึงถึงเวลาแล้วสำหรับ “เคทีซี” ที่ต้องหันมาจับตลาดบน จากที่เคยเน้นกลุ่มแมสมาก่อน
(Positioning Magazine ธันวาคม 2551)
ไม่มี Mass หรือ Segmentation ในเคทีซี ยุคนี้ต้องการตลาดแบบตัวต่อตัว
Morning Coffee ที่มีผู้บริหารของเคทีซีมาร่วมวงทุก 9 โมงเช้าที่ออฟฟิศในอาคารสูง ปากซอยสุขุมวิท 33 อาจจะไม่หอมกรุ่นนักในช่วงนี้ เพราะสถานการณ์มีแต่ Crisis และ Crisis ทั้งในประเทศและนอกประเทศ จนทำให้ลูกค้าชะลอใช้จ่าย ฉุดรายได้บริษัทลดลง นับจากนี้แนวทางบริหารสำหรับเคทีซีคือตัดงบการตลาด และกลยุทธ์การตลาดที่นำมาใช้อย่างเข้มข้นคือ One on One Marketing
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2551)
เศรษฐีระดับ "แพลทินัม
"แพลทินัม" สำหรับลูกค้ามีระดับ ยังเป็น "เซ็กเมนต์" ที่ช่วยให้ธุรกิจบัตรเครดิตไปได้ดี ยิ่งถ้าพ่วงโปรโมชั่นสุดๆ แล้วรับรองยอดไม่ตก “วีซ่า" เครือข่ายบัตรระดับโลกจึงออกตัวเร่งคว้าโอกาสอีกครั้ง
(Positioning Magazine กันยายน 2551)