ต่างชาติทิ้งแสนล้าน หุ้นไทยดิ่ง 300 จุด
9 เดือนแรกของปี 2008 ท่ามกลางข่าวสถาบันการเงินล้มรายแล้วรายเล่า เงินต่างชาติขายหุ้นสุทธิแล้วกว่า 1 แสนล้านบาท ดัชนีหุ้นร่วงไปแล้วเกือบ 300 จุด หากพอร์ตต่างชาติที่อยู่ในตลาด 1 ล้านล้านบาทหายไป ตลาดหุ้นไทยจะดิ่งหายไปอยู่ที่ใดซึ่งยังไม่มีเซียนหุ้นคนใดกล้าฟันธง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยลบที่มาจากการเมืองในประเทศยืดเยื้อ จึงเหลือเพียงคำแนะนำเพียงว่าทั้งขาใหญ่ และแมงเม่าควรปรับพอร์ตเล่นหุ้น ปรับ Mind Set ถือยาว หรือทางที่ดีไปลงทุนอย่างอื่นดีกว่า
(Positioning Magazine ตุลาคม 2551)
แบงก์วูบ ติดล็อก “เลแมนฯ”
ทันทีที่เลแมน บราเดอร์ส ประกาศ “ล้มละลาย” สถาบันการเงินของไทย โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์หลายแห่งถูกจับตามองว่าได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งใน “เงินหมุน” ให้กับเลแมนฯ และสถาบันการเงินอื่นๆ ในสหรัฐอเมริกาหรือไม่ และต่างเกรงว่าเงินนั้นจะ “ไม่หมุนกลับมา”
(Positioning Magazine ตุลาคม 2551)
8 ปี ปิดดีลแสนล้าน
ในช่วงรุ่งเรืองของ “เลแมน บราเดอร์ส (ไทยแลนด์)” ตลอดนับ 10 ปีที่ผ่านมาในไทย ผู้บริหารของ “เลแมนฯ” ไม่ค่อยเปิดเผยตัวเป็นข่าวให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อมวลชนเท่าไรนัก แต่เมื่อบริษัทแม่ที่สหรัฐอเมริกาประกาศ “ล้มละลาย” หนึ่งในผู้บริหาร “เลแมนฯ” อย่าง “กฤษดา กวีญาณ” ต้องออกมาอยู่ในสปอตไลต์ อย่างไม่อาจปฏิเสธได้ เพราะพอร์ตของเลแมนฯ ในไทยมีมากถึง 50,000 ล้านบาท กว่า 50% เป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์ กำลังถูกจับตามองว่าหากต้องมีการ “ขาย” เพื่อส่งเงินกลับสหรัฐอเมริกา ทรัพย์สินเหล่านี้จะเปลี่ยนไปอยู่ในมือของใคร
(Positioning Magazine ตุลาคม 2551)
พอร์ต “เลแมนฯ ไทย” สะเทือน
“เลแมน บราเดอร์ส” วาณิชธนกิจอันดับ 4 ของสหรัฐอเมริกาล้มครืน และสร้างความตื่นตระหนกให้กับคนไทยที่รู้สึกว่าวิกฤตกำลังใกล้ตัวคนไทยมากยิ่งขึ้น เพราะ”เลแมนฯ” เป็นที่คุ้นเคยกับคนไทยมานาน โดยได้ “โอกาส” แจ้งเกิดเต็มตัวในไทยหลังช่วง “วิกฤต” เศรษฐกิจปี 2540 ที่ “เลแมนฯ” ชนะประมูลบริหารสินเชื่อที่อยู่อาศัยของ 56 ไฟแนนซ์จาก ปรส. ท่ามกลางข้อสงสัยมากมายและยังเป็นคดีความในปัจจุบัน ตลอด 10 ปีที่ผ่านมาเลแมนฯ ในไทยเติบโตต่อเนื่อง จนปัจจุบันพอร์ตทรัพย์สินและการลงทุนในไทยงอกเงยถึง 5 หมื่นล้านบาท
(Positioning Magazine ตุลาคม 2551)
“ไทยพาณิชย์” ปล่อยกู้จ่ายหนี้เลแมนฯ
ธนาคารไทยพาณิชย์ ชื่อย่อในตลาดหลักทรัพย์ว่า SCB นอกจากลงทุนหุ้นกู้กับเลแมนฯ และขายขาดทุนไปแล้ว ข้อตกลงที่เพิ่งตกลงสดๆ ร้อนๆ ก่อนหน้าที่เลแมนฯ จะประกาศล้มละลายไม่กี่เดือน คือการปล่อยกู้ให้บริษัทบริษัท แกรนด์ แอสเสท โฮเทลส์ แอนด์ พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ GRAND ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทของไทยที่บริษัทในกลุ่มเลแมนฯ ถือหุ้นใหญ่ถึง 43.32% โดยเงินกู้ก้อนนี้สูงถึง 6,000 ล้านบาท
(Positioning Magazine ตุลาคม 2551)