จับ Big Bike มาทำ Time Sharing
อาจเป็นความฝันของผู้ที่หลงใหลในโลกแห่งความเร็ว ที่สักวันหนึ่งต้องได้ขับขี่สุดยอดรถในตำนาน โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ 2 ล้อขนาดใหญ่ หรือ Big Bike ที่อย่างน้อยต้องได้ทดลองขับขี่ ฮาร์เล่ย์-เดวิดสัน เพื่อให้ได้รับรู้ว่าเมื่อเครื่องยนต์ส่งเสียงคำราม หัวใจสูบฉีดรุนแรงขนาดไหน
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2554)
Fiore พลังสวยหวาน
ค่ายยามาฮ่าส่ง “Fiore” น้องสาวของ “ฟีโน่” ลงตลาดมอเตอร์ไซค์ออโตเมติก โดยประกาศกันโต้งๆ เลยว่า นี่คือมอเตอร์สำหรับผู้หญิ๊ง...ผู้หญิง ยามาฮ่ามั่นใจแล้วว่า การทำอะไรที่แตกต่างแบบสุดขั้วเป็นการเสริมให้เกิดแรงดึงดูดที่แรงพอจะกระชากใจตลาดและทำให้คู่แข่งต้องจับตาและปรับเกมรับตลาดใหม่นี้ไปพร้อมกัน
(Positioning Magazine มกราคม 2554)
กรี๊ดซุป’ตาร์...กรี๊ดฟีโน่
การเลือกใช้พรีเซ็นเตอร์คนเดียว อาจไม่มีพลังพอสำหรับโฆษณายุคนี้ ยามาฮ่า ฟีโน่ จึงต้องใช้พรีเซ็นเตอร์ถึง 9 คน ที่กำลังอินเทรนด์สุดๆ ออกอากาศสั้นๆ แค่ 7.5 วินาที ออนแอร์บ่อยๆ และเยอะๆ กลายเป็น 3 ส่วนผสมที่ลงตัวในการสร้างพลังให้แคมเปญโฆษณาชุด “We Love Fino” ขยายกลุ่มเป้าหมายให้กว้างขึ้น
(Positioning Magazine ธันวาคม 2553)
ยามาฮ่า Football Makes Difference
“Sport Marketing ในกีฬาฟุตบอล เป็นเรื่องใหม่ในธุรกิจจักรยานยนต์ เพราะที่ผ่านมาไม่เคยมีแบรนด์ไหนใช้กลยุทธ์นี้ในการทำตลาดมาก่อน โดยเฉพาะกับการเป็นผู้สนับสนุนการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกอย่างเป็นทางการ” งบประมาณที่ยามาฮ่าเตรียมไว้ในปีนี้มากกว่า 150 ล้านบาท
(Positioning Magazine สิงหาคม 2553)
เวสป้า (กลับ) มาแล้ว
ด้วยกระแส “เรโทร” ที่มาแรงแทรกซึมไปแทบทุกไลฟ์สไตล์ตั้งแต่ร้านอาหารไปจนถึงรถมอเตอร์ไซค์ ประกอบกับความนิยมรถสกูตเตอร์ในไทยเมื่อปีที่ผ่านมาสูงถึง 1.5 ล้านคัน เวสปิอาริโอจึงไม่รอช้าจับมือกับปิอาจิโอ กรุ๊ป เพื่อนำเข้าและจัดจำหน่ายรถสกูตเตอร์เวสป้าแต่เพียงผู้เดียว โดยวาง Positioning เป็น “รถสกูตเตอร์ระดับพรีเมียม”
(Positioning Magazine เมษายน 2553)
ซูซูกิ ลบภาพแบรนด์ “บ้านๆ”
นับเป็นครั้งแรกที่แบรนด์มอเตอร์เป็น Naming Sponsor ให้กับศูนย์การค้า ในนาม “ซูซูกิ อเวนิว รัชโยธิน”
เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายคนรุ่นใหม่ที่มีไลฟ์สไตล์เป็น Trend Setter มากขึ้น ด้วยสไตล์ของศูนย์ฯที่เป็นไลฟ์สไตล์ เซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นรูปแบบที่กำลังมาแรงในขณะนี้
(Positioning Magazine สิงหาคม 2552)
นักร้องดัง วัดพลังแบรนด์ ศึกสองล้อ
การเลือกใช้พรีเซ็นเตอร์ในตลาดรถจักรยานยนต์ เป็นอีกกรณีศึกษาที่ต้องจดจำ เพราะตลาดใหญ่เกือบ 90% อยู่ในต่างจังหวัด การตลาด Below the line เดินสายออกบูธ หรือการจัดทัวร์คอนเสิร์ตเป็นการตอบโจทย์ลูกค้าได้ดีที่สุด“นักร้อง” จึงเป็นทางเลือกที่ทั้งเอ.พี.ฮอนด้า และยามาฮ่า ใช้ในการสร้างแบรนด์ไปถึงลูกค้าระดับ Mass ทั่วประเทศ
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2552)
ฮาร์เล่ย์ฯ ยังต้องใช้
ทำมาตั้งแต่ปี 2542 ไม่เคยใช้พรีเซ็นเตอร์ แต่ในที่สุด ฮาร์เล่ย์ เดวิดสัน ต้องดึง“ภราดร ศรีชาพันธุ์” มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ เพื่อลดอายุกลุ่มเป้าหมายให้เด็กลง และเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ Life Style Marketing เพื่อรับมือการแข่งขันรถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่ที่เริ่มร้อนระอุขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะตลาดเกรย์ มาร์เก็ตนำเข้ามาจำหน่ายในราคาที่ต่ำกว่า
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2552)
Vespa Never Die
ฮอนด้าและยามาฮ่าจัดว่าเป็นเจ้าตลาดรถมอเตอร์ไซค์รายใหญ่ระดับแมสในเวียดนามแต่ถ้าพูดถึงเจ้าตลาดรถมอเตอร์ไซค์ไฮโซระดับไฮเอนด์แล้วคงต้องยกให้กับแบรนด์ Piaggioที่ผลิตรถเวสป้ารุ่นต่างๆมาตั้งแต่ยุคเก่ายันยุคปัจจุบันครองใจวัยรุ่นและวัยเก๋ากระเป๋าหนักชาวเวียดมาได้ไม่ตกยุค ปัจจุบันตลาดรถมอเตอร์ไซค์ในเวียดนามถือเป็นตลาดใหญ่อันดับที่ 4 ของโลก , มีรถสกูตเตอร์ขับขี่ทั่วเวียดนามทั้งหมดเกือบ 20 ล้านคัน และเป็นประเทศที่มีรถเวสป้ารุ่นเก่ามากที่สุด
(Positioning Magazine กันยายน 2551)