ทำเงินจริงในโลกเสมือนจริง
“ที่ร้านเทเลวิซ นักศึกษา 2 คน กำลังคุยกันถึงมือถือที่กำลังซื้อ เดินจากมุมหนึ่งของร้านไปอีกมุมหนึ่งเพื่อดูมือถืออีกเครื่องหนึ่ง แล้วทั้งสองคนก็เดินออกจากร้านเพื่อเตรียมเข้าชั้นเรียน” ทั้งหมดนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากคนตัวเป็นๆ ตรงหน้า แต่คือภาพบนหน้าจอคอมพิวเตอร์พีซีใน Utown.in.th ที่กำลังปั้น Downtown ให้เป็นโลกช้อปปิ้งเสมือนจริง ในคอนเซ็ปต์ของ Second Life ในโลกออนไลน์
(Positioning Magazine สิงหาคม 2552)
ได้ทั้งเงิน ได้ทั้งกล่อง
จุดเริ่มต้นจากไอเดียของพนักงานคนหนึ่งของดีแทค ที่คิดว่า “มือถือ” น่าจะเป็น “ตู้เอทีเอ็ม” ได้ เมื่อ 2 ปีก่อน และเสนอให้ผู้บริหารเคาะ ต่อยอดพัฒนาเป็นโปรดักต์ “ATM SIM” เพียง 1 ปี กลายเป็น Case Study ให้วงการธุรกิจโทรศัพท์มือถือศึกษา โดยเฉพาะในเอเชีย ที่ ATM SIM ขึ้นเวทีรับมาแล้ว 4 รางวัล ด้วยเหตุผลหลักคือการตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และการทำกำไรจากนวัตกรรมสินค้าได้จริง
(Positioning Magazine กรกฎาคม 2552)
บ้านใหม่ดีแทค ขยับใกล้เทรนด์
“จัตุรัสจามจุรี” หรือ “จามจุรีสแควร์” Office Building และแหล่งรวมไลฟ์สไตล์ใหม่ล่าสุดใจกลางกรุงเทพฯ ย่านถนนพญาไท สามย่าน เพิ่งมีชาว “ดีแทค” เกือบ 3,000 คน ย้ายมาจากอาคารชัย ย่านวิภาวดีที่อยู่มานาน 10 ปี มาเป็นผู้เช่าพื้นที่ 19 ชั้น ตั้งแต่ชั้น 22-41 เมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทำให้คึกคักขึ้นมาทันตาเห็น
(Positioning Magazine กรกฎาคม 2552)
ชิงพื้นที่สื่อ
เมื่อส่วนผสมทางการตลาดตั้งแต่ตัว Product Price และ Place ในธุรกิจให้บริการฮัลโหลมือถือไม่แตกต่าง ขณะที่ยอดลูกค้าชะลอตัว กระบวนการโฆษณาประชาสัมพันธ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ P สุดท้ายคือ Promotion จึงกลายเป็นอาวุธล่าสุดของ “ดีแทค” ที่ปล่อยเต็มที่ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ด้วย 2 โปรโมชั่นในรูปแบบการแถลงข่าว เป้าหมายครั้งนี้หวังผลชิงพื้นที่ “สื่อ” ให้ได้มากที่สุด
(Positioning Magazine มิถุนายน 2552)
ต้องโฟกัส
“เวลานี้เราไม่ได้ Think Big เพราะเรารู้จักตัวเอง มี Positioning ที่ชัดเจนอยู่ในตลาดว่าเป็นมิวสิกโฟน ที่เน้นกลุ่ม Mid to High End ที่อยู่ในเมือง” เป็นคำยืนยันของ “มานพ มณีชวขจร” ผู้จัดการทั่วไป บริษัทโซนี่ อีริคสันโมบายล์ คอมมูนิเคชั่น (ประเทศไทย) ที่สะท้อนชัดเจนว่า ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ไม่ใช่เวลาที่รายเล็กจะลงสู้ทุกกลุ่มสินค้า เพื่อแข่งกับรายใหญ่ ซึ่งมีเงินทุนหนากว่า แต่ต้องเน้นทำตลาดไปที่พระเอกของบริษัท เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ถูกต้องของตัวเองมากที่สุด
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2552)
เปลี่ยนได้
พนักงานขายมือถือในร้านเจมาร์ทต้องท่องแต่เลข “14” อยู่ในใจ เนื่องจากการเปิดตัวมือถือ “เจโฟน” พร้อมกัน 7 รุ่น มีการรับประกันเปลี่ยนเครื่องภายใน 14 วัน นับว่าเป็นจุดขายใหม่ โดยมีโฆษณาทีวี ที่หยิบยกเอา Message เดียวกันมาใช้ให้ผู้บริโภคจดจำ แทนการพูดเรื่องฟังก์ชันมือถือ ที่เหมือนกันเกือบทุกแบรนด์ ทั้งทีวีโฟนและ 2 ซิม
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2552)
ไม่มีไม่ได้แล้ว
“ใครอยากเป็นผู้ช่วย” “เรย์ แมคโดนัลด์” กับภารกิจเกมออนไลน์เสมือนจริง ต้องถือโนเกีย Nseries…” นี่คือแคมเปญที่นับเป็นปฏิบัติการทางการตลาดล่าสุดของ “โนเกีย” ในการขยับจากกรอบเดิมที่ไม่ใช้กลยุทธ์พรีเซ็นเตอร์มาก่อน แต่ขณะนี้ถึงเวลาแล้ว และเริ่มด้วยแผน“Campaign Ambassador”
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2552)
เมื่อโนเกียต้องร้องเพลงลูกทุ่ง
ในเวลาทุ่มเศษของคืนวันศุกร์ 20 มีนาคมที่ผ่านมา ชาวจังหวัดชัยภูมินัดหมายกันที่สนามกีฬาประจำจังหวัด กับ “คอนเสิร์ต 3 สัญจร”... แต่ก่อนแดนเซอร์จะออกมาหน้าเวที ดนตรีจะเริ่มบรรเลง เวทีย่อยอุ่นเครื่องให้บรรยากาศคึกคักด้วยกิจกรรมต่างๆ ของสปอนเซอร์กว่า 10 ราย ทั้งหน่วยงานภาครัฐไปจนถึงแป้งเย็น ที่พิเศษสะดุดตาครั้งนี้คือ “โนเกีย” ขอแจมชนิดติดขอบเวที ด้วยการชูโปรดักส์ตัวที่สองที่โนเกียเปิดตัวในปีนี้คือ XpressMusic 5130
(Positioning Magazine เมษายน 2552)
“ทอเร่ จอห์นเซ่น” A MOMENT OF CRISIS
เกือบ 6 เดือนที่ “ทอเร่ จอห์นเซ่น” นั่งเก้าอี้ซีอีโอในดีแทค บุคลิกที่ดูเรียบง่ายของเขาถูกนำไปเปรรียบเทียบกับซิคเว่ เบรคเก้ เคยสร้างสีสันการตลาดจนเห็นผลมาแล้ว... แน่นอนว่า ไม่ใช่ช่วงเวลาที่ง่ายนักสำหรับเขา หรือใครก็ตามที่ต้องเผชิญกับสภาพวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำ ภาวะตลาดมือถือที่อิ่มตัว และการปรับองค์กร ที่ต้องยึดพื้นฐาน สร้างรายได้ระยะยาว ใช้ KPI เข้าจับ มากกว่าความหวือหวาชั่วคราว ควบคู่ไปกับการสร้าง Passion ให้กับพนักงาน ที่เคยเป็นจุดแข็งของมือถือค่ายนี้ให้กลับคืนมาอีกครั้ง
(Positioning Magazine เมษายน 2552)
Place war โนเกีย-ซัมซุง ยกเครื่องช่องทางขาย
“ช่องทางขาย” จุดเปลี่ยนสำคัญ 2 ยักษ์มือถือ โนเกีย และซัมซุง ต้อง “ยกเครื่อง” ครั้งใหญ่ สะท้อนว่า แม้โปรดักส์จะดีเท่าใด โปรโมชั่นจะแรงขนาดไหน ราคาจะโดนใจเพียงใด แต่หากขาดช่องทางจำหน่ายที่ดี โอกาสแป๊กย่อมเกิดได้ง่าย โนเกียถึงกับจัดทัพใหม่ ดึงผู้บริหารที่เชี่ยวชาญช่องทางขายขึ้นกุมบังเหียนโนเกียประเทศไทย ขณะที่ “ซัมซุง” ก้าวไปถึงขั้นโละทิ้งระบบดิสทริบิวเตอร์ ลงทุนสร้างระบบขายเอง สะท้อนได้ว่าเดิมพันครั้งนี้ไม่ธรรมดา
(Positioning Magazine เมษายน 2552)