ฝ่าวิกฤตด้วย One Dtac
ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2554 เป็นต้นมา ทุกวันแรกของวันทำงานในแต่ละเดือน พนักงานดีแทคกว่า 6,000 คน ต้องใส่เสื้อสีน้ำเงินที่มีคำว่า “One Dtac” เพื่อกระตุ้นเตือนความสามัคคีและร่วมมือกันเพื่อฟันฝ่าอุปสรรคทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับดีแทค
(Positioning Magazine 10 สิงหาคม 2554)
พันกว่าบาท... แชตอารมณ์บีบี
ขณะที่กำลังรีเฟรชแบรนด์ “ไอ-โมบาย” ต้องหาโปรดักต์มาตอกย้ำให้เห็นความสดใหม่ของแบรนด์ และไอ-โมบายได้เลือกบริการ ”แชต” มาพูดกลับกลุ่มเป้าหมาย เพราะ “อาการแชต” ยังแพร่ระบาดไม่หยุด โดยเฉพาะตลาดใหญ่ตอนนี้ที่ต่างจังหวัด ซึ่งซึมซับอาการแบล็คเบอร์รี่หรือบีบีไปเรียบร้อยแล้ว แต่มาที่หลังเกือบตกขบวน แล้วโอกาสของ “ไอ-โมบาย” อยู่ที่ไหน คำตอบคือ”เครื่องถูก แพ็กเกจถูก” แต่ยังได้อารมณ์บีบี
(Positioning Magazine 10 กรกฎาคม 2554)
8 ทีมฟุตบอล อีเวนต์สุดคุ้มของไอ-โมบาย
“ไอ-โมบาย” เป็นแบรนด์ที่ถือว่าเป็นสปอนเซอร์ทีมฟุตบอลให้ลีกในไทยมากและจริงจังที่สุด เพราะขณะนี้อัดเม็ดเงินไปให้แล้ว 8 ทีม ซึ่ง ”วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์” ประธานกรรมการบริหาร บริษัทสามารถไอ-โมบาย จำกัด (มหาชน) บอกว่า ไม่ใช่เหตุผลเรื่องของการเป็นพันธมิตรกับผู้บริหารทีมฟุตบอล (ที่ส่วนใหญ่เป็นนักการเมือง) เท่านั้น แต่มองแล้วว่าคุ้มค่าในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในจังหวัดต่างๆ เพราะไอ-โมบายมีลูกค้าต่างจังหวัดถึง 70%
(Positioning Magazine 10 กรกฎาคม 2554)
Refresh for Future "ไอ-โมบาย" แชตด่วนขบวนสุดท้าย
ขนาดยักษ์ใหญ่ในธุรกิจโทรศัพท์มือถืออย่าง “โนเกีย” ยังมายืนอยู่ในจุดนับถอยหลังได้ แล้วประสาอะไรกับ “ไอ-โมบาย” (i-mobile) มือถือเฮาส์แบรนด์ของไทย ที่แม้จะใหญ่ในบ้านแต่คู่แข่งแบรนด์อินเตอร์ก็พร้อมโจมตีตลอดเวลา ล่าสุด ไอ-โมบาย จึงต้องเริ่มเล่นเกมอีกครั้งหลังเงียบหายไปนานเป็นปี เป็นกรณีศึกษาที่ส่งสัญญาณให้เห็นว่า หากไม่ปรับตัว นาทีของ Game Over อาจเข้ามาถึง และแพ้โดยไม่รู้ตัว
(Positioning Magazine 10 กรกฎาคม 2554)
"ซัมซุง" ยิงกระหน่ำกวาดรากหญ้า
"ทนและถูก" เมสเสจล่าสุดที่ซัมซุงกำลังพยายามสื่อสาร ว่าด้วยซื้อมือถือจ่ายแบงก์พันยังได้ตังค์ทอน แถมยังใช้นานจนแก่ ตกพื้นก็ยังไม่พัง เป็นเนื้อหาในทีวีซีที่ "ซัมซุง" ยิงกระหน่ำตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายน 2554 เพื่อลบจุดอ่อนที่ผู้บริโภคมองว่า "ซัมซุงไม่ทน" มาโดยตลอดและเพื่อให้ได้ยอดขายเพิ่ม "ซัมซุง" ได้ยิงทีวีซีอีกชุดหนึ่งโปรโมต "มือถือ FM" ที่หั่นราคาชนิดกระแทกตาอย่างแรง เพราะจ่ายไม่เกิน 600 บาทเท่านั้น
(Positioning Magazine 10 กรกฎาคม 2554)
แบรนด์ดังด้วยพลังชื่อ "อาม่า Can do"
ยิ่งเจาะกลุ่มเป้าหมายได้ย่อยมากเท่าไหร่ โอกาสที่ทำให้แบรนด์เกิด ยอดขายพุ่งก็ยิ่งมีมาก เหมือนอย่างที่โทรศัพท์มือถือ “infinity” ที่สู้ในตลาด ”เฮาส์แบรนด์” มาตั้งแต่ปลายปี 2549 ผ่านไป 3 ปีไม่ดังเสียที จนปลายปี 2552 เริ่มโฟกัสกลุ่มเป้าหมายที่ใช่ ด้วยการออกรุ่น ”อาม่า” (R-ma) จึงเริ่มมีพื้นที่ในช้อปมือถือมากขึ้น เป็นกรณีศึกษาของการทำตลาดอีกครั้ง ที่ย้ำให้เห็นว่าหากอยากแข่งได้ ต้องเจาะกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ (Niche Market) ซึ่ง ”มือถือเฮาส์แบรนด์” ไม่ต่างจากอีกหลายอุตสาหกรรมที่มีผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดอยู่แล้ว ใครเข้ามาใหม่ต้องหา Blue Ocean ให้ได้ เพราะไม่เช่นนั้นหากกระโจนเข้าไปใน Red Ocean ก็ไม่รอด
(Positioning Magazine 10 มิถุนายน 2554)
โพสต์ Facebook บนถนน
ในโลกของโซเชี่ยลมีเดียสำหรับแบรนด์ ความสำเร็จอาจวัดที่ยอดขายไม่ได้ แต่อย่างน้อยเป้าหมายการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้าก็ควรเหนียวแน่นขึ้นหลังแคมเปญจบ และทำอย่างไรให้โดน จนมีคนพูดต่อๆ กัน
(Positioning Magazine 10 มิถุนายน 2554)
Super R-ma ยึดลูกค้าสูงวัย
ในขณะที่หลาย ๆ คนกำลังตื่นเต้นและรอซื้อไอโฟน 4 แต่กลุ่มผู้สูงอายุที่ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือก็ต้องการความเรียบง่าย ชัดเจน ไม่ซับซ้อน “ซุปเปอร์อาม่า” มีจุดเด่นที่มีแป้นกดขนาดใหญ่ พร้อมกับฟังค์ชั่น Handlens Camera สามารถใช้แทนอุปกรณ์แว่นขยาย
(Positioning Magazine 9 พฤษภาคม 2554)
Speed ทำเงินแล้วในต่างประเทศ
ภาพของบริการ Non-voice ในอนาคตที่ถูกกระตุ้นตลาดโดย Truemove H คือ 3G ที่ค่อยๆ สัญญาณแรงขึ้น โดยมี Wi-Fi ช่วยทำให้ตลาดได้ทดลองการใช้ Non-voice ที่เร็วขึ้นกว่าเดิม เมื่อ 3G พร้อม การตลาดว่าด้วยเรื่องความเร็วก็จะคึกคักและมือถือจะเป็นสื่อใหม่ที่นักการตลาดต้องมอง
(Positioning Magazine 8 เมษายน 2554)
Speed war : Life on the go
ธุรกิจโทรศัพท์มือถือกำลังสตาร์ทแข่งกันรอบใหม่ และแรงพอที่จะผลักดันให้อุตสาหกรรมนี้เติบโตไปกับวงจร S Curve อีกครั้ง ด้วยจุดเปลี่ยนเทคโนโลยี 3G และ Wi-Fi ที่ทำให้โทรศัพท์ในมือเป็นมากกว่าเครื่องมือสื่อสาร
(Positioning Magazine 8 เมษายน 2554)