อร่อยพร้อมสุขภาพ
“ยัมแบรนด์ส” เจ้าของแบรนด์ร้านอาหารระดับโลก ตั้งแต่เคเอฟซี ทาโคเบล พิซซ่า ฮัท จนถึงเอแอนด์ดับบลิว งัดกลยุทธ์การตลาดหันมาเน้นช่วยผู้บริโภคดูแลสุขภาพโดยเฉพาะที่อยากลดน้ำหนักเป็นพิเศษ และบาลานซ์ไลฟ์สไตล์ยุคใหม่อย่างลงตัว
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2552)
มัดใจ Gen Y ด้วยดีไซน์ โดนๆ
Generation Y หรือ Gen Y เป็นกลุ่มประชากรที่นักการตลาดทั่วโลกคาดว่าจะมีอิทธิพลสูงในโลกปัจจุบันไม่ด้อยไปกว่าเมื่อครั้ง Baby Boomer หรือกลุ่มพ่อแม่ของพวกเขาเคยทำมาแล้วเมื่อ 1960s Gen Y ไม่ได้เป็นเพียงเด็กไม่ประสีประสาอีกต่อไป พวกเขาเติบโต มีหน้าที่การงานที่ดี และเริ่มมีกำลังทรัพย์ ไม่แปลกที่วันนี้เขากลายเป็น Great Generation ไปแล้ว
(Positioning Magazine ตุลาคม 2551)
ศึกชิงเบอร์เกอร์
นับเป็นการ Diversify ธุรกิจมาสู่เบอร์เกอร์เป็นครั้งแรกอย่างเต็มตัวของเคเอฟซี ด้วยการเปิดตัว “เบอร์เกอร์ไก่อบไอน้ำ” ยังประกาศกร้าวขอขึ้นเป็นผู้นำตลาดเบอร์เกอร์ ภายใน 1 ปี คว่ำแมคโดนัลด์ซึ่งเป็นเจ้าตลาดเบอร์เกอร์มาช้านาน
(Positioning Magazine กันยายน 2551)
แมคโดนัลด์ ประกาศศักด์ศรี “เพื่อนตัวจริงของคอยูโร”
แมคโดนัลด์ ถือเป็นแบรนด์ที่ผูกผันกับกีฬามานาน และทุ่มเม็ดเงินมหาศาลกับการเป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการ (Official Sponsor) ของกีฬาระดับโลกมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน โดยเฉพาะ 3 รายการใหญ่ที่คนทั้งโลกจับตามอง คือ ฟุตบอลโลก โอลิมปิก และยูโร ซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่ทำให้เกิด McDonaldization (คำนิยามโดย George Ritzer นักสังคมวิทยาชื่อดังชาวอเมริกัน) แผ่อิทธิพลไปทั่วโลก
(Positioning Magazine มิถุนายน 2551)
“เคเอฟซี” ตื่นเช้า
อาหารเช้า กลายเป็นธุรกิจที่ฟาสต์ฟู้ดต้องหันมาให้ความสนใจ เพราะแนวโน้มยอดขายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนปัจจุบันคิดเป็นยอดขายถึง 10% ของธุรกิจฟาสต์ฟู้ด โดยปัจจุบันมีผู้เล่นหลักๆ อยู่แล้วคือแมคโดนัลด์ เบอร์เกอร์คิง และร้านเล็กๆ หลายแห่ง ล่าสุด KFC เข้าสู่ธุรกิจนี้ ด้วยการเปิดตัวร้านนำร่อง ที่สาขาในภัตตาคาร มาร์เบิล อาร์ค กลางกรุงลอนดอน ภายใต้ชื่อแบรนด์ KFC A.M. และเตรียมเปิดทั้งหมด 18 สาขา ภายในปีนี้
(Positioning Magazine มิถุนายน 2551)
เดอะ พิซซ่า คอมปะนี vs พิซซ่า ฮัท ชัยชนะเหนือเบอร์ 1 โลก
จุดเปลี่ยนของตลาดพิซซ่าเมืองไทยเกิดขึ้นในปี 2544 เนื่องจากสงครามแตกหักทางธุรกิจ “เพื่อนรักหักเหลี่ยมโหด” ระหว่างวิลเลียม อี.ไฮเนคกี้ และไทรคอน โกลบอล เรสเทอรองตส์ (ชื่อในขณะนั้นของยัม แบรนด์ อิงค์) เพราะไทรคอนฯ ต้องการดึง “พิซซ่า ฮัท” กลับมาทำเอง จึงเกิดการฟ้องร้อง สุดท้ายทำให้ไฮเนคกี้จำใจสะบั้นสัมพันธ์ หันมาสร้างแบรนด์ “เดอะ พิซซ่า คอมปะนี” ของตัวเอง และสร้างปรากฏการณ์ฮือฮาปลดป้ายเก่า ขึ้นป้ายใหม่ 80 สาขาเพียงชั่วข้ามคืน เพราะสาขาที่มีอยู่ถือเป็นทรัพย์สินของเดอะไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2551)
บัตรนี้มีความหมาย
หมดยุคของโรนัลด์ คลับ เพราะ “แมคโดนัลด์ คลับ” คือ CRM ใหม่ของแมคโดนัลด์ เปรี้ยวกว่า จากเดิมที่ให้แลกเฉพาะของพรีเมียม เปลี่ยนไปให้ส่วนลด 10% หลังพบว่า “ส่วนลด” เป็นโปรโมชั่นที่ถูกใจผู้บริโภคมากที่สุด
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2551)
แมคฯ หาสไตล์ใหม่ Purely Simple
แมคโดนัลด์เตรียมตกแต่งร้านแมคฯ ประเภทขับรถเข้าไปสั่งซื้อและรับกลับบ้านได้ทันที ทั่วอังกฤษทั้งหมด 752 แห่ง ตามแผนการสร้างภาพลักษณ์ใหม่เพื่อสร้างความรู้สึกใหม่ให้กับลูกค้า และแน่นอนคือการรับมือการแข่งขันของธุรกิจร้านฟาสต์ฟู้ด
(Positioning Magazine เมษายน 2551)
“อยู่นานๆ ได้ไหม” กลยุทธ์ดีไซน์ร้านจากฟาสต์ฟู้ดสู่ภัตตาคารของ “พิซซ่า ฮัท”
การปรับปรุงร้านเวลานี้ ไม่ใช่เพื่อความสวยงามเพียงอย่างเดียว แต่ยังหมายถึงการวางตำแหน่งทางการตลาดใหม่ เช่นกรณีของ “พิซซ่า ฮัท” ที่ตัดสินใจเปลี่ยนโฉมสาขาเอสเอฟ ซีนีม่า ชั้น 7 มาบุญครอง ก็เพื่อขยับจากฟาสต์ฟู้ดไปสู่ความเป็นภัตตาคาร พิซซ่า ฮัท เชื่อว่า ด้วยบรรยากาศที่ผ่อนคลายและงดงาม จะทำให้ลูกค้าใช้เวลาและใช้จ่ายเงินมากขึ้น
(Positioning Magazine มีนาคม 2551)
24 ชั่วโมง ยิ่งดึกยิ่งขายดี
“เลยเที่ยงคืนแล้วยังนอนไม่หลับ ไม่รู้เบื่อหรือเซ็ง อยากหาที่นั่งหย่อนใจชิลๆ อ่านหนังสือสอบดึกดื่นจนขอบตาดำเป็นหมีแพนด้า ปาเข้าไปตี 2 ยังเขียนรายงานการประชุมไม่เสร็จเสียที เที่ยวเสร็จก็ตีหนึ่งละจะหาอะไรกินดี
(Positioning Magazine มกราคม 2551)