อย่างนี้มันต้อง “ลด” (ไม่เลิก)
เป็นธรรมดาของไฮเปอร์มาร์เก็ตที่ชูจุดขายเรื่อง “ราคา” ยิ่งรายงานจากศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเปิดเผยตัวเลขดัชนีความมั่นใจของผู้บริโภคอยู่ที่ 71.5% ซึ่งต่ำสุดในรอบ 90 เดือน เทสโก้ โลตัส ไม่รอช้า ชักธงรบประกาศ “สงครามราคา” อย่างชัดเจน
(Positioning Magazine สิงหาคม 2552)
“จนแต่เยอะ” ของโปรดค้าปลีกดัตช์
แม้ค้าปลีกที่เชียงใหม่จะคับคั่งทั้งผู้เล่นรายใหญ่ที่สุดของไทยอย่างเซ็นทรัล กรุ๊ป ที่มีห้างสรรพสินค้าถึง 2 แห่ง รวมถึงรายเล็กรายย่อยของทุนเชียงใหม่เอง อีกทั้งไฮเปอร์มาร์เก็ตที่เรียงรายเปิดตัวกันที่นี่อย่างครบครัน บางเชนมีถึง 2 สาขาด้วยกัน แต่ “อีซีซี กรุ๊ป” บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าปลีก จากเนเธอร์แลนด์ก็ไม่รีรอที่จะปักธงที่นี่เป็นแห่งแรก และยังเป็นการลงทุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครั้งแรกของบริษัทฯอีกด้วย ภายใต้ชื่อ โพรเมนาดา (PROMENADA) เชียงใหม่
(Positioning Magazine เมษายน 2552)
ALDI ซูเปอร์ฯทางเลือก
ซูเปอร์มาร์เก็ตเชื้อสายยุโรปรายนี้ เกิดขึ้นด้วยความเชื่อในทฤษฎีการตลาดที่เข้าข้างผู้บริโภคสุดๆ นั่นคือ “ผู้บริโภคทุกคนควรมีโอกาสช้อปได้ทุกวัน ไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ที่ไหน ก็ควรจะได้บริโภคสินค้าคุณภาพสูง ในราคาที่ถูกที่สุด” ดังนั้นการที่ ALDI ขยายธุรกิจเข้ามาทำตลาดในออสเตรเลีย ความเชื่อเดียวกันจึงได้รับการตอบรับจากตลาดดาวน์อันเดอร์ล้นหลาม
(Positioning Magazine มีนาคม 2552)
Loft ใหม่ ต้องใหญ่กว่าเก่า
หลังจาก Habitat ยุติกิจการในไทย ทำให้พื้นที่เดิมของ Habitat บนชั้น 4 และชั้น 5 ของสยามดิสคัฟเวอรี่ที่ว่างลงถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ Loft ที่ต้องการขยายอาณาจักรให้ใกล้เคียงกับต้นแบบที่ญี่ปุ่น โดยมีขนาดใหญ่กว่าเดิม 3 เท่า จาก 1,200 ตร.ม. เป็น 3,000 ตร.ม. ด้วยงบลงทุนเพิ่มเติมกว่า 80 ล้านบาท และนั่นทำให้ Loft กลายเป็นห้างสรรพสินค้าขนาดเล็กซึ่งนำเสนอสินค้าได้หลากหลายมากขึ้นกว่าเดิมด้วย หวังลบภาพลักษณ์ร้านกิฟต์ช็อปที่มีมานานกว่า 12 ปีในไทย
(Positioning Magazine มีนาคม 2552)
ค้าปลีกอินเตอร์บุกเวียด
ช่วงหลังเทศกาลเติ๊ด (TET) หรือปีใหม่ของชาวเวียดปีนี้ คนเวียดนามเตรียมยิ้มต้อนรับพร้อมเทกระเป๋าช้อปให้กับห้างค้าปลีกอินเตอร์ยักษ์ใหญ่หลายค่าย ที่จะบุกเข้ามาทำตลาดอย่างจริงจังพร้อมกันในปีนี้ เนื่องจากตามสัญญาใน WTO ที่เวียดนามเข้าเป็นสมาชิกก่อนหน้านี้ เวียดนามมีเงื่อนไขยินยอมให้ประเทศต่างๆ เข้ามาแข่งขันค้าปลีกได้อย่างเสรีตั้งแต่ 1 มกราคม 2009
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2552)
โลตัสกระตุกหนวดศูนย์การค้า
ถนนศรีนครินทร์จะมีการจราจรติดขัดยิ่งกว่าเคย เมื่อเทสโก้ โลตัสได้ทำการแปลงโฉมไฮเปอร์มาร์เก็ตรูปแบบเก่า ใส่ดีกรีความเข้มข้นของโซนพื้นที่เช่า หรือชอปปิ้งมอลล์ เข้าไปจนมากกว่าพื้นที่ไฮเปอร์มาร์เก็ตเอง ภายใต้ชื่อ “พลัส ช้อปปิ้งมอลล์” ซึ่งเป็นโมเดลใกล้เคียงกับศูนย์การค้าเพียงแต่มีขนาดของไฮเปอร์มาร์เก็ตหรือส่วนห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ โดยมีแบรนด์สินค้าแฟชั่น แบรนด์ร้านอาหารชั้นนำมากมาย
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2552)
ช้อปถึงใจ ไร้แคชเชียร์
วงการซูเปอร์มาร์เก็ตดาวน์อันเดอร์พลิกโฉมใหม่ ใช้เทคโนโลยีแทนแคชเชียร์ เพื่อลดต้นทุนพนักงานและช่วยลูกค้าประหยัดเวลากับการที่ต้องรอคิวนาน โดยที่เครื่องสแกนจะติดตั้งอุปกรณ์ทุกอย่างเอาไว้ ตั้งแต่เครื่องอ่านบาร์โค้ด เครื่องชั่งน้ำหนักสินค้า และเครื่องรับเงิน นักช้อปสามารถสแกนสินค้าเพื่ออ่านบาร์โค้ดด้วยตัวเอง ชั่งน้ำหนักสินค้าเอง เอาของใส่ถุงเอง และจ่ายเงินเอง โดยผ่านเครื่องที่ทำงานได้ครบทุกขั้นตอนในเครื่องเดียว ที่ออกแบบให้ง่ายต่อการใช้งาน
(Positioning Magazine ตุลาคม 2551)
จุดขายใหม่เซเว่น
ด้วยเหตุผลที่ว่า กว่า 80% หรือ 1,500 รายการของสินค้าที่วางขายในร้านเซเว่น อีเลฟเว่นเป็นสินค้าจำพวก “กินได้” เช่นเดียวกันกับรายได้กว่า 80% ของเซเว่นฯ ยังมาจากสินค้าในกลุ่มนี้ ดังนั้นไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมเซเว่นฯ ถึงรุกหนักยิ่งขึ้นทุกขณะ เพื่อพยายามทำให้คนรู้สึกที่หิวท้องต้องนึกถึงเซเว่นฯ ก่อนใครเพื่อน
(Positioning Magazine กันยายน 2551)
เบิร์ดยังขายได้
“คอนเสิร์ตแบบเบิร์ด เบิร์ด” กลายเป็น CRM Tool ของแบรนด์ดังหลังสร้างผลงานการันตีแล้วว่า “ของเขาดีจริง” โดยท็อปส์เอาใจแม่บ้านยุคใหม่ ฉลองครบรอบ 12 ปี ด้วยการเหมารอบพิเศษปิดท้าย ณ อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี ในวันที่ 24 สิงหาคม 2551 ขณะที่ไทยพาณิชย์ชิงตัดหน้าด้วยรอบพิเศษเล่นก่อนรอบจริงในวันที่ 15 สิงหาคม 2551
(Positioning Magazine กรกฎาคม 2551)
ขายของถูก แต่ก็ต้องดูดี
เป็นเพราะภาพลักษณ์ของแบรนด์ “วัตสัน” ที่ถูกมองว่ายึดนโยบายราคาและโปรโมชั่นเป็นคัมภีร์ในการทำตลาด ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตในระยะยาว ดังนั้นวัตสันจึงปฏิบัติการอัพเกรดแบรนด์ ด้วยการ Re -positioning ผ่านแคมเปญการตลาด “What’s in your Watsons” หรือ พบสิ่งที่ใช่สำหรับคุณที่วัตสัน ด้วยงบ 100 ล้านบาท เป็นครั้งแรกในในเอเชียที่ประเทศไทย หวังลบภาพร้านขายของราคาถูกที่อยู่ใน Consumer Perception ชาวไทยมายาวนานกว่า 12 ปี
(Positioning Magazine กรกฎาคม 2551)