ลูกเล่น ลูกฮา...อรปรียา หุ่นศาสตร์
หากจะนึกถึงพิธีคุยข่าวสาวอารมณ์ดีที่มีลูกเล่น ลูกฮา แบบ “ยิ้มอยู่ได้” ต้องเป็นเธอ...อรปรียา หุ่นศาสตร์ “ดิฉันสอบผ่านเข้ามาเป็นผู้ประกาศข่าวช่อง 3 ด้วยสัดส่วน 32-24-35” อรปรียา เล่าด้วยรอยยิ้มถึงจุดเริ่มต้นของเธอในอาชีพผู้ประกาศข่าว เมื่อสิบสองปีก่อน
(Positioning Magazine กันยายน 2548)
“เดอะงัด”แมวมองค้นคนข่าว
ใช่ว่า...คิดอยากจะทำรายการ News talk แล้วหลับหูหลับตาทำ เรตติ้งจะแรง จะดังปัจจัยสำคัญอยู่ที่การคัดสรรพิธีกรข่าว “สุพล วิเชียรฉาย”หรือ “เดอะงัด”ผู้กำกับละครมือรางวัล แห่งบางกอกการละคอน ผู้ผลิตรายการข่าวยามเช้าของช่อง 3 เขาถือเป็น “แมวมอง” คนสำคัญที่จุดประกายให้ช่อง 3 มีซูเปอร์สตาร์อย่าง “สรยุทธ สุทัศนะจินดา”
(Positioning Magazine กันยายน 2548)
ปั้นดาราให้เป็นพิธีกร แม่เหล็กใหม่ช่อง 3
ขนดารามาเป็นกองทัพ สำหรับงานเปิดตัวรายการ “ผู้หญิงถึงผู้หญิงสวย” ของสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 นำโดย ประวิทย์ มาลีนนท์ บิ๊กบอส ตัดสินใจยกเครื่องผังรายการ เพื่อแก้ปัญหาเรทติ้งคนดูลดลง จนถูกคู่แข่งตัวกลั่น คือ สถานีโทรทัศน์ช่อง 7 ทิ้งห่างออกไปอีก
(Positioning Magazine สิงหาคม 2548)
อะคาเดมีปีสอง เคเบิลทีวีอย่างเดียวไม่พอ
ในที่สุด 12 นักล่าฝันก็เดินเข้าบ้าน “UBC Academy Fantasia” เป็นปีที่ 2 ไปเรียบร้อยแล้ว ด้วยเงินลงทุน เกือบ 120 ล้านบาท นอกจากสมาชิกที่ผ่านการเลือกเฟ้น รูปร่างหน้าตา น้ำเสียง มาเป็นอย่างดีแล้ว ยังเพิ่มความน่าสนใจให้ผู้ชมด้วยระบบ Interactive
(Positioning Magazine สิงหาคม 2548)
เปิดเบื้องหลัง “ไฮโซบ้านนอก” แนวคิด...ถูกวิจารณ์จนได้ดี
ถึงวันนี้หลายคนคงได้เห็นบทสรุปของ “ไฮโซบ้านนอก” ในตอนสุดท้ายแล้วว่า นี่คือรายการเรียลลิตี้ที่มีการ “จัดฉาก” หรือเป็นละคร “น้ำเน่า” หรือรายการประเภทไหนกันแน่ แต่สำหรับหลายคนที่อาจจะยังไม่หายข้องใจ ฉบับนี้ POSITIONING จึงเสนอบทสัมภาษณ์ “วู้ดดี้” วุฒิธร มิลินทจินดา เจ้าของไอเดียรายการนี้ ถึงแนวคิด ที่มา และกระบวนการสร้างกระแส ซึ่งอาจเป็นต้นแบบความคิดให้ผู้จัดรายอื่นได้บ้าง
(Positioning Magazine มิถุนายน 2548)
อะคาเดมีปีสอง จะให้ดีต้องมีแฟนคลับ
หลังจากได้รับความนิยมถล่มทลายจากปี 1 ไปแล้ว เมื่อมาถึงปีที่สองของ “Academy Fantasia” เรียลลิตี้โชว์ชื่อดังของยูบีซีก็เตรียมงัดกลยุทธ์การตลาดใหม่มาใช้ โดยเน้นไปที่การสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ชมรายการ “Interactive TV”
(Positioning Magazine มิถุนายน 2548)
ขุนศึกการตลาดหน้าใหม่ของ UBC
ศึกษิฐ ชลศึกษ์ ในฐานะ Brand Marketing Manager รุ่นใหม่แห่งยูบีซี เขามีหน้าที่ดูแล “cooperate branding” ให้กับองค์กร โดยส่วนใหญ่เขาจะได้รับบทบาทเป็นหน่วยแบ็ก-อัพข้อมูลให้กับองอาจ ประภากมล ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและการขาย แต่เมื่อไม่นานมานี้
(Positioning Magazine มิถุนายน 2548)
ลุ้นมิส อเมริกา เป็น “เรียลลิตี้ ทีวี”
แอตแลนติก ซิตี้ การประกวดมิสอเมริกาเรตติ้งตก จนทีวีบอกเลิกสัญญาถ่ายทอด เกิดข่าวลือว่ามีการพิจารณาความเป็นไปได้ที่การประกวดนางงาม “มิสอเมริกา” อาจถ่ายทอดเหตุการณ์ก่อนเข้าประกวดตลอดเวลา เน้นที่ความขัดแย้งของผู้เข้าแข่งขัน หรือทำเป็น “เรียลลิตี้ ทีวี”
(Positioning Magazine มิถุนายน 2548)
ปรากฏการณ์ไม่รู้จบของเรียลลิตี้ทีวีในอเมริกา
หากเปรียบวิวัฒนาการของรายการเรียลลิตี้โชว์ในสหรัฐอเมริกากับการเจริญเติบโตของเด็กน้อยไปสู่วัยผู้ใหญ่...รายการเรียลลิตี้ของอเมริกาขณะนี้ผ่านพ้นช่วงคลาน ช่วงก้าวเดินเตาะแตะไปแล้ว ตอนนี้เข้าสู่การวิ่ง...เป็นการวิ่งที่ค่อนข้างจะเร็วและแรงด้วย...
ปลายเดือนที่ผ่านมา สถานีโทรทัศน์เอ็นบีซีประกาศเปิดตัว 6 รายการเรียลลิตี้โชว์ ที่จะออกอากาศช่วงปิดเทอมซัมเมอร์นี้ในอเมริกา โดยแบ่งเป็น 3 ช่วง
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2548)
ต้นทุนที่ต้องแลก
วงสัมมนาเรื่อง “Reality Show ต้นทุนทางสังคมที่ต้องแลกมาด้วย...” ของวิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อปลายปีที่ผ่านมา มีแง่คิดบางประการที่ POSITIONING เห็นว่าเป็นมุมมองของผู้ที่คร่ำหวอดในวงการสื่อสารมวลชนและธุรกิจบันเทิงที่มีประโยชน์ โดยผู้ร่วมเสวนา คือ มนต์ชีพ ศิวะสินางกูร นันทขว้าง สิรสุนทร และสุพล วิเชียรฉาย
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2548)