Free News
ชาว London โชคดีที่ไม่ต้องเสียเงินซื้อหนังสือพิมพ์เพื่ออัพเดตข่าวสาร การกีฬา เหตุบ้านการเมือง แวดวงบันเทิง เพราะเหล่าเจ้าของหนังสือพิมพ์ต่างๆ มีกลยุทธ์ในการโปรโมตหนังสือพิมพ์รายวัน โดยนำไปแจกฟรีให้ชาวเมืองที่เดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะในเขต Central London ทำให้หนังสือพิมพ์เหล่านั้นผ่านสายตานับล้านจากผู้อ่านที่สัญจรในเมืองตลอดทั้งวัน
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2553)
หนังสือพิมพ์สู้อินเทอร์เน็ต
ในขณะที่วงการหนังสือพิมพ์หาทางรอดในยุคดิจิตอลด้วยการขายข่าวผ่านหน้าเว็บไซต์ สื่อเยอรมันกลับคิดสวนทาง มีตัวอย่างที่น่าจับตามอง คือหนังสือพิมพ์ข่าวหนักรายวันหัวสี DIE WELT ซึ่งปกติเป็นขนาดบอร์ดชีทธรรมดา ออกเล่มแท็บลอยด์ใช้ชื่อว่า WELT KOMPAKT มาลงแผงประกบตัวเอง เพื่อเจาะกลุ่มคนอ่านรุ่นใหม่ ที่ชอบติดตามข่าวสารแต่ไม่ชอบอ่านอะไรเยิ่นเย้อ และราคาก็ย่อมเยาว์ตามขนาด (0.70 ยูโร) แต่ที่สำคัญยังคงเนื้อหาสาระไว้เหมือนเล่มพี่ คุณภาพไม่มีหย่อนไปกว่ากัน
(Positioning Magazine มกราคม 2553)
อ่านข่าวพรีเมียม กับ WSJ
หนังสือพิมพ์ยักษ์ “เดอะ วอลล์ สตรีท เจอร์นัล” ประกาศรีดีไซน์หน้าเว็บไซต์ wsj.com ใหม่ โดยเน้นความเปลี่ยนแปลงทั้ง 3 ส่วน คือ ส่วนของการค้นหาดูข้อมูลในเว็บ ส่วนของสร้างชุมชนกลุ่มคนอ่าน และการขยายเนื้อหา
(Positioning Magazine ตุลาคม 2551)
จุดเปลี่ยน นสพ.มาเลย์ ลดไซส์
หนังสือพิมพ์รายวันภาษามาเลย์ “Berita Harian” และรายสัปดาห์ “Berita Minggu” ตัดสินใจลดไซส์ด้วยเหตุผลเพื่อเพิ่มจำนวนผู้อ่าน และรายได้โฆษณาที่จะตามมา นับเป็นความเปลี่ยนแปลงขนาดของหนังสือพิมพ์ครั้งแรกในรอบ 50 ปีของ “Berita Harian” เพราะกลุ่มคนอ่านรุ่นใหม่นิยมสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ที่สะดวกต่อการพกพา ซึ่งหนังสือพิมพ์ไซส์เล็กสามารถตอบสนองผู้อ่านกลุ่มนี้ได้มากกว่าหนังสือพิมพ์ที่มีหน้ากระดาษใหญ่ๆ
(Positioning Magazine สิงหาคม 2551)
“พญาไม้” นักหนังสือพิมพ์-ล็อบบี้ยิสต์
หากคุณต้องการอ่านข้อเขียน บทความทางการเมืองที่เลือกข้างชัดเจน ผ่านลีลาภาษาที่เห็นภาพ คุณต้องอ่านคอลัมณ์ของเขา ในหนังสือพิมพ์ข่าวสด และบางกอกทูเดย์ ภายใต้นามปากกา “พญาไม้” หรือหากอยากได้ยินเสียง เห็นสีหน้าแววตา ในบทบาทใหม่ของการเจ้าของรายการ และเป็นพิธีกรรับเชิญ พบกันได้ในบางวันทางช่องเอ็นบีที เวลา 4 ทุ่ม รายการ “ข่าวหน้า 4”
(Positioning Magazine มิถุนายน 2551)
จ๊ะจ๋า กับ “คัทลียา”
“พี่ป้อม” หรือ “ป้าป้อม” ที่ชาวไทยรัฐ นสพ.ยักษ์ใหญ่หัวเขียวเรียกขานกันอย่างสนิทสนม ซึ่งจะเรียกว่า ”พี่” หรือ ”ป้า” ก็ขึ้นอยู่กับอายุอานามของผู้เรียก ด้วยความรู้สึกคล้ายกันคือ เธอไม่ถือเนื้อถือตัวให้ความเป็นกันเองกับทุคน และนี่เองเป็นส่วนสำคัญที่แม้เธอจะไม่อยากเรียกตัวเองว่าเป็นสาวสังคม แต่สังคมก็มักวิ่งเข้าหาเธอ พร้อมข้อมูลมากมาย สามารถบันทึกเป็นตัวอักษรผ่านคอลัมน์หนึ่งที่ทรงอิทธิพลของ ”ไทยรัฐ” ที่รู้จักกันดีว่า”คัทลียา จ๊ะจ๋า”
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2550)
ส่วนผสมลงตัวสื่อยักษ์ ”ไทยรัฐ”
สำนักงานหรือสำนักพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ โดดเด่นด้วยพื้นที่กว้างขวาง บนพื้นที่ที่ใครผ่านถนนวิภาวดี รังสิตแล้วไม่รู้จัก ต้องถามว่า ”คุณไปอยู่ไหนมา” และเช่นเดียวกันหากคุณอาศัยอยู่ในประเทศไทยแล้วไม่รู้จักหนังสือพิมพ์ ”ไทยรัฐ” ก็ต้องถามอีกว่า ”โตมาได้ยังไง” เพราะไม่ว่าคุณจะชอบอ่านหนังสือพิมพ์หรือไม่ หรือแอนตี้ข่าวเลือดกระฉูด หรือข่าวคาวดาราบันเทิง หรือเบื่อหน่ายการเมือง คุณก็ต้องรู้จัก ”ไทยรัฐ”
(Positioning Magazine กรกฎาคม 2549)
ลีลา ”คิกออฟ” แดนซ์-รางวัล On Ground
“คิกออฟ” หนังสือพิมพ์กีฬาเบอร์ 2 ด้วยส่วนแบ่งการตลาดผู้อ่านจำนวน 30% รองจากสยามกีฬาที่มีส่วนแบ่งเกือบ 70% ก็ไม่เคยหยุดนิ่ง ทุกครั้งที่มีอีเวนต์กีฬาระดับโลก “คิกออฟ” ต้องหาช่องทางเพื่อโยกย้ายตัวเองจากแผงหนังสือไปอยู่ตามจุดชุมชน เพื่อจัดกิจกรรมในลานกว้าง On Ground กันแบบมันส์ๆ และฟุตบอลโลก 2006 ครั้งนี้ก็ไม่พลาด
(Positioning Magazine มิถุนายน 2549)
อ่านความจริง....อ่านเสรีภาพภูมิปัญญา
โดยปรกติ เรื่องที่จะเห็นหนังสือพิมพ์รายวันที่เรียกว่า “หัวสี” ออกโฆษณาทางโทรทัศน์ถี่ยิบ เป็นเรื่องไม่เห็นกันบ่อยนัก เพราะเหตุผล 2 ประการหลักคือ 1) โฆษณาทางโทรทัศน์มันแพง เมื่อเทียบกับรายได้จากการขายโฆษณา และจากยอดขายจริงบนแผง 2) มีช่องทางการขายและการตลาดอื่นสนับสนุนที่ราคาต่ำกว่าให้เห็นอยู่
(Positioning Magazine เมษายน 2549)
โพลล์คนกรุงชี้ การเมืองเดือด สารพัดม็อบขย่มรัฐบาล
หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ หน้า 2 (วันวันจันทร์ 28 พฤศจิกายน 2548) ได้นำเสนอรายงานวิเคราะห์ระบุว่า ปรากฏการณ์ “สนธิฟีเวอร์” ทุกช่วงวันศุกร์นั้น สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อสถานการณ์ร้อนทางการเมือง”
(Positioning Magazine ธันวาคม 2548)