“ผู้เล่น” ใน Social Networking มีมากกว่าที่คิด
ถ้าแค่ให้สมาชิกสร้างโปรไฟล์ รายชื่อเพื่อน และหาคนคุยด้วย แค่นั้นโปรแกรม ICQ และ AIM ---- ทำได้มาตั้งนานแล้ว แต่ถ้าผสมผสานโปรไฟล์กับรายชื่อเพื่อนๆ ให้สาธารณชนเห็นและโปรโมตว่าเป็นเครื่องมือช่วยเชื่อมคนเข้าด้วยกันก็ต้อง sixdegrees.com ที่เปิดตัวตั้งแต่ปี 1997 ถือเป็นเจ้าแรกตัวจริงแห่ง Social Networking มีคนแห่มาสมัครนับล้าน
(Positioning Magazine มีนาคม 2551)
Google เดินสายขาย AD Online
นับเป็นครั้งแรกที่ กูเกิล อิงค์ เดินสายแนะนำตัวเองกับสื่อ พาร์ตเนอร์ และบรรดาเอเยนซี่ โดยมีโซเบล ลอรี หัวหน้าทีมขาย แห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กูเกิล อิงค์ เป็นหัวหน้าทีม
(Positioning Magazine มีนาคม 2551)
Cyber Tools : March 2008 เกาะกระแสแว็บแบบรีลไทม์ด้วย Digg, Zickr , …
ไม่ว่างานจะยุ่งเพียงใด กิจวัตรประจำวันของนักท่องเน็ตไทยไม่ว่าที่บ้านหรือออฟฟิศอย่างหนึ่งก็คือการเช็กข่าวเช็กกระแส ไม่ว่าจะเรื่องหนักๆ ข่าวบันเทิง เรื่องเมาท์ดารา หรือข่าวอาชญากรรม ไม่ให้ตกข่าวจนฟังเพื่อนคุยกันไม่เข้าใจ แต่ลำพังจะเข้าไปแค่เว็บข่าวก็ยังไม่พอ เพราะหลายครั้งเรื่องใหญ่ก็มีอยู่ในกระทู้ร้อนแรงของบางเว็บ หรือบล็อกของบางคน ซึ่งเว็บข่าวทั่วไปไม่ได้รายงาน ฉะนั้นน่าจะดีถ้าเราได้รู้ว่าชาวบ้านร้านตลาดเขาเข้าเว็บอะไรกันบ้างในวันนั้น
(Positioning Magazine มีนาคม 2551)
Cyber trends : March 2008
ตลาดขายเพลงออนไลน์ยังอยู่ในระยะตั้งไข่ ผู้ใช้และผู้ขายต่างก็ยังทดลองระบบอยู่ และล่าสุด Big Trend ตั้งแต่กลางปีที่แล้วถึงต้นปี 2008 นี้ คือการ "เลิกห้ามก๊อบปี้" ก็คือเลิกใส่ระบบป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ Digital Rights Management หรือ DRM ที่อนุญาตให้แต่เล่นบนเครื่องเดียว ห้ามก๊อบปี้ไปเล่นบนเครื่องอื่นๆ ซึ่งระบบนี้ค่ายเพลงใหญ่เมืองไทยอย่างแกรมมี่เคยนำมาทดลองใส่บนแผ่นซีดีก่อนจะมีเสียงบ่นจากปัญหามากมายบนเว็บบอร์ดต่างๆ จนยกเลิกไป
(Positioning Magazine มีนาคม 2551)
สื่อโฆษณาดวงรุ่งต้องเกาะติดไลฟ์สไตล์
บทสรุปของงบโฆษณาของสื่อต่างๆ ในเดือนแรกของปี 2008 ที่เก็บรวบรวมโดยบริษัท นีลเส็น มีเดีย รีเสิร์ช (ประเทศไทย) จำกัด อาจจะไม่สามารถสะท้อนภาพเศรษฐกิจที่แท้จริงของปีนี้ได้ทั้งหมด โดยเฉพาะเป็นช่วงเดือนที่คนไทยทั้งประเทศอยู่ในช่วงถวายความไว้อาลัยต่อการเสด็จสู่สวรรคาลัยของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ
(Positioning Magazine มีนาคม 2551)
ทำไมใครๆ ก็ hi5 ?
ของใหม่ๆ บนอินเทอร์เน็ตนั้นมีหลายอย่างที่โด่งดัง แต่ในไทยช่วงหลังไม่มีอะไรเทียบเท่า hi5 ถามใครส่วนใหญ่ก็ลงทะเบียนเอา Profile ตัวเองขึ้นไป “โชว์หน้า หาเพื่อน” กัน นำมาโดยวัยรุ่น ตามด้วยวัยหนุ่มสาวทำงาน วัยผู้ใหญ่ วงดนตรีทั้งดังและไม่ดัง ดารานักแสดง นักการเมือง หรือแม้แต่สินค้าแบรนด์ดัง ก็ยังต้อง hi5 กับเขาด้วย
(Positioning Magazine มีนาคม 2551)
Google ขยายสู่บล็อกมือถือ
Google เว็บยักษ์ใหญ่ เข้าซื้อกิจการไจคุ (Jaiku) ผู้บุกเบิก Weblog บนโทรศัพท์มือถือสัญชาติฟินแลนด์ ซึ่งเป็นระบบเว็บล็อกย่อส่วนที่ผู้ใช้สามารถอัพเดตบล็อกด้วย SMS จากโทรศัพท์มือถือเพื่อรายงานสถานการณ์หรือกิจกรรมในขณะนั้นให้เพื่อนคนอื่นในกลุ่มได้รับรู้ และผู้อ่านจะรู้ได้ว่าผู้เขียนกำลังอยู่ที่ไหนจากเทคโนโลยีชี้ตำแหน่ง GPS (Global Positioning System)
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2550)
Google เปิดระบบโฆษณาแทรกคลิป YouTube
กูเกิลจับ "AdSense" ระบบธุรกิจโฆษณาออนไลน์ ไปลง YouTube แล้ว ในชื่อ "AdSense Video Units" เริ่มเปิดบริการเมื่อ 9 ตุลาคมที่ผ่านไป เพื่อให้เจ้าของเว็บรายอื่นหรือรายย่อยๆสามารถรับเงินส่วนแบ่งค่าโฆษณาจากกูเกิลด้วยการแปะวิดีโอบนยูทิบแล้วแทรกโฆษณาแอดเซ้นส์ไว้หัวคลิปหรือท้ายคลิป หรือว่าปรากฏตลอดคลิป ซึ่งการลงคลิปในยูทูบแล้วก็นำไปแปะที่เว็บไซต์ของตัวเองได้เหมือนที่ผ่านๆ มาก็จะช่วยพาให้รายได้สูงขึ้นด้วยเพราะมีผู้ชมมากขึ้น
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2550)
Hi5 บูม สนามใหม่โฆษณาไทย
"Social Networking" เป็นคำที่กำลังมาแรงในวงการโฆษณา โดยเฉพาะเว็บ Hi5.com เว็บระดับโลกสัญชาติอเมริกัน ที่กวาดเอากลุ่มนักท่องเน็ตวัยหนุ่มสาวคนทำงานลงไปถึงวัยรุ่นไทยมากมาย สร้าง "เครือข่ายเพื่อนๆ" ที่กว้างใหญ่มหาศาลในช่วงปีสองปีนี้ จนกลายเป็นพื้นที่เป้าหมายใหม่ของสินค้าหรือบริการแบรนด์ต่างๆ
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2550)
ดารา...สื่อทำเงินใหม่ของเว็บไซต์
เวลานี้ไม่ว่ามองไปทางไหน หนังสือหนังหาที่ได้รับความสนใจเปิดอ่านกันจนยับอยู่บนแผง ล้วนหนีไม่พ้น ”ภาพเด็ดดารา” จากปาปารัสซี่สำนักต่างๆ ที่ช่างสรรหามุมกล้องจากซอกหลืบเสมือนเป็นกล้องวงจรปิด จนดาราหลายต่อหลายคนเอือมระอา
(Positioning Magazine ตุลาคม 2550)