แตงโมยุ่นลูกละหมื่น!
บรรยากาศภายในงานเทศกาลอาหารและผลไม้ญี่ปุ่น “Oiishi Nippon” ชวนให้หลับตานึกถึงภาพยามเย็นของฤดูใบไม้ร่วง หนุ่มสาวนั่งจิบน้ำชาในสวนสาธารณะ... ทว่า ฉับพลันฝันหวานสะดุดกึก เมื่อเห็นภาพการเฉาะแตงโมทรง ”สี่เหลี่ยม” ขนาดยักษ์ สนนราคาลูกละ ”หมื่นกว่าๆ” แทนการตัดริบบิ้นในพิธีเปิดงาน
(Positioning Magazine ตุลาคม 2550)
“วนิลา” ความลงตัวของ วิสาขา ไรวา
วิสาขา ไรวา ทายาทรุ่นที่สองของเอสแอนด์พี ที่กำลังสร้างความท้าทายให้กับร้านอาหารเก่าแก่ที่มีอายุ 34 ปีแห่งนี้ ด้วยการแตกยอดออกมาเป็นแบรนด์ “Vanilla” ร้านอาหารแนวใหม่ ที่ไม่ได้ขายแค่รสชาติของอาหาร แต่ใส่ทั้งจินตาการและความคิดสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่
(Positioning Magazine สิงหาคม 2550)
มอส เบอร์เกอร์ ผมมาจากญี่ปุ่น
ภาพของผู้คนต่อคิวยาวเหยียดอย่างไม่ย่อท้อเพื่อซื้อมอส เบอร์เกอร์ บนชั้น 3 เซ็นทรัล เวิลด์ หลายคนอาจมองว่านี่อาจเป็นปรากฏการณ์ โรตีบอย ภาค 2 ที่เกิดและดับเพียงชั่วครู่ชั่วยาม แต่ทว่าในความเหมือนนั้นมีความต่างอยู่มากมาย
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2550)
พิซซ่าโคน
“พิซซ่าโคนถือกำเนิดในอิตาลีแต่ข้ามมาโตที่ญี่ปุ่น” หากจะพูดแบบนี้ก็คงไม่ผิดไปจากเทรนด์ใหม่มาแรงรับฤดูใบไม้ผลิ 2007 ของวัยรุ่นญี่ปุ่นสักเท่าไหร่ เพราะนอกจากจะมีรสชาติถูกปากเป็นทุนเดิมอยู่แล้วพิซซ่าแบบโคนนี้ราคาไม่แพง (เฉลี่ยราว 450 เยนต่อโคน) ไม่ทำให้มือเปื้อนเหมือนพิซซ่าแบบแผ่น อีกทั้งรูปลักษณ์ยังดูคล้ายเครปญี่ปุ่นที่คุ้นเคยมานาน
(Positioning Magazine เมษายน 2550)
คนไทยนิยมอาหารสำเร็จรูปที่สุดในโลก
เอซีนีลเส็น เผยผลการสำรวจออนไลน์ที่ถูกจัดทำในปลายเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนมิถุนายน จากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตประมาณ 22,780 คน ใน 41 ประเทศ จากทวีปยุโรป เอเชียแปซิฟิก อเมริกาเหนือ รวมถึงประเทศในแถบบอลติก ข้อมูลในประเทศไทยมาจากการสำภาษณ์ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 500 คน ที่มีอายุมากว่า 15 ปีขึ้นไป เกี่ยวกับอาหารปรุงสำเร็จพบว่า ผู้บริโภคชาวไทยติดลำดับแรกของโลกที่นิยมซื้ออาหารปรุงสำเร็จมากกว่าปรุงอาหารเอง
(Positioning Magazine มีนาคม 2550)
ภัทรา ศิลาอ่อน จากแม่บ้านสู่ร้านอาหารไทยอินเตอร์
ข่าวคราวความเคลื่อนไหวครั้งใหญ่เมื่อปลายปีที่ผ่านมาของ S&P คือการยอมขายหุ้นในครอบครองของบริษัท ให้กับไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป เป็นการขายหุ้นที่หวังผล Merging ใช้ศักยภาพที่มีของทั้ง 2 บริษัทให้เกิดประโยชน์เต็มที่แบบ Win-Win ภายใต้การตัดสินใจครั้งสำคัญย่อมเป็นเธอ “ภัทรา ศิลาอ่อน” เป็นคนเคาะ ในฐานะพี่ใหญ่ของ S&P และประธานกรรมการ บริษัทเอสแอนด์พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน)
(Positioning Magazine 19 กุมภาพันธ์ 2550)
เกมร้อน “พิซซ่า”
หลังสะบั้นสัมพันธ์กันแบบไม่เหลือใยเมื่อเกือบ 6 ปีที่ผ่านมา ระหว่างยัม เรสเทอรองส์ เจ้าของแบรนด์ PIZZA HUT กับเครือไมเนอร์ ที่เดินเกมแยกทางจากกันแบบบัวช้ำน้ำขุ่น พร้อมสร้างปรากฏการณ์ กำเนิดแบรนด์ The PIZZA Company วันเดียว 80 สาขา และครองความเป็นผู้นำตลาดพิซซ่าเมืองไทยเพียงชั่วข้ามคืน ครั้งนั้นเสมือนเป็นศึกพิซซ่าที่สร้างดีกรีความร้อนแรง เป็นข่าวฮอตการตลาดที่เด่นเปรี้ยงกว่าข่าวใด มาถึงครั้งนี้เกมรบตลาดพิซซ่ามูลค่ากว่า 3,000 ล้านบาท ถูกเปิดฉากขึ้นอีกครั้งโดย PIZZA HUT
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2549)
สลัด ทู โก Sizzler ให้หิ้วกลับบ้าน
Sizzler ร้านอาหารจากเครือไมเนอร์รับกระแสยุคประหยัด เปิดช่องทางการขายใหม่ จากเดิมมีเฉพาะ Sit Down Dining มาเป็นแบบ Take Away ชูจุดแข็งที่สุดของตนเอง คือ “สลัดบาร์” มาใช้เพื่อขยายฐานลูกค้าหน้าใหม่ พร้อมกับเพิ่มความถี่ขาประจำให้มากขึ้น ด้วยบริการใหม่ “Salad bar to go” สอดรับกับกระแสคนเมืองท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวน
(Positioning Magazine มิถุนายน 2549)
โกกิ...ต้องเป็นมากกว่าแป้งทอดกรอบ
นับเป็นครั้งแรกในรอบ 28 ปี ที่ “โกกิ” ลงทุนเปิดแถลงข่าวกับสื่อมวลชน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงหลายๆ ด้าน เริ่มตั้งแต่การแตกขยายผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ตั้งแต่แป้งทอดกรอบ เทมปุระ แป้งประกอบอาหารในครัวเรือน (แป้งมัน แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวโพด) เกล็ดขนมปัง ไปจนถึงเครื่องปรุงแต่งรสอาหาร จะเป็นขุมทรัพย์แหล่งใหม่ในต่างแดนของ มาลินีฟูดโปรดักส์ ไปจนถึงอาหารชุปแป้งทอดกรอบแช่งแข็ง เพื่อลุยตลาด Frozen
(Positioning Magazine มีนาคม 2549)
แดจังกึม...ท้ารบร้านอาหารญี่ปุ่นด้วยแฟรนไชส์
อิทธิพลของ Korea Power ออกฤทธิ์ไปแทบทุกด้าน ปลายปี 2548 ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน korean cusine ดูจะเป็นประเด็นที่น่าสนใจโดดเด่นไม่แพ้วัฒนธรรมอื่นของเกาหลี “แดจังกึม” ละครเด่นเย็นนี้ของช่อง 3 คือปรากฎการณ์ที่ตอกย้ำกระแสนิยมเกาหลีในไทยอย่างเด่นชัด และทำให้กระแสอาหารเกาหลีได้รับการพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง
(Positioning Magazine 19 กุมภาพันธ์ 2549)