พิพิธภัณฑ์สร้างแบรนด์
บางครั้งเรื่องราวของประวัติศาสตร์จำเป็นต้องอธิบาย เหมือนกับแบรนด์ไทยพาณิชย์ ซึ่งมีอายุกว่า 100 ปี เป็นธนาคารแห่งแรกของไทย เรื่องราวเหล่านี้นักการตลาดถือว่า เป็นส่วนสำคัญของการตอกย้ำแบรนด์ สื่อสารให้ตลาดผู้บริโภครับรู้ว่า “แม้แบรนด์เราเก่าแก่แต่เราทันสมัยที่สุด”
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2550)
ชาลอต โทณวณิก ผู้หญิงมีแบรนด์
ถ้ามีใครสักคนสามารถใช้ประสบการณ์อย่างสุดขั้วกับการทำงานหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน และสิ่งที่ทำประสบความสำเร็จอย่างสูงสุด ถือว่าเธอหรือเขาผู้นั้นโชคดีมาก เช่นผู้หญิงคนนี้ "ชาลอต โทณวณิก”
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2550)
รีเทลแบงก์กิ้ง:พระเอกตัวจริง
กลุ่มธนาคาร ปี 2007 จะเป็นปีแห่ง retail banking ที่ทุกค่ายหันมาอัดกันเต็มที่ด้วยกลยุทธ์ทางการตลาดที่เข้มข้น เน้นการสื่อให้เข้าถึงไลฟ์สไตล์ของลูกค้ามากยิ่งขึ้น
(Positioning Magazine มกราคม 2550)
Seasons Change ของแบงก์กรุงศรีฯ
ไหนๆ ก็มีธุรกิจบันเทิงในมือ แบงก์กรุงศรีอยุธยาจึงใช้เป็นอาวุธ สร้างจุดขายให้กับตัวเอง จนได้ชื่อว่าเป็น “Entertainment Banking” หนึ่งในกลยุทธ์ที่ว่านี้ ก็คือ การเป็นสปอนเซอร์ สนับสนุนภาพยนตร์ ซึ่งแต่ละเรื่องแฝงโฆษณา หรือ Tie in ได้แบบเนียน ๆ หรือแม้จะไม่เนียนมาก ดูก็รู้ว่าจงใจโฆษณาเต็มที่ แต่แบงก์กรุงศรีฯซะอย่าง อะไรก็ไม่ยาก
(Positioning Magazine ตุลาคม 2549)
3 บิ๊กธนาคารเบื้องหลัง Hub การเงินสิงคโปร์
แม้ว่าในช่วง 2 ทศวรรษแรกของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม จะไม่ให้ความสำคัญกับกลุ่มทุนจีนขนาดใหญ่ในประเทศ แต่กลุ่มทุนธนาคารยังคงเป็นกลุ่มทุนภาคเอกชนขนาดใหญ่ที่สุดของสิงคโปร์เพียง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มธนาคารยูไนเต็ดโอเวอร์ซีส์ (The United Overseas Bank) หรือ UOB Group กลุ่มธนาคารโอเวอร์ซีส์ยูเนียน (The Overseas Union Bank) หรือกลุ่ม OUB และกลุ่มธนาคารโอเวอร์ซีไชนีส หรือ กลุ่มโอซีบีซี
(Positioning Magazine เมษายน 2549)
Global Brand Bank
ยุทโธปกรณ์สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับการสู้รบในระบบเศรษฐกิจทุนนิยมโลก ต้องให้ความสำคัญกับระบบหมุนเวียนของเงินทุน อย่างเช่นกลยุทธ์ของสิงคโปร์ที่ไม่เพียงสร้างความแข็งแกร่งให้กับสถาบันการเงินจนมีความสำคัญอยู่ในประเทศของตัวเอง แบบไม่เพียงแต่แบรนด์ของยูโอบี และดีบีเอส เป็นที่รู้จักกันอย่างดีในสิงคโปร์เท่านั้น แต่ยังป็นระบบ Global brand จนสามารถยึดธนาคารหลายแห่งในโลก รวมทั้งประเทศไทย
(Positioning Magazine เมษายน 2549)
L H Bank นับหนึ่ง
ค่ำคืนศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2548 เป็นอีกวันหนึ่งที่เหล่าบรรดานายแบงก์เกือบทุกธนาคาร นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มารวมตัวกันอย่างคึกคัก เพราะงานวันนั้นโฟกัสอยู่ที่การเปิดตัวอย่างเป็นทางการ Grand Opening ธนาคารแลนด์แอนด์เฮาส์ เพื่อรายย่อย หรือ L H Bank ที่สำนักงานใหญ่ ณ อาคารคิวเฮาส์ หัวมุมถนนสาทร
(Positioning Magazine เมษายน 2549)
หายใจเข้าก็เฮ้อ...จีน
“รู้เขารู้เรา” สุภาษิตจีนกลายเป็นคำหนึ่งที่ธนาคารกรุงเทพกำลังท่องได้อย่างขึ้นใจ โดยเฉพาะผู้บริหารแบงก์ตราดอกบัว นาทีนี้หายใจเข้าก็เฮ้อ...จีน หายใจออกก็เฮ้อ...จีน
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2549)