ลูกค้าที่แบงก์ต้องเอาใจเป็นพิเศษ
การเติบโตมากกว่า 30% ของตลาดกองทุนรวมและตลาดพันธบัตรในปีที่ผ่านมา เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เงินไหลจากธนาคารไปยังกลุ่มบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าการฝากเงิน ซ้ำร้ายอนาคตก็จะไม่มีการค้ำประกันเงินฝากกันอีกแล้ว คงไม่มีใครอยากปล่อยให้เงินที่เก็บสะสมไว้ร่อยหรอไปกับกาลเวลา ธนาคารส่วนใหญ่จึงต้องขยับมาดูแลลูกค้าเงินถุงเงินถังให้มากขึ้น ไม่ให้ลูกค้าชั้นดีให้หลุดมือไป
(Positioning Magazine มกราคม 2551)
อยากเป็นเหมือน 7-11
“ดิฉันชอบเป็นที่หนึ่ง” คำพูดของ กรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวไว้อย่างน่าสนใจ ถ้าคิดตีความคำพูดนี้ให้ดี นี่คือภาพของไทยพาณิชย์ยุคใหม่ ภายใต้การบริหารงานของแม่ทัพหญิงคนนี้
(Positioning Magazine มกราคม 2551)
ลูกค้า-แบงก์ ฟิต&เฟิร์ม
เป็นอีกขั้นตามกลยุทธ์ “K NOW” ของเสี่ยปั้น บัณฑูร ล่ำซำ ซีอีโอ ธนาคารกสิกรไทย ที่เพิ่งประกาศยุทธศาสตร์ใหม่ภายใต้ชื่อ เค นาว เพื่อเปลี่ยนคอนเซ็ปต์ธุรกิจใหม่ จากไฟแนนเชียล เซอร์วิส มุ่งไปสู่ธุรกิจบริการให้คำปรึกษาทุกรูปแบบ ไม่จำกัดเฉพาะบริการด้านการเงินเท่านั้น แต่ต้องเข้าถึงความรู้สึกและไลฟ์สไตล์ของลูกค้าชนิดถึงลูกถึงคน
(Positioning Magazine มกราคม 2551)
มรสุมร้ายที่ยังไม่สิ้นสุด
“ทางจิตวิทยา น่าจะทำให้คนไทยรู้สึกว่า ปี 2551 คงจะดีกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากเราจะได้รัฐบาลใหม่จากการเลือกตั้ง แต่ในความเป็นจริงนั้น สัญญาณร้ายบางอย่างก็ยังไม่สิ้นสุด น้ำมันแพง ปัญหา Subprime ในสหรัฐฯ ถือเป็นเงาร้ายซึ่งยังติดตามบั่นทอนเศรษฐกิจในปีหน้าตลอด”
(Positioning Magazine มกราคม 2551)
ศึกชิง Young Entrepreneur
บรรยายที่ดูคึกคักไม่น้อยกับงานเสวนา ความคาดหวังหลังเลือกตั้ง ซึ่งธนาคารไทยพาณิชย์ จัดขึ้นโดยได้นำผู้จบหลักสูตรรุ่นที่ 2 ของโครงการ SCB Young Entrepreneur จำนวน 50 คนมาเปิดเวทีแสดงทัศนะให้สื่อมวลชนเข้าไปทำข่าว
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2550)
เดี่ยวไมโครโฟน รุ่นล่าสุด
นักข่าวเกือบครึ่งร้อยตั้งแต่หน้าใหม่จนถึงระดับบรรณาธิการ นั่งรออย่างใจจดใจจ่อ เพื่อรอฟัง “เรื่องที่ไม่เคยพูด ความฝันที่ไม่เคยเล่า” ของ “บัณฑูร ล่ำซำ” ซีอีโอเครือธนาคารกสิกรไทย (KBANK) หลังเลยเวลานัดหมายประมาณครึ่งชั่วโมง “บัณฑูร” มาพร้อมกับรีโมตกำกับพรีเซนเทชั่น โชว์เดี่ยวไมโครโฟนโดยไม่ต้องใช้โฆษก ผู้ดำเนินรายการ เพราะ “บัณฑูร” ขอกล่าวเองตั้งแต่เริ่มต้นจนถึง Q&A
(Positioning Magazine ตุลาคม 2550)
ลึกๆ ของซิตี้ แบงก์รีแบรนด์
เหตุผลสำคัญในการปรับเปลี่ยนโลโก้ซิตี้ แบงก์ใหม่ นั่นคือ ความเป็นหนึ่งเดียวของธุรกิจที่หลากหลายและการจดจำง่ายขึ้น เส้นโค้งสีแดง โลโก้ใหม่ ซิตี้ แบงก์ คาดหวังลึกๆ ว่าอยากจะเป็นเส้นขีดถูกเหมือนไนกี้ที่คนทั่วโลกเห็นโลโก้ ก็ย่อมรู้ว่านี่แบรนด์ใด
(Positioning Magazine มิถุนายน 2550)
บริการแบบมั่งคั่ง
150,000 คน เป็นตัวเลขของกลุ่มผู้มั่งคั่ง หรือเศรษฐีมีระดับของเมืองไทย ซึ่งธนาคารเอชเอสบีซีกำลังเอาจริงเอาจังกับการสร้างตลาดกลุ่มนี้อย่างมาก
(Positioning Magazine มิถุนายน 2550)
“ธาริษา วัฒนเกส”หญิงเดี่ยวมือหนึ่งแบงค์ชาติ
ย้อนหลังไป 32 ปีที่แล้ว สาวน้อยวัยใส พกพาดีกรีปริญญาโทเศรษฐศาสตร์ จากญี่ปุ่น อาจไม่อยู่ในสายตาของคนในแบงก์ชาติเท่าไรนัก เพราะแบงก์ชาติเป็นหน่วยงานระดับประเทศ ถือเป็นแหล่งรวมของสุดยอดผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินทั้งหญิงและชาย แต่ ณ ปัจจุบันโฟกัสสายตาทุกคู่ต่างมองไปที่เธอ “ธาริษา วัฒนเกส” ที่เปลี่ยนสถานะจากสาวน้อย เจ้าหน้าที่ทั่วไปของแบงก์ชาติ กลายมาเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้เป็นเบอร์ 1 นั่งเก้าอี้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจธนาคารที่มีมูลค่ารายได้ปีหนึ่งหลายแสนล้านบาท จากตลอดเวลากว่า 65 ปีที่ผ่านมา ผู้ว่าแบงก์ชาติ 20 คนเป็นชายทั้งหมด
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2550)
กรรณิกา ชลิตอาภรณ์ นายแบงก์หญิงคนใหม่
หากการแข่งขันของแบงก์ เปรียบได้ดั่งสงคราม สตรีคนนี้ก็คือ “แม่ทัพหญิง” คนใหม่ของธนาคารไทยพาณิชย์ ...สตรีที่จะต้องปกครองกองทัพขนาดใหญ่เกือบหมื่นคน ดูแลสาขาหน้าด่านเกือบ 800 แห่ง ต้องคิดกลยุทธ์การต่อสู้อีกนานัปการ ใช่, ภารกิจนี้ท้าทายผู้นำหญิงคนนี้ยิ่งนัก
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2550)