สะออน เปิดใจ
โมเดลการบริหารวงดนตรีโปงลางสะออน ซึ่งถูกหล่อหลอมขึ้นมาจาก อี๊ด โปงลาง เขาเปรียบเสมือนแม่ทัพใหญ่ บัญชาการงานแสดงทุกอย่าง มีลาล่า และลูลู่ สองสาวสะออน ผู้เป็นเหมือนแขนซ้าย แขนขวาของเขา
(Positioning Magazine มีนาคม 2550)
สะออน หลังฉาก
กว่าเสียงดนตรี มุกตลกจะสะออนขึ้นในเวทีการแสดงสดแต่ละครั้ง หลังฉากหรือเบื้องหลังนั้น เป็นการทำงานที่แสนเหน็ดเหนื่อยเมื้อยล้า แต่ทุกคนมีความสุขนะ แม้บางคนหลังเวทีจะไม่ยอมยิ้มเลย แต่ขึ้นเวทีแล้ว ทุกคนสะออนรอยยิ้มกันอย่างเต็มที่
(Positioning Magazine มีนาคม 2550)
Idol Management
ความเข้าใจเกี่ยวกับลูกค้าเป้าหมาย และช่องทางทางธุรกิจ รู้ว่าจุดยืนอยู่ตรงไหน เป็นกลไกสำคัญของทำตลาดไม่ว่าจะเป็น “สินค้า” ใดก็ตาม แม้กระทั่งสินค้าบันเทิงอย่าง “อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย” วง “โปงลางสะออน” และวงแสตมป์ ที่สร้างความสำเร็จกับธุรกิจบริหารศิลปิน ก็ด้วยเหตุผลเหล่านี้
(Positioning Magazine มีนาคม 2550)
บทสรุปความสำเร็จ AF
ผศ.ดร.ธีระยุส อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อสรุปความสำเร็จของ AF ว่า เป็นผลพวงของกระบวนการสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีเป้าหมาย เริ่มต้นด้วยการสร้างความผูกพัน หลงใหล (Passion Marketing) เป็นกระบวนการต่อยอดจากการทำ CRM (Customer Relationship Management) หรือการทำตลาดแบบสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า
(Positioning Magazine มีนาคม 2550)
สินทรัพย์สะออน โชว์ทีมสะอิ้ง
โมเดลการบริหารศิลปิน (Artist Management) นับเป็นกระบวนยุทธ์รูปแบบใหม่ของการทำธุรกิจบันเทิง ถือเป็นกรณีศึกษาสำคัญของการบริหารศิลปินยุคใหม่ ซึ่งมี บริษัท ไอแอม จำกัด หรือ IAM (Image and Asset Management) บริษัทในเครือของอาร์เอส ที่รับผิดชอบในการบริหารศิลปิน โดย ประสงค์ รุ่งสมัยทอง บิ๊กบอร์ดคนสำคัญของไอแอม ได้อธิบายถึงโมเดลการบริหารศิลปินโปงลางสะออน อย่างเจาะลึกและน่าสนใจอย่างยิ่ง
(Positioning Magazine มีนาคม 2550)
AF โชว์ เพื่อ เงิน ๆ ๆ
เงิน เงิน เงิน ละครเพลงเรื่องแรก ที่ค่ายยูบีซี แฟนเทเชีย ประเดิมจัดเป็นครั้งแรกในปีนี้ และเป็นประจำทุกวันเสาร์และอาทิตย์ ตั้งแต่ 10.00 -22.00 น.โดยประมาณ ที่สตูดิโอ 1 สถาบันกรมประชาสัมพันธ์ (สถานที่นี้ถูกเปลี่ยนจากสตูดิโอมูนสตาร์เดิม) เป็นเวลาติดต่อกันร่วม 2-3 เดือน บรรดาเหล่าศิลปิน AF รุ่นพี่ปี 1 ปี 2 และปี 3 ที่ถูกคัดเลือก ตั้งแต่ ซีแนม จุ้มจิ้ม ปอ อ๊อฟ (AF ปี 2) บอย พัดชา ว่าน โจ มิว พาส เปรี้ยว ตุ้ย มิ้น ตูน ก้อ โด่ง ซาร่า และเปิ้ล-รี่ จะหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนสลับหน้ากัน (หากไม่ติดภารกิจด่วน) มาเรียนแอ็กติ้ง ร้องเพลงและซ้อมเต้นละครกันอย่างขะมักเขม้น
(Positioning Magazine มีนาคม 2550)
จุ้มจิ้ม คุณหมอศิลปิน
คุณหมอ (ทันตแพทย์) สาวสวย ที่ออกตัวว่าไม่ถนัดทั้งร้องและเต้น แต่ถ้าเป็นเรื่องพูดคุยนี่ถนัด ด้วยความจริงใจและความอ่อนโยน จึงไม่แปลกที่ทำให้ “จุ้มจิ้ม-กิตติลักษณ์ จุลลัษเฐียร”สามารถครองใจและเรียกคะแนนสงสารจากแฟนๆ ได้กลุ่มใหญ่ แต่การที่อยู่ทนหลายสัปดาห์ในเวทีประกวด Academy Fantasia ปี 1 หรือ AF1 ก็สร้างกระแสต้านจากแฟนๆ ของนักล่าฝันคนอื่น และสร้าง Talk of the town ในช่วงนั้นไม่น้อยเช่นกัน
(Positioning Magazine มีนาคม 2550)
ว่าน ล่าฝันนักแต่งเพลง
ชายหนุ่มคนนี้ แจ้งเกิดจากเวทีอะคาเดมี่ ปี 2 จากเด็กหนุ่มขี้อาย ค่อนข้างเก็บเนื้อเก็บตัว กลายมาเป็นศิลปินหนุ่มเนื้อหอม เป็นมิตรกับทุกคน เพียงระยะเวลาไม่กี่เดือน หลังจากว่าน- ธนกฤต พานิชวิทย์ ชายหนุ่มเมืองนนท์ วัย 21 ปีตัดสินใจประกวดอะคาเดมี่ แฟนเทเชีย เพราะอยากสานฝันที่อยากเป็นนักแต่งเพลงให้เป็นจริง และพิสูจน์ตัวเองให้ครอบครัวยอมรับในอาชีพ “นักดนตรี” ที่เขาลงทุนเลือกเรียนเป็นวิชาเอก
(Positioning Magazine มีนาคม 2550)
บอย ชีวิตล่าฝัน
จากเด็กหนุ่มเชียงใหม่ธรรมดาๆ กลายมาเป็น “ศิลปินชื่อดัง” จากเวที Academy Fantasia ที่มีแฟนคลับสาวน้อย สาวใหญ่คลั่งไคล้ “บอย-พิษณุ นิ่มสกุล” หรือ V8 จากเวทีประกวดนักล่าฝันปีที่ 2 วันนี้ฝันของเขาเป็นจริงบนเส้นทางชีวิต...ที่แตกต่างจากเดิมอย่างสิ้นเชิง
(Positioning Magazine มีนาคม 2550)