ชาติ กอบจิตติ นักเขียนดับเบิลซีไรต์คนแรกของไทย
นักเขียนดับเบิลซีไรต์คนแรกของไทย จากเรื่อง คำพิพากษา และ เวลา ซึ่งวันนี้เขารับบทบาทเป็นคุณครูผู้แนะนำการเขียนอยู่ที่บ้านไร่บนรอยต่อ 3 จังหวัดบ้านเกิด และยังเปิดสำนักพิมพ์ของตัวเองใช้ชื่อว่า “หอน” โดยมีโลโก้สำนักพิมพ์เป็นรูปหมา เรื่องสั้นเรื่องแรกคือ "นักเรียนนักเลง"
(Positioning Magazine ตุลาคม 2548)
รงค์ วงษ์สวรรค์ พญาอินทรีย์
ผู้ประสบการณ์ที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการสิ่งพิมพ์ไทยมากว่า 50 ปีของรงค์ วงษ์สวรรค์ เขาถือเป็น 1 ใน 3 นักเขียนที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย อีก 2 คนคือหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช และ ส.ศิวรักษ์ เขาเป็นนักเขียนที่บรรยายบรรยากาศ สถานการณ์ ได้อย่างกินใจ และเห็นภาพ
(Positioning Magazine ตุลาคม 2548)
กฤษณา อโศกสิน ราชินีแห่งสวนอักษร
นามปากกา “กฤษณา อโศกสิน” เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อปี 2501 จากนวนิยายเรื่อง “วิหคที่หลงทาง” ตีพิมพ์ใน “สตรีสาร” ผลงานชิ้นนี้ได้รับการตอบรับ จนกลายเป็นนามปากกาที่สร้างชื่อให้เธอ และสร้างผลงานออกมาอย่างมากมาย เช่น น้ำผึ้งขม, ระฆังวงเดือน, ชลธีพิศวาส
(Positioning Magazine ตุลาคม 2548)
พนมเทียน ราชันนักเขียน
นักเขียนชายวัยย่าง 74 ปี ชื่อ ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ ที่มีนามปากกา “พนมเทียน” เริ่มต้นงานเขียนด้วยวัยเพียง 17 ปี ขณะเรียนอยู่ในสายอักษรศาสตร์ของสวนกุหลาบวิทยาลัย เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชา ภาษาสันสกฤตและประวัติศาสตร์อินเดียโบราณ จาก มหาวิทยาลัยบอมเบย์ ประเทศอินเดีย
(Positioning Magazine ตุลาคม 2548)
ทมยันตี เบอร์ 1 แห่งวรรณกรรม
“ทมยันตี” มีชื่อจริงว่า วิมล ศิริไพบูลย์ เจ้าของนวนิยาย "คู่กรรม" ที่โด่งดัง เป็นคนกรุงเทพฯ จบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับการฝึกฝนเรื่องการอ่านเขียนมาตั้งแต่เด็กๆ ได้เริ่มเขียนเรื่องสั้นในวัยเพียง 14 ปี จากการได้ลงพิมพ์ครั้งแรกที่ “ศรีสัปดาห์” หลังจากเขียนเรื่องสั้นอยู่ 11 ปี
(Positioning Magazine ตุลาคม 2548)
บินหลา สันกาลาคีรี นักเขียนซีไรต์ปี 48
เจ้าของรางวัลวรรณกรรมยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประเทศไทย ประจำปี 2548 กับผลงานเรื่อง “เจ้าหงิญ” ไม่ใช่เจ้าหญิง เป็นผลงานรวมเรื่องสั้นที่ 3 ของบินหลา ชื่อจริงของเขาก็คือ วุฒิชาติ ชุ่มสนิท หรือ ต้อ ถึงแม้ว่าเขาจะเรียนไม่จบคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ แต่ก็ได้ทำงานหนังสือมาโดยตลอด
(Positioning Magazine ตุลาคม 2548)
“วินทร์ เลียววาริณ” นักเขียนสองซีไรต์
ยุคนี้หนังสือขายดีมักเป็นเรื่องเล่าของคนมีชื่อเสียง และดาราขวัญใจประชาชน จนกลายเป็นกระแสนิยมให้คนบันเทิงแห่ออกหนังสือเล่มกันมากขึ้น แต่จำเป็นต้องอาศัยจังหวะชื่อฮิตติดชาร์ตเท่านั้นหนังสือถึงขายได้
(Positioning Magazine ตุลาคม 2548)
ปราบดา หยุ่น
งานเขียนของเขาออกแนวแปลก ลึก ที่โดนใจคนรุ่นใหม่ที่ชอบแสวงงานเขียนสไตล์ใหม่ๆ ปราบดาทำทั้งงานเขียน งานแปล งานศิลปะ แถมงานเขียนของเขาที่ “ความน่าจะเป็น” ที่พิมพ์ถึง 11 ครั้ง ก็ได้รับรางวัลซีไรต์ ปี 2545 อีกด้วย เรื่องสั้นเรื่องแรกที่เขาเขียนก็คือ “คนนอนคม” ที่เขียนส่งให้กับนิตยสารแพรว และเขียนวิจารณ์หนังเป็นภาษาอังกฤษลง Nation Weekly
(Positioning Magazine ตุลาคม 2548)
กรกฏ พัลลภรักษา
ถ้าใครเป็น Armchair Traveler ก็คงจะรู้จักและคุ้นเคยกับเธอดี เพราะงานเขียนของนิ่ม หรือ กรกฏ พัลลภรักษา ที่ออกมานั้นจะเป็นหนังสือท่องเที่ยว ที่อ่านง่าย ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านตัวละคร (ที่มีอยู่จริง) และประสบการณ์ที่เธอได้ไปเผชิญมา
(Positioning Magazine ตุลาคม 2548)
เพลงดาบแม่น้ำร้อยสาย
เป็นนามปากกาแสนเก๋ของ กาเหว่า-ชลลดา เตียวสุวรรณ ที่มีที่มาจากละครญี่ปุ่น "ซามูไรพ่อลูกอ่อน" โดยเพลงดาบแม่น้ำร้อยสายเป็นชื่อท่าไม้ตายของโองาทิ อิโต พระเอกของเรื่อง เธอมีผลงานเขียนในหลายรูปแบบ ทั้งเรื่องสั้น ละคร บทกวี และยังมีผลงานเขียนบทภาพยนตร์ “วัยอลวน ตั้ม-โอ๋ รีเทิร์น” อีกด้วย
(Positioning Magazine ตุลาคม 2548)