วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ Modern Rebelling Publisher
“โหน่ง A day” เป็นเสมือนโลโก้ของแบรนด์ “วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์” ซึ่งปีที่แล้วโหน่งได้รับเลือกจากผู้อ่านนิตยสาร POSITIONING ให้เป็น Young Executive ในลำดับที่ 8 แต่ทว่าปีที่ 2 นี้ อันดับของเขาตกลงมาเล็กน้อย ส่วนหนึ่งคงมาจากหนุ่มสาวรุ่นใหม่ที่เป็นแฟน “A day Weekly” ไม่พอใจที่นิตยสารปิดตัวกะทันหัน จึงหันไปเทคะแนนให้ผู้บริหารคนอื่น
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2548)
เวิร์คพอยท์ มาแว้ววว...สูตรขายเอนเตอร์เทนโรยสาระ
ถึงแม้ความดังของ “หม่ำ” จะไม่ใช่กระแสแรกเริ่มที่ทำให้เวิร์คพอยท์เห็นดีเห็นงามกับ การทำธุรกิจสำนักพิมพ์ แต่ดาราตลกเงินล้านคนนี้ ก็ทำให้ธุรกิจเอนเตอร์เทนเมนต์ของเวิร์คพอยท์ แตกไลน์สู่ความเป็นเวิร์คพอยท์ พับลิชชิ่ง ได้อย่างแข็งขัน และเป็นสื่อภาษาหนังสือเอนเตอร์เทนมาแรงแบรนด์หนึ่งที่มีของดีๆ ให้อวด
(Positioning Magazine ตุลาคม 2548)
มหากาพย์สงคราม...หนังสือแห่งชาติ
มหกรรมหนังสือแห่งชาติ...เวทีนี้ไม่ธรรมดา ถ้าเปรียบเป็นสงครามทางการตลาด ศึกนี้เป็นสมรภูมิรบระดับช้าง ซึ่งผู้ประกอบการสำนักพิมพ์ต่างงัดอาวุธทางการตลาด เปิดเพลงยุทธ์สู้กันชนิดใครดีใครอยู่
(Positioning Magazine ตุลาคม 2548)
เซเว่นฯ...ร้านนี้ทรงพลัง
ที่นี่ไม่ใช่ร้านขายหนังสือ... ใช่ ชื่อร้านก็บอกอยู่แล้วว่า ร้านนี้คือร้านเซเว่นอีเลฟเว่น แต่ใครจะรู้บ้างว่าร้านสะดวกซื้อแห่งนี้คือร้านค้าที่สำนักพิมพ์ หรือแม้แต่นักเขียนเอง ฝันใฝ่อยากนำพ็อกเกตบุ๊กมาจำหน่ายที่นี่มากที่สุด
(Positioning Magazine ตุลาคม 2548)
บุ๊กสโตร์ ทั้งโชว์ทั้งขาย
ร้านหนังสือ หรือบุ๊กสโตร์ จัดเป็นช่องทางหลักที่ก่อให้เกิดการหมุนเวียนของเม็ดเงินในธุรกิจหนังสือตลอดทั้งปี และเป็น showcase ชั้นเยี่ยมสำหรับหนังสือทุกประเภท ทำให้แต่ละสำนักพิมพ์มุ่งหวังจับจองพื้นที่อันโดดเด่น “พ็อกเกตบุ๊ก” ถือเป็นหัวใจหลักของร้านหนังสือส่วนใหญ่
(Positioning Magazine ตุลาคม 2548)
Ghostwriter คนเบื้องหลังหนังสือขายดี
น้อยคนนักจะรู้ว่าหนังสือขายดีบนแผง ทั้งชีวประวัตินักธุรกิจที่มีชื่อเสียง นักการเมืองเด่น หรือแม้แต่เรื่องรักๆ ของเหล่าดาราส่วนใหญ่เป็นผลงานที่จ้างให้คนอื่นเขียนให้เกือบทั้งนั้น เพราะพวกเขาเหล่านั้นมีข้อจำกัดเรื่องเวลา และความยากในการเรียบเรียงภาษาเขียนให้เป็นหนังสือที่น่าอ่าน
(Positioning Magazine ตุลาคม 2548)
สำนักพิมพ์…หมื่นล้าน เอนเตอร์เทนเมนต์ บนตัวหนังสือ...ใครดังก็ขายได้
หากพูดถึงธุรกิจดาวเด่นที่สุดในแวดวงสิ่งพิมพ์ปัจจุบัน คงไม่มีกลุ่มไหนโดดเด่นเท่า “ธุรกิจหนังสือเล่ม” เพราะเป็นธุรกิจที่มีเม็ดเงินสะพัดนับหมื่นล้านต่อปี อัตราการเติบโตไม่เคยต่ำกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ต่อปี เฉพาะปี 2547 ตลาดขยายตัว 20 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ปริมาณหนังสือเล่มใหม่ๆ ไหล่บ่าเข้าสู่ตลาดไม่น้อยกว่า 11,600 ปกต่อปี (2547) สะท้อนความเฟื่องฟูทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นดัชนีชี้วัดว่าคนไทยหันมานิยมอ่านมากขึ้น เพราะมีหนังสือดีๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการคนอ่านได้มากขึ้นจากอดีต
(Positioning Magazine ตุลาคม 2548)
หนังสือ แปลงลิขสิทธิ์ให้เป็นเงิน
หนังสือแปลในตลาดเมืองไทยไม่ใช่ของใหม่ เพราะเคยมีผลงานแปลจำนวนไม่น้อย ที่สำนักพิมพ์หลายแห่งเคยซื้อลิขสิทธิ์มาแปลขาย แต่ก็ไม่ฮิตติดตลาดเหมือนอย่างเวลานี้
(Positioning Magazine ตุลาคม 2548)
หนังสือเด็ก...เซ็กเมนต์สำคัญที่มิอาจมองข้าม
บริษัท รักลูกแฟมิลี่กรุ๊ป จำกัด ผู้ผลิตหนังสือและนิตยสารสำหรับเด็กและครอบครัว โดย สุภาวดี หาญเมธี กรรมการผู้จัดการ เป็นผู้ริเริ่มโครงการรักลูกอวอร์ด เปิดเผยความต้องการของพ่อแม่ไทยที่หันมาให้ความสนใจกับการอ่านหนังสือลูกมากขึ้น จากการศึกษาพฤติกรรมและความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้สื่อของผู้มาร่วมงานกิจกรรมของบริษัท เรื่อง “เสียงสะท้อนหนังสือเด็กไทยในใจพ่อแม่”
(Positioning Magazine ตุลาคม 2548)