ชัชวาลย์ โกศลอุดมคุณ ไม่ต้องยิ่งใหญ่ แต่มีคุณค่า
ชัชวาลย์ โกศลอุดมคุณ ชายหนุ่มร่างเล็ก อารมณ์ดี หัวเราะและยิ้มง่าย แต่พูดไม่ค่อยเก่ง นับเป็นลูกหม้อของ “Initiative”มีเดีย เอเยนซี่ อันดับ 2 ของประเทศไทย เรื่องราวของเขากับภารกิจในการวางแผนสื่อจึงน่าติดตาม
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2551)
Tie-in เนียนๆ สไตล์เอ็กแซ็กท์
ที่สตูดิโอมนตรี ลาดพร้าว 101 ทีมงานทั้งฝ่ายฉาก ช่างไฟ นักแสดง ผู้กำกับ ต่างกำลังง่วนเตรียมตัวพร้อมอัดรายการซิทคอม “เป็นต่อ” ขณะที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดของเอ็กแซ็กท์กำลังเช็กตำแหน่งสินค้าที่สปอนเซอร์ตกลงใช้เป็น Product Placement ในฉากต่างๆ อย่างละเอียด โดยเฉพาะในมินิมาร์ทใต้คอนโด ที่พลาดไม่ได้ ต้องเห็นชัดพอสมควร ไม่เช่นนั้นสปอนเซอร์อาจไม่พอใจ แต่ก็ต้องกลมกลืน เพราะหากตั้งใจมากเกินไป คนดูอาจเบื่อหน่าย
(Positioning Magazine มกราคม 2551)
โหนกระแส CSR
ไม่ทราบว่าเพราะการเมืองมันเครียดกันมากหรืออย่างไร ปลายปีที่ผ่านมาจึงได้เห็นโฆษณาชิ้นดีๆ แทบไม่เจอเอาเสียเลย หันไปทางไหนก็มีแต่ฮาร์ดเซลส์…ฮาร์ดเซลส์…ฮาร์ดเซลส์…ที่ไร้รสนิยมเกร่อไปหมด นี่ไม่นับบรรดาโฆษณาชั้นดีที่มาจากต่างประเทศกันทั้งดุ้น ซึ่งอยู่นอกเหนือการพิจารณาตรงนี้
(Positioning Magazine มกราคม 2551)
ไมค์เคิล พูนพิพัฒน์ “อยากให้โลกโฆษณา Clickable”
“ถ้าคุณได้ฟังวิสัยทัศน์ของซีอีโอบริษัท คุณจะเห็นชัดว่าความสำคัญด้านการสื่อสารตลาดบนโลกดิจิตอลกำลังจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้น โฆษณาออนไลน์จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การวางแผนโฆษณาครบ 360 องศาอย่างแท้จริง” ไมค์เคิล พูนพิพัฒน์ กรรมการผู้จัดการ ประจำประเทศไทย บริษัท บลูฟรีเวย์ ประเทศไทย จำกัด พูดถึงสาเหตุที่ทำให้เขาตัดสินใจเข้ามาร่วมงานกับบลูฟรีเวย์
(Positioning Magazine มกราคม 2551)
จาก Soap Opera ถึง ไฮเทค สุดหรู
ในฝรั่งเศส ที่คนส่วนใหญ่ใช้เปอโยต์ แต่เบนซ์ของพระเอกอย่างนิโคลัส เคจ และเพื่อนกำลังขับหนีคู่แข่ง ที่กำลังพยายามหาเอกสารโบราณเพื่อถอดรหัส อักษรโบราณเพื่อไขไปสู่ขุมทรัพย์ Gold City
(Positioning Magazine มกราคม 2551)
ซอฟต์เซลส์ เสน่ห์หนัง ดึง Product Placement
จุดแข็งของหนังที่คนดูไม่มีรีโมตในมือคอยเปลี่ยนช่องทำให้หนังเมื่อขายสปอนเซอร์ด้วยข้อเสนอ Tie-in สินค้าในเนื้อเรื่องจึงมีรายได้เป็นกอบเป็นกำมากกว่า “มณฑล อารายางกูร” ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ส่วนกลยุทธ์การตลาด สายงานภาพยนตร์ อาร์เอส บอกว่านี่คือศิลปะที่เป็นแบบ Soft Sales มากที่สุดแล้ว และความได้เปรียบของหนังที่อาร์เอสเห็นโอกาสนี้ ทำให้อาร์เอสเดินกลยุทธ์นี้ ตามนโยบายของผู้บริหารที่บอกว่า ต่อไปนี้ค่ายอาร์เอสทำหนังไม่มีวันขาดทุน จากการนำการตลาดเข้ามาใช้อย่างครบวงจร โดยส่วนหนึ่งมาจาก Product Placement ในหนัง
(Positioning Magazine มกราคม 2551)
ซิทคอม “นัด” เจอไทยพาณิชย์
ไม่เพียงสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน อย่าง สบู่ ยาสีฟัน ยาสระผม หรือแม้แต่ไวท์เทนนิ่ง โทรศัพท์ กล้องดิจิตอล ที่เป็นขาประจำในกลยุทธ์ Product Placement ยังมีสินค้าบริการทางการเงิน ที่จับต้องได้ยาก ก็ต้องพึ่งพิงกลยุทธ์นี้
(Positioning Magazine มกราคม 2551)
Beyond Tie-in
“Tie-in ไม่มีคำอธิบายชัดเจน ปัจจุบันเป็นแค่กิมมิกหรือช่องทางหนึ่งของแบรนด์เอ็กซ์พอเชอร์ โดยมีข้อกำหนดว่า ทำอย่างไรให้มีการเผยแพร่แบรนด์ออกไปให้ได้ตามวัตถุประสงค์ของลูกค้าหรือแบรนด์ที่ตั้งไว้”...สุธิดา เสียมหาญ ผู้อำนวยการแบรนด์เอ็กซ์พีเรียนซ์ อินนิชิเอทีฟ มีเดีย (ไอเอ็ม) ให้คำจำกัดความของการไทร์อิน หรือโปรดักส์เพลสเมนต์
(Positioning Magazine มกราคม 2551)
Product Placement เรตติ้งกระฉูด
จังหวะกดรีโมตคอนโทรลทีวีในมือคลิกเดียว คือเสี้ยววินาทีที่สามารถทำให้ผู้ชมหายไปอย่างง่ายดาย นี่คือสิ่งท้าทายของรายการทีวีและสินค้าต่างๆ ตลอดจนเอเยนซี่โฆษณาที่จะทำอย่างไรให้สินค้าที่มาเป็นสปอนเซอร์อยู่ในสายตาของผู้ชมบ่อย และนานอย่างได้ผลที่สุด Product Placement กลายเป็นคำตอบของนักการตลาด ที่แม้จะเป็นกลยุทธ์ที่ใช้กันมานานโดยเฉพาะในสื่อต่างประเทศ แต่ยุคนี้ในไทย ถือเป็นกระแสฮิตติดจออย่างยิ่ง ตั้งแต่รายการประเภทข่าว ละครยาว ละครซิทคอม เกมโชว์ หรือแม้แต่ภาพยนตร์ ต่างไม่หลุดเทรนด์
(Positioning Magazine มกราคม 2551)