“แคมเปญหมดห่วง” ของ กรุงเทพประกันภัย
นอกเหนือจากภาพยนตร์โฆษณาไร้ไอเดียแนว Back to school ที่เกลื่อนจอในเวลานี้ “กรุงเทพประกันภัย” ฉายความโดดเด่นตามแบบฉบับ “มุกเด็ด มุกฮา” ด้วยการนำเสนอแบบ Comedy ชั้นเซียนและสดใหม่ อันเป็นสไตล์ถนัดของ ครีเอทีฟ จูซ จีวัน ที่สร้างสรรค์งานโฆษณาของกรุงเทพประกันภัยมาตั้งแต่ต้นเมื่อปี 2548 จนสร้างชื่อติดทำเนียบบริษัทประกันภัยที่ได้รับความนิยมสูงขึ้นเป็นลำดับ และสามารถสร้างแบรนด์ให้มีความแตกต่างจากคู่แข่งที่มีกว่า 80 บริษัท ได้
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2551)
“ไทยประกันภัย” ทำให้เป็นเรื่อง “ง่าย”
สำหรับไทยประกันภัยแล้ว “พณิตา ตู้จินดา” กรรมการผู้จัดการ ยอมรับว่าแคมเปญ “เอเชีย 3 พลัส” ทำให้ธุรกิจประกันภัยคึกคักมากขึ้น และถือเป็นประโยชน์สำหรับผู้บริโภค เพราะทำให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญของการทำประกันภัยมากขึ้น
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2551)
“ฟลอคอน” ยึดธีม “สดใสมีชีวิตชีวา”
“โอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูง บริษัท ฟอลคอน ประกันภัย จำกัด ยอมรับว่ากรมธรรม์ “เอเชีย 3 พลัส” เป็นกรมธรรม์ใหม่ที่ไม่เคยมีในตลาดมาก่อน ถือเป็นกลยุทธ์การตลาดที่น่าสนใจ ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ฟอลคอนต้องออกกรมธรรม์ประกันภัยประเภท 5 ซึ่งให้ความคุ้มครองคล้ายกับเอเชีย 3 พลัส
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2551)
น่านน้ำสีคราม “เอเชีย 3 พลัส”
เอเชียประกันภัย 1950 บริษัทประกันภัยที่ถูกจับตามองว่านำการตลาดมาใช้อย่างได้ผล แคมเปญ “เอเชีย 3 พลัส” สามารถกวาดต้อนลูกค้าใหม่ที่ไม่เคยยอมจ่ายเงินซื้อประกันมาก่อน ส่งผลให้ยอดขายของเอเชียประกันภัยเติบโตถึง 100% จากที่มีส่วนแบ่งการตลาดไม่ถึง 1% ความสำเร็จของ “เอเชียประกันภัย” ยังถูกยอมรับ เป็นบริษัทประกันภัยรายแรกที่ได้รางวัลชนะเลิศการประกวดสุดยอดแคมเปญการตลาดบนเวที “MAT AWARD” ของสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ปี 2007
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2551)
แมวอ้วน (ป้ายแดง)
ความเข้าใจของคนทั่วไป เมื่อเอ่ยถึงคำว่า แมวอ้วน มีความหมายในเชิงลบเสมอ ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นเรื่องน่าแปลกใจไม่น้อย เมื่อเห็นโฆษณาทางโทรทัศน์ของบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด ในชุดแรกออกมาเมื่อปีก่อนในเรื่องนี้ และอดคิดไม่ได้ว่า เกิดอะไรขึ้นสำหรับผู้บริหารสูงสุดจอมขยันอย่างสาระ ล่ำซำ คนหนุ่มเจ้าไอเดีย ที่รีแบรนด์ภาพลักษณ์ของบริษัทประกันชีวิตที่เคยคร่ำครึมาตั้งแต่ยุคผู้บริหารรุ่นก่อนๆ ของตระกูลล่ำซำ ให้กลายเป็นสีบานเย็นที่หวานแหวว และมีชีวิตชีวา
(Positioning Magazine เมษายน 2550)
เมืองไทยประกันชีวิตนะ ไม่ใช่...
คุณจำให้ดีว่า เมืองไทยประกันชีวิต นะ! ไม่ใช่ ไทยประกันชีวิต...คำพูดนี้ล่ะที่ สาระ ล่ำซำ ซีอีโอ เมืองไทยประกันชีวิต พยายามย้ำหนักย้ำหนา เพราะที่ผ่านมาลูกค้าใหม่และเก่าบางรายสับสนกับคำชื่อบริษัทดังกล่าว ทำให้บางคนถึงขนาดเข้าใจผิดคิดว่าเป็นบริษัทเดียวกัน
(Positioning Magazine มิถุนายน 2549)
สาระ ล่ำซำ จุดเปลี่ยนของชีวิต
เส้นทางชีวิตของสาระ ถูกกำหนดไว้ตั้งแต่ต้น เขาต้องใช้เวลา 12 ปีเต็ม ในการบ่มเพาะความรู้ และประสบการณ์ ในธุรกิจประกันชีวิต เพื่อรับสืบทอดกิจการเมืองไทยประกันชีวิต ต่อจากผู้เป็นพ่อ โพธิพงษ์ และภูมิชาย ล่ำซำ ผู้เป็นอา
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2548)
นวลพรรณ ล่ำซำ ถึงคราว (ตัวเอง) รี-แบรนด์?
แวดวงนักธุรกิจไฮโซ น้อยคนนักที่ไม่รู้จักเธอ "นวลพรรณ ล่ำซำ" หรือ "คุณแป้ง" เพราะชื่อเธอถูกแบรนด์ดิ้งจนโด่งดังในฐานะผู้นำเข้าและผู้ทำตลาดสินค้าแบรนด์หรูจากต่างประเทศ อาทิ แอร์เมส, เอ็มโพลิโอ และทอดส์ โรโด อันมีลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคนแวดวงผู้มีกำลังซื้อสูง
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2548)
เสี่ยงเป็นเสี่ยงกัน
หลังประกาศปรับภาพลักษณ์องค์กรครั้งใหญ่ เริ่มต้นด้วยการเปลี่ยนโลโก้ให้ดูเรียบง่าย แต่แฝงความหมายเมื่อปลายปีก่อน มาปีนี้เทเวศประกันภัยรุกหนักด้วยโฆษณาชุด “Hand” ทดแทนโฆษณาเก่าที่ผ่านมาแล้ว 6 ปี เพื่อสร้างความคุ้นเคยในภาพลักษณ์ใหม่ขององค์กร และเจาะขยายสู่ฐานลูกค้ารายย่อย โดยเฉพาะกลุ่มประกันภัยรถยนต์มากขึ้น โดยมีอวิรุทธ์ วงศ์พุทธพิทักษ์ ประธานกรรมการบริหาร เทเวศประกันภัย และ ตรง ตันติเวชกุล ในฐานะครีเอทีฟ ไดเร็กเตอร์ Y&R ร่วมกันแถลงข่าว
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2548)
สาระ ล่ำซำ new look
ถ้าไม่นับบัณฑูร ล่ำซำแล้ว “สาระ ล่ำซำ” เป็นรุ่นที่ 2 ของตระกูล “ล่ำซำ”ที่ได้โอกาสขึ้นบริหารงานในธุรกิจเก่าแก่ของตระกูล ที่ยังคงความเป็นธุรกิจครอบครัวมากที่สุด สาระ ล่ำซำ เป็นรุ่นที่ 3 ของบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต ที่ได้ขึ้นรับตำแหน่ง “กรรมการผู้จัดการ” ต่อจาก ภูมิชาย ล่ำซำ ผู้เป็นอา ที่ขึ้นไปนั่งในตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร โดยเป็นส่วนหนึ่งของการปรับโครงสร้างองค์กร เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2547
(Positioning Magazine ธันวาคม 2547)