ทรูวิชั่นส์ : Content ปั้นแบรนด์
อนาคตที่สดใสของทรูวิชั่นส์ เพิ่งจะฉายแววชัดขึ้น หลังรวมเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มทรูคอร์ป ภายใต้สโลแกนบริษัทแม่ Better Together ทรูวิชั่นส์เป็นองค์กรหนึ่งของไทยที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมานับครั้งไม่ถ้วน ทั้งการฟันฝ่ากับวิกฤตเศรษฐกิจ ที่ทำให้ผู้ประกอบการต้องหันมารวมตัวกันเพื่อความอยู่รอด และไม่ได้เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว แต่ทรูวิชั่นส์ผ่านสถานการณ์เปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง ก่อนจะกลายมาเป็นบริษัทในเครือทรูคอร์ปอเรชั่นอย่างเต็มตัวเมื่อกลางปี 2006
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2551)
ช่องแบรนด์ “ทรู” โปรเจ็คท์ดาวรุ่งของทรูวิชั่นส์
ว่ากันว่าช่องที่พะยี่ห้อ “ทรู” อาทิ True X-zyte, True Series, True Inside, True Film Asia, True Movie Hits, True Spark และ True Explorer เป็นช่องสาระบันเทิงที่ทรูวิชั่นส์จัดผังและคัดสรรคอนเทนท์มาจากต่างประเทศและในประเทศ คือหัวใจดวงใหม่ของทรูวิชั่นส์ และกลายเป็นทัพสำคัญในการขยายฐานสมาชิกเพื่อเจาะกลุ่มแมสให้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็เป็นช่องที่ช่วยเสริมภาพลักษณ์ของการเป็นผู้นำที่ครอบคลุมเนื้อหาอย่างครบถ้วนของทรูวิชั่นส์ได้เป็นอย่างดี
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2551)
HD ความท้าทายที่ต้องตัดสินด้วยตาเปล่า
การพัฒนาความคมชัดของสัญญาณภาพทีวีนับแต่เริ่มมีทีวีมากว่า 60 ปีบนโลกใบนี้ เป็นสิ่งสะท้อนความต้องการที่ไม่สิ้นสุดของคนดูทีวีได้ชัดเจน และนั่นคงจะเป็นเหตุผลที่ตอบคำถามได้ดีที่สุดว่า ผู้ชมรายการผ่านทีวีจะรู้สึกอย่างไรหากภาพและเสียงที่ส่งมานั้นคมชัดขึ้นกว่าเดิมอีกถึง 5 เท่า นี่คือโจทย์การทำตลาดของระบบ HD ที่ทรูวิชั่นส์ต้องหาวิธีให้สมาชิกตอบรับความแตกต่างของสัญญาณภาพที่ต้องการการตัดสินด้วยตา
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2551)
PVR ดูทีวีในแบบที่เป็นคุณ
จะดีแค่ไหน ถ้ามีช่องส่วนตัวให้คุณได้บันทึกรายการโปรด สร้างเป็นโปรแกรมส่วนตัวตามชอบ หรือจะสั่งหยุด เล่นซ้ำ หรือถอยหลัง ควบคุมรายการสดได้ไม่ต่างจากการควบคุมเครื่องเล่นดีวีดี แต่ทั้งหมดเป็นเรื่องที่ทำได้ผ่านรีโมทคอนโทรลที่คุณคุ้นเคย
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2551)
เอ็นบีซีดึงพลังหญิง
พลังผู้หญิงยังคงมาแรงในโลกธุรกิจการตลาด เพราะไม่เช่นนั้น “เอ็นบีซี ยูนิเวอร์แซล” คงไม่ย้ำความเป็นเครือข่ายทีวีที่วาง Positioning เจาะตลาดผู้หญิง ด้วยการประกาศแผนล่าสุด ซื้อกิจการ “ออกซิเจน มีเดีย” ด้วยมูลค่า 925 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อดึงสปอนเซอร์ที่เน้นลูกค้าผู้หญิง เป็นแผนการเทคโอเวอร์ต่อเนื่องจากปีที่แล้วของเอ็นบีซี ยูนิเวอร์แซล ที่ซื้อกิจการ “ไอวิลเลจ” ซึ่งเป็นเว็บไซต์สำหรับผู้หญิง มูลค่า 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2550)
อรรถพล ณ บางช้าง พ่อมด เอนเตอร์เทนเมนต์
ใช่...มันไม่น่าเชื่อ! คำอุทานที่กำลังสะท้อนให้เห็นถึงผลงานของนักบริหารคนนี้ “อรรถพล ณ บางช้าง” บิ๊กเอนเตอร์เทนเมนต์ ที่เปรียบเหมือน “พ่อมด” คนหนึ่งในวงการบันเทิง ด้วยบทบาทสำคัญที่ใครต่อใครเรียกเขาว่า “นักซื้อรายการบันเทิงระดับโลก” ผู้อยู่เบื้องหลังหลายๆ ดิวธุรกิจระดับพันล้าน ไมว่าจะเป็นลิขสิทธิ์ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก การสร้าง AF Academy Fantasia และคอนเทนต์อีกมากมายบนจอทีวี
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2550)
ปรากฏการณ์ YouTube ฝันร้ายของฟรีทีวี สู่ยุคทีวีล้านช่อง วิดีโอล้าน Links
ในขณะที่ธุรกิจทีวีแบบเดิมกำลังประสบความสำเร็จอย่างชนิดที่ไม่เคยมีมาก่อนทั้งในแง่เม็ดเงินโฆษณาและกระแสเรตติ้งความนิยม แต่ในช่วงสามปีหลังที่ผ่านมา สื่อวิดีโอดิจิตอลกระแสใหม่ได้เริ่มก่อตัวอย่างเงียบๆ และเริ่มจุดอุณหภูมิการแข่งขันร้อนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ตามกระแสเว็บวิดีโอ ที่การระบาดแบบ Viral Video ของคลิปวิดีโอจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่งเป็นไปอย่างรวดเร็วชั่วพริบตา
(Positioning Magazine ตุลาคม 2550)
Power of Video Clip
ไม่ต้องพึ่งทีวี ไม่ต้องรอเวลาแพร่ภาพ แต่มีเรื่องให้เลือกดูแบบไม่จำกัด ทั้งใหม่ และเก่า ชนิดที่หาดูไม่ได้ในทีวี “วิดีโอคลิป”
(Positioning Magazine ตุลาคม 2550)
อินไซด์เกาะติดเกมแบบสยามสปอร์ตฯ
ไม่ต้องทุ่มเงินซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด ไม่ต้องจ้างมืออาชีพมาบรรยายเกม แต่สื่อยักษ์ใหญ่อย่างสยามสปอร์ตฯ สามารถใช้ความเป็นนักสื่อสารมวลชน นำ “คอนเทนต์” ด้านกีฬามาสร้างกระแส หนึ่งในกลยุทธ์สำคัญ คือ การส่งนักข่าวไปรายงานสดถึงขอบสนาม
(Positioning Magazine สิงหาคม 2550)
BLOG Culture
โลกออนไลน์ทั้งเมืองไทยและเมืองนอกมาถึงจุดเปลี่ยน สื่อเก่าตายไป-สื่อใหม่เกิดมาแทนที่ คอนเทนต์แบบเดิมที่เคยแยกประเภทเป็นงานเขียน ทีวี วิทยุและเพลง ได้เปลี่ยนร่างกลายพันธุ์เป็น บล็อก เป็นพอดคาสต์ เสิร์ชเอ็นจิน โปรแกรมแชตเมสเซ็นเจอร์ เป็นแคมฟร็อก เป็นเคเบิลทีวีแบบอินเตอร์แอคทีฟ กูเกิลเอิร์ธ์ เรียลลิตี้ทีวี วิทยุออนไลน์ เครื่องเล่นเอ็มพีสาม สารานุกรมฉบับบออนไลน์อย่างวิกิพีเดีย และอีกสารพัดรูปแบบที่พลิกผันไป
(Positioning Magazine กรกฎาคม 2550)