ไทยเพรซิเด้นท์-นอร์ดสตอร์ม องค์กรยั่งยืนแบบพอเพียง
เปิด 2 กรณีศึกษาองค์กรธุรกิจที่สามารถฟันฝ่าวิกฤต และยึดแนวทางปฏิบัติสร้างธุรกิจให้สามารถอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน สอดคล้องกับหลักทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเป็นรูปธรรม
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2551)
วิถี CEO ในวิกฤต
ทุกเช้าซีอีโอของบริษัทยักษ์ใหญ่เกือบทุกบริษัทต้องเดินเข้าห้องประชุมพร้อมกับทีมผู้บริหารจากทุกฝ่าย ใช้เวลาเฉลี่ยอย่างน้อยครึ่งชั่วโมงพูดคุยกัน เพราะเวลานี้ไม่ใช่ช่วงของการนั่งนิ่งๆ อยู่ในห้องทำงานของตัวเอง แต่เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินต้องมอนิเตอร์ความเปลี่ยนแปลงโลก เจาะลึกถึงปัญหา ความเสี่ยงในธุรกิจทั้งหมดของตัวเอง และแก้ไขได้อย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันไม่ให้ยอดขายหลุดร่วง จนไม่สามารถอยู่ได้
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2551)
คนมากขึ้น แต่ขายน้อยลง
“เสี่ยใหญ่” บุญสิทธิ์ โชควัฒนา ที่นานทีปีหนจะออกโรงให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ปีนี้เบิล 2 ครั้งในเดือนมิถุนายนเดือนเดียว (ครั้งแรกงานแถลงข่าวว่าจะมีงานสหกรุ๊ปฯ ครั้งที่ 12 และครั้งสอง คือวันเปิดงาน) ส่วนใหญ่จะเป็นการคอมเมนต์ถึงภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ที่เสี่ยใหญ่เปรียบเทียบให้เห็นภาพว่า เหมือนเดินถอยหลังแต่มีคนขับ ขณะที่ปีที่แล้วไม่มีคนขับ
(Positioning Magazine กรกฎาคม 2551)
“ธนินท์ เจียรวนนท์” อิทธิพล “ทฤษฎี 2 สูง”
เคยอยู่เบื้องหลัง สนับสนุนทุกพรรคการเมือง แต่มาถึงรัฐบาลชุด “สมัคร สุนทรเวช” “ธนินท์ เจียรวนนท์” ประธานกลุ่มซีพี ผู้มีทรัพย์สินร่ำรวยติดอันดับเศรษฐีโลก ต้องออกมาขับเคลื่อน แนวคิด “ทฤษฎี 2 สูง” คือ การบริหารประเทศโดยปล่อยให้สินค้าราคาสูง และเงินเดือนสูงตาม กลายเป็นแนวคิดโดดเด่นที่ถูกจับตามอง ที่สำคัญบางส่วนในข้อเสนอของ “ธนินท์” สามารถเบรกนโยบายบ้างข้อ และขณะเดียวกันบางส่วนก็กลายมาเป็นพิมพ์เขียวของนโยบายรัฐบาลชุด “สมัคร สุนทรเวช”
(Positioning Magazine มิถุนายน 2551)
เจริญ สิริวัฒนภักดี ยี่ห้อเจริญอะไรก็เป็นได้
ยิ่งเศรษฐกิจไม่ดี ยิ่งเห็นคนรวยชัดขึ้น อย่างกรณี “เจริญ สิริวัฒนภักดี” ปรากฏเป็นข่าวอย่างต่อเนื่อง มาจากการเป็น “นักซื้อ” ของเขา ที่ได้กว้านซื้อโครงการต่างๆ มากมาย ทั้งกิจการโรงแรม ธุรกิจเครื่องดื่มชูกำลัง แม้ว่าจะไม่ได้ปรากฏตัวอยู่ในข่าวด้วยตัวเอง หรือออกมาแสดงความคิดเห็นเรื่องใดๆ เลยก็ตาม
(Positioning Magazine มิถุนายน 2551)
แบรนด์ฮอลแลนด์ สามัคคีคือพลัง
หลายคนอดประหลาดใจไม่ได้ เมื่อเห็นสินค้าและแบรนด์ที่คุ้นตามาแสนนานในงาน Holland Village ว่าที่จริงแล้วนำเข้ามาจากเนเธอร์แลนด์ (ฮอลแลนด์) หรือนี่
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2551)
ดิจิตอลเซ็นเตอร์พ้อยท์ เกตเวย์ “สยามสแควร์”
สยามสแควร์กับแผนความเป็น “Walking Street Mall” แห่งแรกของประเทศไทย กำลังเข้าใกล้ความเป็นจริงมากขึ้น เมื่อสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตกลงเลือกแผนของยักษ์ใหญ่ด้านธุรกิจน้ำเมา และอสังหาริมทรัพย์ในเครือของ “เสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดี” เป็นผู้ลงทุนพัฒนาพื้นที่ใจกลางของสยามสแควร์ หรือ“เซ็นเตอร์พ้อยท์” ด้วยรูปแบบที่ทันสมัยทั้งลักษณะอาคาร สินค้า และกิจกรรมภายใน
(Positioning Magazine ตุลาคม 2550)
ปิดฉากตำนานเซ็นเตอร์พ้อยท์
ถ้าที่นี่เปรียบเป็นแบรนด์ เซ็นเตอร์พ้อยท์ถือเป็นแบรนด์คาแร็กเตอร์ที่ดำรงอยู่มาถึง 9 ปีเต็มในสยามสแควร์ แม้สถานที่นี้จะมีพื้นที่เพียง 1 ไร่เศษ แต่ที่นี่มี เรื่องราวและตำนานอันน่าจดจำ แม้จะมีด้านลบบ้าง แต่ชื่อเสียงของเซ็นเตอร์พ้อยท์ด้านบวก โดยเฉพาะในวงการตลาด ถือว่าเป็น สนามอีเวนต์ทางการตลาดที่บรรดาสินค้าใดอยากเจาะตลาดวัยรุ่น ย่อมต้องมาที่นี่
(Positioning Magazine ตุลาคม 2550)
ผังแม่บทที่ดินโฉมใหม่ของสยามสแควร์
เซ็นเตอร์พ้อยท์ (ดิจิตอล คอนเซ็ปต์) ผังแม่บทกำหนดสเป็กให้เป็นอาคารสูงไม่เกิน 4 ชั้น สร้างคร่อมพื้นที่เดิมประมาณ 1 ไร่เศษ เชื่อมเกตเวย์รถไฟฟ้าบีทีเอส มีสกายวอร์ค หรือทางเดินยกระดับสูง เป็นแกนเชื่อมระหว่างชั้นสองสาม ของอาคาร ต่อไปยังพื้นที่ฝั่งมาบุญครอง และเชื่อมกับราชประสงค์
(Positioning Magazine ตุลาคม 2550)
“Walking Street Mall” สยามสแควร์
ความเปลี่ยนแปลงที่เซ็นเตอร์พ้อยท์ เป็นหนึ่งในแผนการพัฒนาพื้นที่ที่ดร.บุญสมบอกว่า ได้วาง Positioning ของสยามสแควร์ให้เป็น “Walking Street Mall” แห่งแรกของประเทศไทย ที่มีคอนเซ็ปต์ให้ความสำคัญกับคนเดินเท้า หรือที่เรียกว่า Pedestrian Priority โดยการปรับภูมิทัศน์ให้ร่มรื่น และไม่มีรถวิ่งผ่านในพื้นที่ จากเดิมภาพของสยามสแควร์จะมีเพียงตึกแถว และบางมุมเป็นมุมอับ ซอกซอยที่ภูมิทัศน์ไม่ดีนัก เช่น ที่วัยรุ่นเรียกกันว่าตรอกหนูดำ และ ซอยแมลงสาบ
(Positioning Magazine ตุลาคม 2550)