เกมเขย่าชาสร้างแบรนด์
สินค้าใหม่ๆ ที่มีวิธีกินหรือวิธีใช้แปลกใหม่ เป็นเรื่องท้าทายเสมอสำหรับนักการตลาดว่าจะทำให้ผู้ใช้รับรู้และเข้าใจง่ายที่สุด ล่าสุด “โออิชิ” เลือกใช้เกมบนเฟซบุ๊กมาเป็นสื่อโฆษณาที่ตอบได้ทั้งโจทย์การสร้าง Product Knowledge และ Brand Awareness ให้กับชาเขียวแบบใหม่ Oishi Matcha ซึ่งเป็นน้ำแร่บรรจุขวดพร้อมซองชาเขียวผงที่ต้องใส่ลงไปเขย่าให้เข้ากันแล้วดื่มเพื่อรสชาติที่สดใหม่ ไม่สามารถบรรจุได้จากโรงงาน เพราะจะตกตะกอนแบ่งเป็น 2 ชั้นดูไม่น่าดื่มและเสียรสชาติ
(Positioning Magazine มกราคม 2553)
“สวย...สั่งได้”
หลังจากใช้เวลาบ่มตลาดมาหลายปี เครื่องดื่ม Functional Drink ได้เวลาจุดระเบิดความแรง เชื่อว่าปี 2553 จะเติบโตไม่ต่ำกว่า 300% ซึ่งครั้งนี้จะมีแบรนด์ใหญ่จากญี่ปุ่นเข้าสู่ไทยไม่น้อยกว่า 2 แบรนด์ จากเดิมที่มีแต่แบรนด์ไทย นับเป็นตลาดที่เดินตามรอยตลาด “ชาเขียว” เมื่อ 5 ปีที่แล้ว
(Positioning Magazine มกราคม 2553)
Strategic Alliance ต้องมาเป็นคู่
แม้ Strategic Alliance จะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเทรนด์ที่ทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในยุคเศรษฐกิจผันผวน ที่ใครๆ ก็ต่างต้องหาที่พึ่ง ร่วมกันแชร์ทั้งเงินทุนและฐานลูกค้า เพื่อก้าวต่อไปในโลกธุรกิจอย่างมั่นคง และประสบความสำเร็จในระยะยาว
(Positioning Magazine ธันวาคม 2552)
สร้างสมดุล
หลังจากประสบความสำเร็จกับแบรนด์ “โออิชิ” ทั้งในแง่ยอดขาย และแคมเปญที่โดนใจกลุ่มเป้าหมาย นับตั้งแต่รวยฟ้าผ่า จนถึง ไปแต่ตัว ทัวร์ยกแก๊งกับโออิชิ ภาค 2 ซึ่งทำให้ยอดขายเครื่องดื่มโออิชิในช่วงซัมเมอร์เติบโต 18% หรือทำยอดขายได้กว่า 1,100 ล้านบาท ใน 3 เดือน (มีนาคม-พฤษภาคม 2552) ครองส่วนแบ่งการตลาด 64% เป็นอันดับ 1 เช่นเคย จากมูลค่าตลาดรวม 4,800 ล้านบาท
(Positioning Magazine 19 กันยายน 2552)
ยังต้องปั้นต่อ
ด้วยตลาดกาแฟพร้อมดื่มที่มีมูลค่ามหาศาลถึง 10,000 ล้านบาท และมีการเติบโตต่อเนื่อง ล่าสุดโตถึง 13% สวนกระแสเศรษฐกิจ มาจากตัวสินค้าที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคยุคใหม่ ในเรื่องความสะดวกสบาย ทำให้ตลาดนี้เป็นที่สนใจของใครต่อใครมากมาย โดยเฉพาะเจ้าตลาดชาพร้อมดื่ม “โออิชิ”
แต่ตลาดนี้มี “เบอร์ดี้” จากค่ายอายิโนะโมะโต๊ะ ครองตลาดแบบเบ็ดเสร็จ โออิชิจึงเลือกที่จะลงเล่นในเซ็กเมนต์กาแฟพร้อมดื่มระดับพรีเมียม แทนที่จะเป็นกาแฟกระป๋องทั่วไป
(Positioning Magazine กรกฎาคม 2552)
เกี้ยวซ่า ฝันใหม่ของโออิชิ
นับจากชาเขียวพร้อมดื่มโออิชิแล้ว ก็ดูเหมือนว่าจะมี “โออิชิ เกี้ยวซ่า” ที่โดนใจตลาดแมส ขณะที่อะมิโนโอเค เซกิ และล่าสุด คอฟฟิโอ ที่โออิชิ กรุ๊ปยังต้องออกแรงผลักดันอีกไม่น้อย
(Positioning Magazine มีนาคม 2552)
ถึงคราว “ตัน” ต้องขอตัวช่วย
คอฟฟิโอเปิดตัวเมื่อต้นปี 2008 ด้วยความหวังอย่างเต็มเปี่ยมของตัน ภาสกรนที กรรมการผู้จัดการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หลังอะมิโน โอเค และเซกิ พลาดเป้าเสียหลักไม่เป็นท่า กาแฟสำเร็จรูป “คอฟฟิโอ” ก็ไม่ต่างกัน ทำรายได้แค่ 500 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าที่ตั้งไว้ 850 ล้านบาท ตันจึงต้องพลิกกลยุทธ์กอบกู้สถานการณ์ ปรับลดราคาลงจาก 25 บาทเป็น 20 บาท ใช้พรีเซ็นเตอร์กู้สถานการณ์ ขณะเดียวกันยังปรับปรุงรสชาติของลาเต้ให้มีความหวานน้อยลง 40% เพื่อสอดรับกับพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้หญิงที่ห่วงสุขภาพและดูแลเรือนร่าง
(Positioning Magazine ธันวาคม 2551)
ตัน ภาสกรนที กูรูกู้วิกฤต
ถ้าวิกฤตคือโอกาส ผู้ชายที่ชื่อ “ตัน ภาสกรนที” ก็น่าจะเป็นผู้ชายที่มีโอกาสมากที่สุดคนหนึ่ง ตลอดช่วงชีวิตของเขา ตัน ผ่านความล้มเหลว เผชิญวิกฤตมาหลายต่อหลายครั้ง แต่ทุกครั้งเขาก็สามารถผ่านพ้นมาได้ และนับวันยิ่งยืนหยัดได้อย่างแข็งแกร่งมากขึ้น
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2551)
โออิชิ vs นะมาชะ เกมเปลี่ยนตัวจริงให้เป็นตัวปลอม
ตลาดชาเขียว เป็นตลาดที่ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร เพราะเค้กก้อนนี้ถูกครอบครองโดยแบรนด์ไทยแท้ “โออิชิ” มาโดยตลอด กวาดเอาชาเชียวยี่ห้ออื่นๆ หล่นจากแผง คว่ำแชมป์เก่า ยูนิฟ กรีนที จากไต้หวัน รวมทั้ง“นะมาชะ แบรนด์ต้นตำรับจากญี่ปุ่นแท้ๆ ก็ยังต้องปาดเหงื่อ
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2551)
กาแฟสด ขาที่สองของโออิชิ
“ตันทุ่มงบ 200 ล้านบาท เปิดร้านกาแฟสด 24 ชั่วโมง ม็อกอัพร้านค้า 300,000 แห่งทั่วประเทศ” ข้อความดังกล่าว กระตุ้นความสนใจว่า อะไรที่ทำให้ตันเจ้าพ่อชาเขียวลงเล่นในตลาด “กาแฟสดพร้อมดื่ม” ซึ่งมีคู่แข่งแบบรอบด้านเช่นนี้
(Positioning Magazine เมษายน 2551)