วิถี CEO ในวิกฤต
ทุกเช้าซีอีโอของบริษัทยักษ์ใหญ่เกือบทุกบริษัทต้องเดินเข้าห้องประชุมพร้อมกับทีมผู้บริหารจากทุกฝ่าย ใช้เวลาเฉลี่ยอย่างน้อยครึ่งชั่วโมงพูดคุยกัน เพราะเวลานี้ไม่ใช่ช่วงของการนั่งนิ่งๆ อยู่ในห้องทำงานของตัวเอง แต่เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินต้องมอนิเตอร์ความเปลี่ยนแปลงโลก เจาะลึกถึงปัญหา ความเสี่ยงในธุรกิจทั้งหมดของตัวเอง และแก้ไขได้อย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันไม่ให้ยอดขายหลุดร่วง จนไม่สามารถอยู่ได้
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2551)
คาราบาวแตกไลน์ไม่ขายแค่เพลง
ไหนๆ วงคาราบาวยืนหยัดบนถนนสายดนตรีมายาวนาน 25 ปี สร้างชื่อเสียงจนรู้จักไปทั่ว ทั้งรุ่นเก่ารุ่นใหม่ ด้วยเหตุนี้เองแบรนด์ “คาราบาว ได้ถูกนำมาต่อยอดแตกไลน์เป็นธุรกิจผลิตเครื่องดนตรี โดยใช้แบรนด์และโลโก้ “หัวควาย” เป็นเครื่องการันตีคุณภาพ
(Positioning Magazine ตุลาคม 2551)
“แอร์เอเชีย” ยังบินได้
การวางตำแหน่งตลาด กำหนดยุทธศาสตร์ และบริหารจัดการของความเป็นโลว์คอสต์แอร์ไลน์ที่ชัดเจนมาตั้งแต่ต้น ทำให้ไทยแอร์เอเชีย น่าจะเป็นสายการบินเดียวที่มีโอกาสรอดมากที่สุดในยามนี้ ก่อนหน้านี้ ทศพล แบเลเว็ลด์ ซีอีโอของไทยแอร์เอเชีย อาจเครียดจัดจนนอนหลับไม่เต็มตื่น จากปัญหาการเมืองรุมเร้าตกเป็นจำเลยสังคมว่าเป็น "นอมินี" ซื้อหุ้นไทยแอร์เอเชียจากชินคอร์ป แถมผลกำไรติดลบ
(Positioning Magazine สิงหาคม 2551)
ใครๆ ก็เป็นเจ้าของได้
เขาบอกว่า “รู้สึกตัวชา” และนับจากคืนนี้ไปอีก 3 ปี คงนอนไม่ค่อยหลับ นี่คือความรู้สึกของ “ทัศพล แบเลเว็ลด์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยแอร์เอเชีย ที่ต้องเปลี่ยนสภาพจากลูกจ้างกลายมาเป็นเจ้าของสายการบิน และนอนไม่หลับเพราะต้องบริหารสายการบินให้มีผู้โดยสารมาใช้บริการมากขึ้น ทำรายได้ให้สามารถใช้หนี้ที่กู้มาซื้อหุ้นรวม 980 ล้านบาท และดันไทยแอร์เอเชียเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้ได้ภายใน 3 ปี
(Positioning Magazine กรกฎาคม 2550)
“นก” ยังขี้เกียจบิน
“ราคาอย่างเดียวเท่านั้น” เป็นคำตอบด้วยข้อความนี้อย่างน้อย 3 ครั้ง ระหว่างการแถลงข่าวโดย “ทัศพล แบแลเว็ลด์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของสายการบินไทยแอร์เอเชีย ในบรรยากาศเป็นกันเอง สไตล์ลูกทุ่ง ถามมาตอบตรง ถามไปตอบกวนบ้าง อย่างมีสีสัน ทำให้เห็นว่าไทยแอร์เอเชีย เด่นชัด และรุกอีกครั้งกับกลยุทธ์ ”ราคา” ที่ครั้งนี้ยังท้าแม้กระทั่งนก (ที่ไม่ใชนกแอร์) ว่าถูกเสียจนนกเองไม่อยากขยับปีกบิน แต่อยากตีตั๋วขึ้นเครื่องไปซะอย่างนั้น
(Positioning Magazine กรกฎาคม 2549)
ทัศพล แบเลเว็ลด์ CEO Under Crisis
ปี 2548 นับได้ว่าเป็นปีของการวัดกึ๋นผู้บริหารในการพาองค์กรก้าวผ่านวิกฤตต้นทุนน้ำมันราคาแพง โดยเฉพาะในธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำด้วยแล้ว หลากหลายกลยุทธ์ถูกนำมาใช้กู้สถานการณ์ ทัศพล แบเลเว็ลด์ ในฐานะ CEO ของสายการบินไทยแอร์เอเชีย ก็วาดลวดลายการบริหารนอกกรอบออกมาหลายกระบวนท่า ซึ่งนี่ก็คือสาเหตุที่เขาได้รับเลือกจากผู้อ่านนิตยสาร POSITIONING ให้เป็น 1 ใน 50 Young Executive ต่ออีกปี
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2548)
ทัศพล แบเลเว็ลด์ หนึ่งนักการตลาดผู้สร้างกระแส “low cost airline”
ด้วยประสบการณ์ในธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภคกว่า 8 ปี ในบริษัท อดัมส์ และบริษัท มอนซานโต้ของทัศพล แบเลเว็ลด์ บวกกับความสำเร็จของบริษัทวอร์เนอร์ มิวสิค ในสมัยที่เขาเป็นกรรมการผู้จัดการอีก 5 ปี กลายเป็นเครื่องพิสูจน์ความสามารถทางการตลาดและการจัดการของเขา
(Positioning Magazine ธันวาคม 2547)
“ใครๆ ... ก็ช็อปได้”
ค่ำวันที่ 6 กันยายน ที่ผ่านมา สายการบิน ไทยแอร์เอเชีย เปิดตัว “สินค้าดิวตี้ฟรีลอยฟ้า” ซึ่งเป็นสินค้าแบรนด์ดังปลอดภาษีที่จะนำขึ้นมาขายบนเครื่องบินในเส้นทางระหว่างประเทศ โดยจะมีสินค้ากว่า 50 รายการ แบ่งเป็น 5 หมวด คือ น้ำหอม, เครื่องสำอาง, เครื่องประดับ-นาฬิกา, ของฝาก และขนม
(Positioning Magazine ตุลาคม 2547)