ไขรหัส ปั้นขุมทรัพย์ AF
เกือบ 2 ปี “ยูบีซีแฟนเทเชีย” สร้างแบรนด์ เด็กล่าฝัน AF” ให้กลายเป็นศิลปินขวัญใจมหาชน เริ่มจากโชว์การใช้ชีวิตจริงผ่านจอทีวีตลอด 24 ชั่วโมง นาน 3 เดือน และที่มากกว่านั้น พวกเขายังบริหารจัดการ ให้ศิลปินเหล่านี้ กลายเป็นสินค้ามีชีวิต สร้างรายได้ผ่าน Window ต่างๆ ทั้งทีวี วิทยุ ภาพยนตร์ เวทีคอนเสิร์ต หรือแม้ธุรกิจทัวร์
(Positioning Magazine มีนาคม 2550)
เปิดสูตรลับ “นักล่าฝัน” ปั้นอย่างไรให้ได้เงิน
ถ้าเปรียบศิลปิน “อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย” เป็นสินค้าแล้ว ต้องเรียกว่าเป็นสินค้าที่ประสบความสำเร็จที่สุดชนิดหนึ่ง โดยผ่านกระบวนการจัดการบริหารศิลปิน ที่ “กิติกร เพ็ญโรจน์” เอ็มดีของยูบีซี แฟนเทเชีย บอกว่า ต้องมีหลักการบริหารจัดการศิลปินไม่ต่างไปจากการขาย “สินค้า” ที่ต้องอาศัยหลักการตลาดมาเป็นกลไกในการขับเคลื่อนตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง
(Positioning Magazine มีนาคม 2550)
ค่ายเพลงใหม่
หลังรายการ Academy Fantasia ปี 2 ปิดฉากลงไม่ทันข้ามอาทิตย์ “ยูบีซี” ตัดสินใจเปิดค่ายเพลงเป็นของตัวเอง โดยร่วมทุนกับ บริษัท เอลิโคเนีย กรุ๊ป ซึ่งมี กิติกร เพ็ญโรจน์ อดีตผู้บริหารยูบีซี เป็นผู้ก่อตั้ง ในสัดส่วน 51:49 จัดตั้งบริษัท “ยูบีซี แฟนเทเชีย” ด้วยการนำผู้เข้ารอบสุดท้ายทั้ง 12 คน อัลบั้มให้นักล่าฝันเอง กำหนดเปิดตัวอัลบั้มแรกของ AF2 ระยะเวลาห่างจากขึ้นเวทีครั้งสุดท้ายแค่ครึ่งเดือน
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2548)
Thailand’s Next Top “PROJECT”
“เรียลลิตี้” ถูกมองเป็นเครื่องมือทางการตลาดชิ้นใหม่และเป็นตัวสำคัญของสถานี หากมองในมุมนี้ รายการเรียลลิตี้เองถูกมองว่า เป็นความกระแสความแรงที่สร้างฐานคนดูได้จำนวนมากของช่อง ซึ่งสะท้อนไปถึงการวางกลยุทธ์ในระดับสถานีที่จะมีมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่เพียงแค่ในฐานะผู้ผลิตรายการอย่าง Bec-Tero
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2548)
กำหนดสูตรความดัง “REALITY TV”
เมื่อการนำเสนอความจริงแบบรายการ “Reality Show” ที่ไม่มีการเขียนบท หรือการกำหนดการกระทำของตัวละครไว้ล่วงหน้า ผู้ชมจึงกำหนดบทบาทของตัวละครแต่ละตัวตามมิติทางจิตวิทยา และประสบการณ์ที่ตัวเองมีให้เหมาะสมกับสิ่งที่ได้นำเสนอผ่านหน้าจอโทรทัศน์
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2548)