เกาเหลามาม่า อร่อย
สายตาของนายห้างเทียม โชควัฒนา ที่มองดูเพ็ญนภา ธนสารศิลป์ เมื่อปี 2524 คงมองเห็นความสามารถของเธออย่างชัดเจน เพราะบุคคลที่นายห้างเทียมเลือก พิสูจน์ให้เห็นในเวลาต่อมาแล้วว่าสามารถทำงานได้อย่างดี และประสบความสำเร็จ
(Positioning Magazine 10 กรกฎาคม 2554)
ดัชนีชี้วัดตัวใหม่
มาม่า ใกล้เดินทางมาถึงจุดอิ่มตัวเต็มที แต่การปูทิศทางมาสู่บรรจุภัณฑ์แบบถ้วยกระดาษของมาม่าตั้งแต่ 4-5 ปีที่ผ่านมา ก็เริ่มแสดงผล แม้จะไม่สามารถเพิ่มอัตราการบริโภคได้ แต่การเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคให้หันมาบริโภคมาม่าจากถ้วยกระดาษนั้นเป็นสิ่งที่สามารถเพิ่มมูลค่าได้ ดังนั้นแม้ในอีกราว 1-2 ปีข้างหน้าที่บะหมี่กึ่งสำเร็จจะถึงจุดอิ่มตัว แต่มาม่าก็ยังมียอดขายที่เพิ่มสูงขึ้นได้อยู่ จากถ้วยกระดาษที่มีราคาจำหน่ายสูงกว่าบะหมี่ซองกว่าเท่าตัว รวมถึงการสยายปีกลงทุนในตลาดต่างประเทศมากขึ้นด้วย
(Positioning Magazine มีนาคม 2553)
มาม่าปรับกระบวนท่า
เมื่อภาวะเศรษฐกิจไม่เป็นใจ กำลังซื้อที่หดหาย ส่งผลให้สินค้าสุดฮิตที่ปกติแล้วไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากปัจจัยรอบข้างมากนักอย่าง “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” ยังต้องเดินหน้าปรับกระบวนท่ากันแบบยกใหญ่ เพื่อประคับประคองยอดขายในปีนี้ไว้ให้ได้
(Positioning Magazine กันยายน 2552)
บะหมี่ช่วยชาติ
ดูเหมือนว่า “ดัชนีมาม่า” จะไม่ขลังอีกแล้ว เมื่อมันไม่ได้สะท้อนทิศทางเศรษฐกิจในลักษณะแปรผกผัน กล่าวคือ ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างร้อนแรงช่วงภาวะเศรษฐกิจถอย แต่กลับดิ่งตัวลงสวนทางกับสินค้ากลุ่มอื่นช่วงเศรษฐกิจเติบโตได้ดี อีกต่อไป เมื่อเจอพิษเศรษฐกิจรอบใหม่ล่าสุด ปรากฏว่ายอดขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในช่วงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ของปีนี้ปรับตัวลดลงจากเดือนมกราคมถึง 15% ทำสถิติถดถอยครั้งสำคัญรอบ 38 ปีเลยทีเดียว
(Positioning Magazine เมษายน 2552)