The Power of Celebrity
BlackBerry หรือ BB จากสมาร์ทโฟนที่ใช้เฉพาะกลุ่มนักธุรกิจ กลายมาเป็นอาณาจักร BB Lover ที่กว้างขึ้น เป็นสังคมกับวัฒนธรรม และพฤติกรรมใหม่อย่างเห็นได้ชัด เพราะ ”เอไอเอส” ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือเบอร์ 1 ของไทยเริ่มออกแรงอย่างมีกลยุทธ์ ด้วย Key Driver ที่ ”เอไอเอส” เลือกใช้ คือ ”เซเลบริตี้มาร์เก็ตติ้ง” จน ณ นาทีนี้ ว่ากันว่ากว่า 50% ของเซเลบฯ และ 80% ของวงการดาราถือ BB จนทำให้ BB ต่อยอดเข้าไปในกลุ่ม Mass ได้ไม่ยาก
(Positioning Magazine ตุลาคม 2552)
จาก Buzz ถึง Feedback 3.0
รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรยุส วัฒนาศุภโชค รองคณบดี ฝ่ายวางแผน และพัฒนา คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า facebook จะมีอิทธิพลมากขึ้น หลังจากที่ hi 5 ได้รับความนิยมมาก่อน เพราะ facebook เริ่มแปลเป็นภาษาไทย หลังจากที่ฟีเจอร์ของ facebook สามารถจับกลุ่มระดับกลาง และนักธุรกิจรุ่นใหม่ในไทยได้แล้วบางส่วน
(Positioning Magazine มีนาคม 2552)
ปฏิบัติการ 6 ข้อ กู้วิกฤตเมลามีน
“หากสินค้าที่มีปัญหาเลือกนิ่งเงียบ คิดว่าจะปล่อยให้เรื่องเงียบลง โดยคิดว่าสังคมจะลืม ถือเป็นแนวคิดที่ผิด เพราะปัจจุบันพลังของการสื่อสารของคนในสังคมมีสูง สื่อที่ช่วยให้ Social Networking เข้มแข็งมีมากขึ้น โดยเฉพาะในโลกออนไลน์”
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2551)
การตลาดยุค hi5 โดนใจเจนเนอเรชั่น “C”
“เมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว เด็กวัยรุ่นอายุ 12-17 ปี ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเจนเนอเรชั่น C หรือกลุ่มที่ต้อง Connect เข้าไปอยู่ในโลกออนไลน์เพื่อติดต่อสื่อสาร จนถึงยุคปัจจุบันกลุ่มนี้กลายเป็นคนที่สร้าง Content”
(Positioning Magazine มีนาคม 2551)
บทสรุปความสำเร็จ AF
ผศ.ดร.ธีระยุส อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อสรุปความสำเร็จของ AF ว่า เป็นผลพวงของกระบวนการสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีเป้าหมาย เริ่มต้นด้วยการสร้างความผูกพัน หลงใหล (Passion Marketing) เป็นกระบวนการต่อยอดจากการทำ CRM (Customer Relationship Management) หรือการทำตลาดแบบสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า
(Positioning Magazine มีนาคม 2550)