เปิดเทรนด์ร้อนจากฟินแลนด์ บริการในโลกอนาคตของโนเกีย
POSITIONING เป็นสื่อมวลชนเพียงฉบับเดียวจากประเทศไทย ที่ได้รับเชิญจากโนเกียเพื่อเข้าร่วมงานสัมมนา “The Way We Live Next 2008” โดยมีสื่อมวลชนจากนานาประเทศอีกกว่า 70 คน เมื่อกันยายน 2551 ที่ผ่านมา ณ Nokia House สำนักงานใหญ่ของโนเกีย ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองเอสปู (Espoo) ประเทศฟินแลนด์ ห่างจากเมืองหลวง คือ กรุงเฮลซิงกิ ประมาณ 20 นาที
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2551)
“N-Gage” ขาที่สามของโนเกีย
“นับจากนี้จะไม่มีมือถือรุ่นไหนเรียกว่า N-Gage อีกต่อไป แต่ N-Gage จะกลายเป็น Mobile Gaming Platform ซึ่งเป็นการบริการดาวน์โหลดเกมผ่านเครือข่าย Ovi ของโนเกียแทน โดยมีมือถือในตระกูลเอ็นซีรี่ส์ 9 รุ่นรองรับบริการนี้” วิภู ซาวาบาล ผู้จัดทั่วไป บริษัท โนเกีย (ประเทศไทย) จำกัด บอกถึงการเปลี่ยนแปลงของ N-Gage
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2551)
แฟชั่นโฟนของโนเกีย
“จาก Global Research ของโนเกีย ซึ่งได้สำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้ในหลายๆ ประเทศรวมถึงในไทยด้วย พบว่า คนส่วนใหญ่มองว่ามือถือเป็นข้าวของที่บ่งบอกถึง Style ของตัวเองไม่แพ้เสื้อผ้าและกระเป๋า” อุณา ตัน ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท โนเกีย (ประเทศไทย) จำกัด บอกเอาไว้ในงานแถลงข่าวเปิดตัว “โนเกีย ซูเปอร์โนวา” แฟชั่นโฟนคอลเลกชั่นล่าสุดของปีเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา
(Positioning Magazine ตุลาคม 2551)
ยุคนี้มือถือต้องนำทาง
โนเกียลงทุนจัดงาน “Nokia Rally” พานักข่าวทั้งสายไอที สายการตลาด รวมถึงสายท่องเที่ยว มาร่วมในการเดินทางเพื่อเปิดตัวมือถือ เป็นการบอกได้ชัดเจนว่า นอกเหนือจากกลุ่ม Early Techno โนเกียวาง Positioning ของโนเกีย 6210 รุ่นเนวิเกเตอร์นี้เพื่อกลุ่มนักเดินทาง และนักท่องเที่ยวด้วย
(Positioning Magazine กันยายน 2551)
“ไอ-โมบาย VS โนเกีย” ไทยน็อกแบรนด์นอกเบียดแชมป์
“ไอ-โมบาย (i-mobile) ” เปลี่ยน Positioning จากการเป็นตัวแทนจำหน่ายโทรศัพท์มือถือให้กับ Global Brand กลายมาเป็นแบรนด์โทรศัพท์มือถือที่แข็งแรงภายใน 3 ปี ด้วยการตลาดเต็มรูปแบบ สามารถเอาชนะน็อก Global Brand หลายแบรนด์ และชิงส่วนแบ่งตลาดโทรศัพท์มือถือในไทยเป็นอันดับ 2 จากมูลค่ารวมเกือบ 1 แสนล้านบาทต่อปี หากจะเป็นรอง ก็รองแค่แบรนด์ยักษ์ใหญ่ระดับโลกอย่าง “โนเกีย” เท่านั้น นี่คืออีกหนึ่งหมัดที่น่าสนใจของคนไทย
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2551)
คนดัง - กิจกรรม - รางวัล เสน่ห์โนเกียหาเพื่อน hi5
โทรศัพท์มือถือ “โนเกีย” แจ้งเกิดตัวเองในโลก hi5 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2007 ด้วยเหตุผลที่ผู้บริหารโนเกียไม่อาจมองข้ามพลังของ Social Networking ได้ ผนวกกับกลยุทธ์การสร้าง “สัมพันธ์” กับเพื่อนใน hi5 อย่างแนบเนียน จนโนเกียกลายเป็น Top Friend ของหลายคนในเครือข่าย
(Positioning Magazine มีนาคม 2551)
Cyber Marketing : February 2008 “ชุมชนอินดี้” วิธีสร้างแบรนด์ของโนเกีย
การสร้างชุมชน หรือ community เป็น “ท่าบังคับ” ที่ขาดไม่ได้ไปแล้วกับการทำเว็บยุคนี้ ยิ่งเว็บที่เปิดมาเพื่อขับเคลื่อนแคมเปญทางการตลาด ยิ่งต้องสร้างชุมชนและทำความรู้จักกลุ่มเป้าหมายไว้ เพื่อจะได้ส่งภาพลักษณ์แบรนด์ไปฝังในใจพวกเขาได้อย่างที่ต้องการ และเพื่อให้ได้ข้อมูลทางประชากรศาสตร์ทั้งเพศอายุรสนิยมและไลฟ์สไตล์ไปต่อยอดวิจัยสำหรับงานอื่นๆต่อไปได้
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2551)
มนต์รักโนเกีย
โนเกียเริ่มสีสันการตลาดโทรศัพท์มือถือของปี 2008 อย่างไม่ธรรมดา เพราะเป้าหมายที่โนเกียจะเข้าไปอยู่ในไลฟ์สไตล์ของคนในชนบท และกลุ่มคนที่เป็น New Entry หรือผู้ที่เริ่มใช้โทรศัพท์มือถือเป็นครั้งแรก ด้วยโนเกียรุ่น 2600 ที่สเป็กเครื่องมีทั้งกล้องถ่ายรูป วิทยุเอฟเอ็ม เกม GPRS พร้อมหน้ากากสีให้เลือก ในราคาไม่เกิน 3,000 บาท เอื้อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถหาซื้อมาใช้งานได้
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2551)
ต้องหรู
ถึงเวลาเปิดตัวโทรศัพท์มือถือเซ็กเมนต์ไฮเอนด์ ราคาเกือบครึ่งแสนอย่างโนเกีย 8800 “อาร์เต้” กับ “แซฟเฟร์ อาร์เต้” ที่วาง Positioning เป็น “พรีเมียมโฟน” จะจัดงานแบบธรรมดา แค่ผู้บริหารยืนบรรยายสเปกก็คงไม่ได้ แถลงข่าวงานนี้จึงต้องมี “คอนเซ็ปต์”
(Positioning Magazine มกราคม 2551)
ผู้ช่วยขายออนไลน์
ความเป็น Interactive โต้ตอบได้ของสื่อเว็บนั้น เป็นสิ่งที่เหล่านักโฆษณาพยายามหาทางใช้ช่วยในการสื่อถึงกลุ่มเป้าหมายมานาน และล่าสุด Nokia ก็ใช้
www.discoveryourday.com เป็นผู้ช่วยขายออนไลน์
(Positioning Magazine กันยายน 2550)