Angry Birds : “Wing of Rich”
Angry Birds จากแอพพลิเคชั่นเกมแนวลับสมองเบาๆ ให้คนส่วนใหญ่ดาวน์โหลดเล่นฟรี กลายเป็น ”ทรัพย์สิน” ที่มีมูลค่าสูง กลายเป็น ”บริการ” ที่ใครก็อยากได้ นี่คือบทพิสูจน์ว่าการเกิดขึ้นของแอพฯ สักตัวหนึ่ง สามารถเป็นได้มากกว่าแอพฯ และกลายเป็นธุรกิจที่เกิดรายได้มหาศาล
(Positioning Magazine 22 มีนาคม 2555)
14 กุมภาฯ Angry Birds เริ่มยิงในเฟซบุ๊ก
มาแล้วเกม Angry Birds บนเฟซบุ๊ก เปิดตัววันวาเลนไทน์ 14 กุมภาพันธ์ 2555 พร้อมกันทั่วโลกรวมทั้งในเมืองไทย อีเวนต์ใหญ่จัดแคมเปญค้นหาแชมป์
(Positioning Magazine 13 กุมภาพันธ์ 2555)
Angry Birds เทรนดี้จนเป็นวัฒนธรรม
หลายคนมองว่า Angry Birds เป็นแค่เทรนด์ แต่ผมมองว่าต่อไปจะเป็นวัฒนธรรม เหมือนคนรุ่นผมอาจจะมีมิคกี้เมาส์เป็นขวัญใจ แต่เด็กรุ่นใหม่จะมี Angry Birds มาแทน ต่อไปจากนี้สิ่งที่จะมาอยู่ในใจผู้บริโภคจะมาทางออนไลน์ ไม่ใช่ทีวีอีกต่อไปแล้ว เพราะผู้บริโภค Associate กับตัวเกมได้มากขึ้น
(Positioning Magazine 10 มกราคม 2555)
Angry Birds ยั๊วะกระหึ่มโลกทะลุ 500 ล้านดาวน์โหลด
ROVIO บริษัทฟินแลนด์ผู้ผลิตเกม Angry Birds อันโด่งดัง เปิดเผยข้อมูลล่าสุดว่า มีการดาวน์โหลดเกมนกยั๊วะไปแล้วกว่า 500 ล้านครั้ง ความสำเร็จอันล้นหลามนี้ทำให้ ROVIO ได้รับการจับตาเป็นอย่างมาก
(Positioning Magazine 8 พฤศจิกายน 2554)
10 บทเรียนสำหรับธุรกิจบริการ
One size does not fit all คือพบว่าทุกเกมของเกมนกยั๊วะมีความต่าง ต่างทั้งฉาก นก ความสามารถ และความท้าทาย และอื่นๆ เปรียบกับธุรกิจบริการ ที่แต่ละบริการกับฐานลูกค้าที่ต่างกัน ก็ต้องมีพนักงานที่มีทักษะต่างกัน ลักษณะจัดบริการที่ต่างกัน
( 10 พฤษภาคม 2554)
Angry Birds ฟีเวอร์ ผู้บริโภคพันธุ์ใหม่ ที่นักการตลาดต้องมอง
Angry Birds ไม่ใช่แค่เล่นสนุก ฆ่าเวลา ฝึกวางกลยุทธ์เท่านั้น ปรากฏการณ์ Angry Birds กำลังสะท้อน Consumer Insights ของผู้บริโภคคนไทยในเวลานี้อย่างดี และสื่อโฆษณาใหม่คือจอในมือที่ต้องจับตา นอกจากนี้นี่ยังเป็นบทเรียนที่ดีหากอยากเรียนรู้ข้ามอุตสาหกรรม มีบทสรุปที่น่าสนใจจาก "ดร.กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์" อาจารย์ประจำสาขาการตลาด สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย "ปารเมศร์ รัชไชยบุญ" ประธานกรรมการและซีอีโอ บริษัทเทิร์นอะราวด์ โฟกัส จำกัด และ "อรรถวุฒิ เวศรานุรักษ์" กรรมการผู้จัดการและผู้ถือหุ้นใหญ่ บริษัทอะแดปเตอร์ ดิจิตอล จำกัด
( 10 พฤษภาคม 2554)
ดีกรีโกรธ เพิ่มระดับ Co-brand
เจ้านกยั๊วะเวลานี้เริ่มออกมาอาละวาดทำเงินให้กับสินค้าหลากหลายรูปแบบแล้ว เพราะ Angry Birds ไม่ใช่แค่เกมอีกต่อไป แต่คือ "แบรนด์" ที่ขณะนี้สินค้าบริการต่างๆ อยากได้ไปเสริมแบรนด์ของตัวเอง นอกเหนือจากตัวมันเองสามารถสร้างรายได้จากสินค้าอื่นๆ ไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นตุ๊กตา หมอนนกหน้าตาโกรธ พวงกุญแจ สายห้อยโทรศัพท์ ปลอกไอโฟน หรือแม้แต่ชิ้นเล็กๆ ประดับบนคัพเค้ก
( 10 พฤษภาคม 2554)
ยิงแรงบันดาลใจถึง App Economy
พลังของ Angry Birsd จุดประกายให้นักพัฒนาแอพพลิเคชั่น ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจระดับยักษ์ใหญ่อย่างกลุ่มทรูคอร์ปอเรชั่น หรือบริษัทขนาดเอสเอ็มอี ต่างมั่นใจว่าแรงเหวี่ยงของเกมนกยั๊วะ จะทำให้ทั้งคนสร้างและคนใช้งาน ต่างติดใจแอพฯ อื่นตามมา แน่นอนจึงส่งต่อให้อุตสาหกรรมนี้ถูกเหนี่ยวพร้อมยิงทำแต้ม สร้างเม็ดเงินเติบโตได้อย่างก้าวกระโดดนับจากนี้
( 10 พฤษภาคม 2554)
"นกยั๊วะ" ตะลุยบุกไทย
สำหรับเมืองไทย Angry Birds ถือว่ามาได้ถูกเวลา เพราะ 3 ประสานที่เป็นปัจจัยหนุนให้การเล่นเกม Angry Birds สนุกยิ่งขึ้นคือ อุปกรณ์ดี อย่างน้อยทัชสกรีนต้องลากแล้วยิงนกได้มันส์ ความหลากหลายของจอที่นกยั๊วะจะไปปฏิบัติการ โดยเฉพาะจุดเปลี่ยนจากการเข้ามาของแท็บเล็ตที่ทำให้เล่นได้มันส์กว่าเดิม และเครือข่ายที่เร็วพอ แม้จะไม่ต้องออนไลน์ตลอด แต่อย่างน้อยเวลาดาวน์โหลดก็ไม่ต้องอดทนรอ
( 10 พฤษภาคม 2554)
"คนดัง" ยุ่ง เครียด… ติด Angry Birds
Angry Birds กลายเป็น "เกมสามัญประจำเครื่อง" ไปเสียแล้วจากก่อนหน้านี้แม้ Casual Game จะเป็นที่นิยมในการเล่นผ่านโทรศัพท์มือถือ แต่ก็ไม่ได้เป็นข่าวหรือกระแสที่กระพือขึ้นทั่วโลกจนเมื่อมีนาคม 2554 Angry Birds ที่ผ่านมามียอดดาวน์โหลดแล้ว 100 ล้านครั้ง เดือนพฤษภาคมทะลุ 140 ล้านดาวน์โหลด โดยหนึ่งในปัจจัยสำคัญคือกระแสจากคนดังที่มีแฟนคลับล้นหลามอย่าง Justin Bieber และ Angelina Jolie
( 10 พฤษภาคม 2554)