โค้งสุดท้ายศึกชิง “แชมป์” รถกระบะ
หลังจากนี้ไปจนถึงสิ้นปี คือเวลาของการช่วงชิงโอกาสของผู้ผลิตรถกระบะทุกราย เพราะก่อนหน้านี้ได้มีการประกาศเปิดตัวรถกระบะรุ่นใหม่อย่างน้อย 2 รายในช่วงปลายปี ตลาดรถกระบะของบ้านเรามีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกมียอดขายปีละเกือบ 800,000 คัน และไม่มีผู้ผลิตรถรายไหนที่จะยอมถอยออกไป
(Positioning Magazine 10 สิงหาคม 2554)
ศึกรถเล็กของแบรนด์รอง
ไม่บ่อยนักที่โฆษณารถเก๋งในไทยจะใช้กลยุทธ์โจมตีคู่แข่งแบบ "ปะทะซึ่งหน้า" แต่ล่าสุดโตโยต้าประเทศไทยก็ทุ่มซื้อโฆษณาเต็มหน้าหนังสือพิมพ์ฉบับ 23 มีนาคม 2553 ตั้งคำถามว่า "ถ้ารถที่คุณกำลังจะซื้อ ราคาเริ่มต้นที่ 4 แสนบาท... อัตราเร่งดีแค่ไหนในเวลาเร่งรีบ?... ขับไปไกลๆ กับครอบครัวปลอดภัยมั้ย?... มีศูนย์บริการมากเพียงพอแค่ไหน?... ราคาขายต่อคุ้มมั้ย?..." โดยไม่เอ่ยชื่อคู่แข่งตรงๆ แต่หลายคนก็รู้ได้ทันทีว่าโฆษณานี้กำลังโจมตี "Nissan March"
(Positioning Magazine เมษายน 2553)
พรีเซ็นเตอร์บนโลกออนไลน์
เมื่อแบรนด์สินค้าจะเข้าสู่ Social Network อย่างเฟซบุ๊กหรือทวิตเตอร์ คำถามแรกที่ต้องตอบให้ได้เสียก่อนคือ การกำหนด “ตัวตน” หรือ “Online Presenter” ของแบรนด์ เป็นอย่างไรในสายตาชุมชนออนไลน์? ที่สำคัญการเลือกต้องทำอย่างระมัดระวัง เพราะตัวตน Avatar ของแบรนด์นี้จะเป็นหน้าตาที่ถูกใช้ไปพูดคุยโต้ตอบในฐานะตัวแทนของแบรนด์และองค์กรในระยะยาว ไม่สามารถถูกเปลี่ยนไปมาได้ง่ายๆ
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2552)
ทำลายสถิติโลก
ตลาดรถกระบะ ก่อนที่จะเป็นการชิงตำแหน่งที่หนึ่งกันระหว่างโตโยต้าและอีซูซุ ค่ายนิสสันเคยเป็นเจ้าตลาดที่ครองส่วนแบ่งในตลาดนี้ถึง 40% เมื่อ 4 ปีก่อน แต่ปัจจุบันมีส่วนแบ่งตลาดไม่ถึง 20%
(Positioning Magazine มีนาคม 2551)
ปลื้มหรือไม่ปลื้ม กับ TIIDA
หลังจากเสียศูนย์ เปิดตัวด้วย Positioning และ Pricing ที่ผิดพลาดเมื่อปีที่ผ่านมา แม้จะโหมแคมเปญแรงเพียงใด รวมทั้งงานเปิดตัวอย่างสุดอลังการเพียงใด แต่นิสสัน ทีด้า (Nissan TIIDA) กลับไม่ประสบความสำเร็จในตลาดรถยนต์คอมแพค เรียกได้ว่าเข้าขั้นน่าผิดหวัง เมื่อการเปิดตัวครั้งแรกไม่เปรี้ยง แต่กลับเดี้ยงไม่เป็นท่า ถึงขนาดมีการปรับเปลี่ยนผู้บริหารนิสสันในไทยกับข้อผิดพลาดครั้งนี้
(Positioning Magazine สิงหาคม 2550)
นิสสันขอหรู
“นิสสัน” ยังคงเดินเกมที่เหนื่อยกว่าค่ายรถยนต์แบรนด์อื่น กับการอยู่บนเส้นทางของการสร้างแบรนด์และการสื่อสารภาพลักษณ์ใหม่กับกลุ่มเป้าหมาย วันนี้นิสสันไม่อาจใช้ “Functional” เป็นจุดขายเพียงประการเดียวได้ เพราะต้องยอมรับว่า “Brand Image” เป็นสิ่งสำคัญ งานปาร์ตี้หรู “Nissan’s 2nd Exclusive Art of Life Party” ณ โรงแรมเดอะเชดี เชียงใหม่
(Positioning Magazine กรกฎาคม 2550)
รับศึกหนัก
55,000 คัน เป็นตัวเลขที่สูงไม่ใช่น้อยเมื่อเทียบกับยอดขายของปีที่ผ่านมา ที่คนเก่าทำไว้เมื่อปีที่แล้วได้เพียง 30,000 คัน หลังจาก มร.เทียรี เวียดิว เข้ามานั่งในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ของสยามนิสสันแค่เพียง 3 เดือน พร้อมปัญหานานาประการที่ต้องรับสะสางให้เร็วที่สุด
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2550)
เหยียบเต็มสปีด...กระบะนิสสัน
ศึกรถกระบะเริ่มบรรเลงเพลงรบกันตั้งแต่ต้นปี ยิ่งมองการบุกตะลุยรถกระบะใหม่ของค่ายนิสสันในยุคงผู้บริหารฝรั่งเศส ย่อมน่าสนใจ เพราะรถกระบะโมเดลใหม่ “นิสสัน ฟรอนเทียร์ นาวารา” ถือเป็นตัวแรกที่จะพิสูจน์กึ๋นถึงแนวคิดในการทำตลาดใหม่ๆ และการสร้างแบรนด์สไตล์ใหม่ของนิสสัน
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2550)
ว้าว! ทีเด็ด... ทีด้า
นี่คือ ปรากฏการณ์การออกโปรดักส์ใหม่ที่นับว่าร้อนแรงที่สุดในช่วงนี้... นิสสัน ทีด้า ภาษาวัยรุ่น เรียกว่า โดนใจ และกระแทกใจสุดๆ เพราะกลยุทธ์การวางตำแหน่งสินค้าตั้งแต่ก่อน และหลังการเปิดตัวทีด้า กลายเป็นกรณี Talk of the town ทางการตลาดยุครีแบรนดิ้งที่น่าศึกษาอย่างยิ่ง
(Positioning Magazine สิงหาคม 2549)
อาวุธร้ายใส่เกียร์ ของนิสสัน
การเปิดศึกรถยนต์ระดับ M Class ของค่ายนิสสัน ด้วยการนำ เทียน่า (TEANA) เข้ามาเขย่าตลาดรถ ต่อสู้กับคู่แข่งอย่าง โตโยต้า คัมรี่ และฮอนด้า แอคคอร์ด ดูเหมือนว่าสงครามนี้ไม่ธรรมดา เพราะในยุคนิสสันรีแบรนดิ้ง อาวุธและกลยุทธ์การวาง Positioning ของรถยนต์รุ่นนี้มีพลังและน่าจับตามองยิ่งนัก
(Positioning Magazine กรกฎาคม 2549)