ช่องแบรนด์ “ทรู” โปรเจ็คท์ดาวรุ่งของทรูวิชั่นส์
ว่ากันว่าช่องที่พะยี่ห้อ “ทรู” อาทิ True X-zyte, True Series, True Inside, True Film Asia, True Movie Hits, True Spark และ True Explorer เป็นช่องสาระบันเทิงที่ทรูวิชั่นส์จัดผังและคัดสรรคอนเทนท์มาจากต่างประเทศและในประเทศ คือหัวใจดวงใหม่ของทรูวิชั่นส์ และกลายเป็นทัพสำคัญในการขยายฐานสมาชิกเพื่อเจาะกลุ่มแมสให้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็เป็นช่องที่ช่วยเสริมภาพลักษณ์ของการเป็นผู้นำที่ครอบคลุมเนื้อหาอย่างครบถ้วนของทรูวิชั่นส์ได้เป็นอย่างดี
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2551)
สาระบันเทิงแบบอินเตอร์ จุดขายที่ยั่งยืนของทรูวิชั่นส์
HBO, STAR MOVIES, AXN, National Geographic, Discovery, Animal Planet, CNN, BBC ช่องสาระบันเทิงและช่องข่าวต่างประเทศเหล่านี้ เป็นตัวอย่างหนึ่งในแม่เหล็กตัวแรกของทรูวิชั่นส์มาเนิ่นนาน และแม้ทุกวันนี้ถูกท้าทายจากละเมิดลิขสิทธิ์ และการลักลอบใช้สัญญาณโดยผิดกฎหมาย แต่กระนั้นด้วยคอนเทนท์ที่ผ่านการเลือกเฟ้นมาเป็นอย่างดี รวมถึงการแปลพากย์ที่มีคุณภาพ ก็ทำให้ทรูวิชั่นส์ยังคงสถานะเป็นตัวเลือกแรกของคอบันเทิงอินเตอร์อยู่เช่นเคย
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2551)
กีฬาแนวรบหน้าของทรูวิชั่นส์
หลังจากเปลี่ยนชื่อและจัดผังรายการกีฬาใหม่เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่ผ่านมา ทำให้ปัจจุบันนี้ “กีฬา” ได้กลายเป็นคอนเทนท์ระดับแม่เหล็ก “ทรูวิชั่นส์” มีไว้ให้บริการแก่คอกีฬา ถึง 9 ช่อง
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2551)
AF ปี 5 ต้องเข้มข้นกว่าเดิม
True Academy Fantasia หรือ True AF เป็นรายการเรียลลิตี้โชว์ 24 ชั่วโมงที่ Breakthrough ทำให้เกิดปรากฏการณ์ใหม่ๆ ในวงการโทรทัศน์เมืองไทย เป็นรายการที่โชว์เหนือ เปิดจุดแข็งที่มีของทรูวิชั่นส์แบบเต็มที่ และนั่นก็ทำให้ 4 ซีซั่นที่ผ่านมากลายเป็นโปรไฟล์แห่งความสำเร็จและเป็นต้นแบบของ Lifestyle แบบ Convergence ของทรูวิชั่นส์ได้เป็นอย่างดี
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2551)
เจาะรหัส ทรูวิชั่นส์ ซิม สะพานเชื่อมต่อลูกค้า
หาก “ทรูวิชั่นส์” ต้องการช่องทางสื่อสารผ่านโทรศัพท์มือถือ ไม่ว่าใครก็คงจะคิดว่า ทรูวิชั่นส์ ก็น่าจะทำ “คอนเวอร์เจนซ์” กับบริการโทรศัพท์มือถือ “ทรูมูฟ” ได้ในฐานะที่เป็นบริการภายใต้เครือข่ายเดียวกัน
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2551)
HD ความท้าทายที่ต้องตัดสินด้วยตาเปล่า
การพัฒนาความคมชัดของสัญญาณภาพทีวีนับแต่เริ่มมีทีวีมากว่า 60 ปีบนโลกใบนี้ เป็นสิ่งสะท้อนความต้องการที่ไม่สิ้นสุดของคนดูทีวีได้ชัดเจน และนั่นคงจะเป็นเหตุผลที่ตอบคำถามได้ดีที่สุดว่า ผู้ชมรายการผ่านทีวีจะรู้สึกอย่างไรหากภาพและเสียงที่ส่งมานั้นคมชัดขึ้นกว่าเดิมอีกถึง 5 เท่า นี่คือโจทย์การทำตลาดของระบบ HD ที่ทรูวิชั่นส์ต้องหาวิธีให้สมาชิกตอบรับความแตกต่างของสัญญาณภาพที่ต้องการการตัดสินด้วยตา
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2551)
PVR ดูทีวีในแบบที่เป็นคุณ
จะดีแค่ไหน ถ้ามีช่องส่วนตัวให้คุณได้บันทึกรายการโปรด สร้างเป็นโปรแกรมส่วนตัวตามชอบ หรือจะสั่งหยุด เล่นซ้ำ หรือถอยหลัง ควบคุมรายการสดได้ไม่ต่างจากการควบคุมเครื่องเล่นดีวีดี แต่ทั้งหมดเป็นเรื่องที่ทำได้ผ่านรีโมทคอนโทรลที่คุณคุ้นเคย
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2551)
อรรถพล ณ บางช้าง พ่อมด เอนเตอร์เทนเมนต์
ใช่...มันไม่น่าเชื่อ! คำอุทานที่กำลังสะท้อนให้เห็นถึงผลงานของนักบริหารคนนี้ “อรรถพล ณ บางช้าง” บิ๊กเอนเตอร์เทนเมนต์ ที่เปรียบเหมือน “พ่อมด” คนหนึ่งในวงการบันเทิง ด้วยบทบาทสำคัญที่ใครต่อใครเรียกเขาว่า “นักซื้อรายการบันเทิงระดับโลก” ผู้อยู่เบื้องหลังหลายๆ ดิวธุรกิจระดับพันล้าน ไมว่าจะเป็นลิขสิทธิ์ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก การสร้าง AF Academy Fantasia และคอนเทนต์อีกมากมายบนจอทีวี
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2550)
“พรีเมียร์ลีก” ฟรีคิกสุดขอบฟ้าของทรู
ไม่ธรรมดา สำหรับ “ทรูวิชั่นส์” ที่ ยอมควักกระเป๋าเกือบ 2 พันล้านบาท คว้าลิขสิทธิ์ “พรีเมียร์ลีก” หลังจากต้องเชือดฉือนคู่ ESPN ผู้รับลิขสิทธิ์เดิมนานเกือบปี 9 เดือนกับฤดูกาลของพรีเมียร์ลีก กำลังเป็นโอกาสใหม่ของกลุ่มทรูฯ กำลังเดินหน้าเพื่อให้ “พรีเมียร์ลีก” เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ Convergence สมบูรณ์แบบ กำลังถูกพิสูจน์อีกครั้ง
(Positioning Magazine สิงหาคม 2550)
AF4 โรงเรียนผู้ชาย
เวทีคัดเลือกของ อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย หรือ เอเอฟ รอบแรกของปีที่ 4 ในช่วงค่ำวันเสาร์ 23 มิถุนายนที่ผ่านมา เกือบจะทำให้เวที AF4 เหลือแต่ “ผู้ชาย” เมื่อผลโหวตครั้งแรกปรากฏออกมาผู้ที่ต้องออกจากบ้านไป เป็นผู้หญิงถึง 8 คน
(Positioning Magazine กรกฎาคม 2550)